พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากค่าจ้างหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อตกลงมีผลบังคับได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาป่วย: ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้แม้ยังไม่ถึงขั้นไม่สามารถทำงานได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ12 มิได้มีบทบัญญัติว่า ลูกจ้างจะต้องมีอาการป่วยจนไม่สามารถทำงานได้จึงมีสิทธิลาป่วยได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างป่วยจริงแล้วยื่นใบลาป่วย จึงมิใช่เป็นการลาป่วยเท็จ และเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 จำเลยจึงจ่ายค่าจ้างในวันลาดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือเตือนการทำงานสายและการเลิกจ้างที่เป็นธรรม รวมถึงการหักเงินทดรองจ่าย
ข้อความในเอกสารที่เป็นปัญหา นอกจากจะมีคำรับของลูกจ้างว่ามาทำงานสายอันเป็นการกระทำฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว ลูกจ้างยังให้สัญญาว่าจะไม่มาทำงานสายอีก หากไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมการสอบสวนจะได้พิจารณาเสนอให้ออกก่อนโดยไม่ได้บำเหน็จก็ได้ ลูกจ้างและคณะกรรมการสอบสวนไม่ลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตอนหลังที่แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสอบสวนได้ตักเตือนไม่ให้ลูกจ้างกระทำซ้ำอีก ซึ่งหากกระทำซ้ำอีก ก็จะได้รับโทษถึงกับให้ออก อันมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนอยู่ในตัวด้วย และคณะกรรมการสอบสวนผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อลูกจ้าง ย่อมมีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อในหนังสือนั้นแทนนายจ้างได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือเตือนของนายจ้างโดยชอบ เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง เมื่อนายจ้างมีเหตุเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าว นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
เงินทดรองจ่ายที่ลูกจ้างได้ยืมนายจ้างไปอันเนื่องมาจากการทำงานมิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 นายจ้างมีสิทธินำเงินทดรองจ่ายดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินโบนัสชดหนี้จากการยืมเงินทดรองจ่ายของลูกจ้าง: สิทธิของนายจ้างตามความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ได้ขอเบิกเงินสมทบจากจำเลยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฝึกอบรมยังต่างประเทศเนื่องจากโจทก์ได้รับทุนจากต่างประเทศ และจำเลยได้อนุมัติให้โจทก์ยืมเงินทดรองจ่ายไป การที่โจทก์ขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลย เป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง หนี้ที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการที่โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกันในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 จำเลยมีสิทธินำเงินโบนัสที่จะต้องจ่ายแก่โจทก์มาหักกับหนี้ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินโบนัสเป็นค่าจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการขายสินค้าของลูกจ้าง นายจ้างมีสิทธิหักจากค่าจ้างได้ หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างและเป็นพนักงานขายของจำเลย ได้ขายสินค้าของจำเลยให้แก่ลูกค้า แล้วเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จึงทำบันทึกตกลงให้จำเลยเรียกร้องเงินค่าสินค้าของลูกค้าดังกล่าวจากโจทก์โดยให้ถือว่าโจทก์ได้รับชำระเงินจากลูกค้ารายนี้แล้ว หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่หนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 จำเลยนำหนี้รายนี้มาหักจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารถบริการรับส่งของลูกจ้างถือเป็นหนี้อันเกิดจากการทำงาน ไม่เป็นหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ค่ารถบริการรับส่งที่นายจ้างทดรองจ่ายไปก่อนแทนลูกจ้างแล้วนำมาหักกับค่าจ้างของลูกจ้างตามที่ตกลงกัน เงินที่หักก้เป็นจำนวนอันสมควรที่นายจ้างได้จ่ายไปตามความเป็นจริง ถือได้ว่าเงินที่หักนั้นเป็นหนี้อันเกิดแต่การทำงาน มิใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนลูกจ้าง: ไม่ถือเป็นหนี้อื่นตามประกาศ มท. หากเกี่ยวข้องกับสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 30 ห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักจากเงินค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คำว่า "หนี้อื่น" นี้หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง การที่โจทก์มีสิทธิเข้าพักอาศัยอยู่ในบ้านของบริษัทจำเลยนั้น ก็เพราะโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะเสียเงินค่าเช่าเดือนละ 300 บาท และค่าไฟฟ้าก็เป็นจำนวนน้อยมาก สิทธิของโจทก์ดังกล่าวเป็นผลโดยตรงจากความผูกพันในฐานะลูกจ้างและนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลย หนี้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นหนี้อันเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หาใช่หนี้อื่นตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30 ไม่จำเลยมีสิทธิหักค่าเช่าบ้านและค่าไฟฟ้าจากเงินเดือนของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างหักกลบลบหนี้ค่าเสียหายจากค่าจ้างลูกจ้าง กรณีลูกจ้างไม่คืนทรัพย์สินของนายจ้าง
คำว่าหนี้อื่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 30 หมายถึงหนี้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง เช่นหนี้เงินกู้จากนายจ้าง เป็นต้น กรณีหนี้ที่ลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้แก่นายจ้างเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อื่นที่นายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายจากนายจ้าง เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างลาออกจากงานโดยไม่ส่งสมุดตัวอย่างสินค้าคืนแก่นายจ้างอันเป็นการผิดสัญญาและต้องรับผิดชดใช้เป็นเงินจำนวนเท่ากับราคาของสมุดตัวอย่างดังกล่าวเช่นนี้นายจ้างย่อมมีสิทธิขอหักกลบลบหนี้กับลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฝ่ายเดียวในการยินยอมให้หักเงินเดือน: สิทธิของนายจ้างในการชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ยินยอมลงชื่อในเอกสารที่มีใจความว่าโจทก์สัญญาว่าจะไม่ประพฤติการต่าง ๆ ให้เป็นที่เสียหายต่อจำเลย หากทำให้จำเลยเสียหายยอมให้จำเลยหักเอาจากเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยได้ ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์จะเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยได้บ้าง และไม่มีกฎหมายบังคับว่าความยินยอมของลูกจ้างเช่นนี้จะต้องทำตามแบบอย่างไร ดังนั้นเพียงแต่โจทก์แสดงเจตนาฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์มาชดใช้เงินค่าอาหารและค่าอุปกรณ์การเรียนของบุตรที่โจทก์เบิกไปโดยไม่มีสิทธิได้ โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในเอกสารดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546-3547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม: 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหมายถึงหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
คำว่า "หนี้อื่น" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 30 นั้น หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หนี้ที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างจึงมิใช่หนี้อื่นซึ่งนายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้