พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาแยกส่วนคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง รวมถึงการยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิ
เมื่อจำเลยฎีกาทั้งในส่วนของคำฟ้องเดิมและในส่วนของคำฟ้องแย้ง ในกรณีเช่นนี้การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาว่าจะฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณากันคนละส่วน มิใช่พิจารณาทุนทรัพย์รวมกัน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา 221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้ง เมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทจำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไปหลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม200,000 บาท ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525 บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน 952.50 บาท แม้จะไม่ครบแต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้วศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้ชำระเงินงวดที่ 5 จำนวน200,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องเดิม เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้
ส่วนปัญหาประการที่สองจำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องชำระค่าปรับเป็นระยะเวลา 221 วัน เป็นเงิน 221,000 บาท ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาจากโจทก์ซึ่งอยู่ในส่วนของคำฟ้องแย้ง เมื่อคดีส่วนนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเกินกว่าสองแสนบาทจำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
แม้โจทก์ผู้รับจ้างจะก่อสร้างอาคารให้จำเลยไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แต่จำเลยก็ตกลงยินยอมให้โจทก์ทำการก่อสร้างต่อจนอาคารแล้วเสร็จ และจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายอาคารนั้นให้บุคคลอื่นไปหลังจากนั้นจำเลยยังให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารอีกหลังหนึ่งด้วยและจำเลยก็ไม่ติดใจเรื่องค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตามสัญญา ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้เคร่งครัดเรื่องกำหนดเวลาการก่อสร้างและไม่ได้ติดใจในเรื่องค่าปรับ ทั้งยังยอมรับผลงานของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว อันเป็นการยอมรับชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคสาม
ตามทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาแยกเป็นในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม200,000 บาท ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้ง 221,000 บาท แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 259,067 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาล 6,477.50บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงถือว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งจากทุนทรัพย์ 221,000 บาท เป็นค่าขึ้นศาล 5,525 บาท ครบถ้วน ส่วนที่เหลือถือว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำนวน 952.50 บาท แม้จะไม่ครบแต่เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม เพราะต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เสียแล้วศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เหลือนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6609/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง จึงจะรับพิจารณาได้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา79 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ฉะนั้น คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งจึงต้องอยู่ในบังคับของป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 2 ว่าเป็นไปโดยมิชอบโดยอ้างเหตุเป็น 2 ตอน โดยในตอนที่สองได้บรรยายคำร้องว่า นอกจากจะมีการทุจริตในหน่วยเลือกตั้งที่ 1 แล้ว หน่วยเลือกตั้งอื่นอาจจะมีการกระทำทุจริต กล่าวคือ อำเภอ ก.หน่วยเลือกตั้งที่ 1 มีผู้ใช้สิทธิคนเดียวหลายครั้งเพื่อลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลขอื่น และกรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง หน่วยเลือกตั้งที่ 5 กรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง และทำบัตรดีให้เป็นบัตรเสียโดยมีการกา 2 ครั้งในช่องเดียวกัน เจ้าหน้าที่ขานว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งลักษณะการกระทำผิดในหน่วยเลือกตั้งอื่นของอำเภอ ก. อำเภอ บ. และอำเภอ ด.นั้น ผู้ร้องเข้าใจว่าอาจเป็นการกระทำทุจริตโดยเจ้าหน้าที่อาจปล่อยให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหลายครั้ง ทำให้คะแนนของผู้ร้องลดลง ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องในตอนที่สองที่เกี่ยวกับหน่วยเลือกตั้งอื่นดังกล่าวนี้ ผู้ร้องมิได้ยืนยันว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง แต่เป็นความเข้าใจเอาเองของผู้ร้องทั้งผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นว่าบัตรเลือกตั้งที่ใช้เวียนลงคะแนนก็ดี บัตรที่ขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นก็ดี บัตรที่ไม่ขานคะแนนให้ผู้ร้องโดยอ้างว่าเป็นบัตรเสียก็ดีนั้นมีจำนวนเท่าใด การใช้คนเวียนลงคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่นและขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นนั้นเป็นผู้สมัครคนใดบ้าง และมีผลทำให้คะแนนของผู้สมัครคนใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจำนวนเท่าใด คำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุในตอนที่สองนี้เป็นคำร้องที่มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทางอำเภอกำแพงแสนจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่ามีจำนวน 875 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพียง 775 คน และมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพียง 437 คน แต่จากรายงานผลการนับคะแนนว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับคะแนน 752 คะแนน เกินกว่าจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าเปิดหีบเลือกตั้งมานับใหม่แล้วจะทำให้คะแนนของผู้ร้องเพิ่มขึ้นและทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้คะแนนน้อยกว่าผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 2,305 คะแนน ดังนั้น แม้จะนำจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในหน่วยเลือกตั้งนี้เป็นคะแนนที่ลงให้แก่ผู้ร้องนำมาหักออกจากคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งและผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงไม่จำต้องเปิดหีบเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนเสียงใหม่
เมื่อคำร้องของผู้ร้องที่คัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมและไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 2 ว่าเป็นไปโดยมิชอบโดยอ้างเหตุเป็น 2 ตอน โดยในตอนที่สองได้บรรยายคำร้องว่า นอกจากจะมีการทุจริตในหน่วยเลือกตั้งที่ 1 แล้ว หน่วยเลือกตั้งอื่นอาจจะมีการกระทำทุจริต กล่าวคือ อำเภอ ก.หน่วยเลือกตั้งที่ 1 มีผู้ใช้สิทธิคนเดียวหลายครั้งเพื่อลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลขอื่น และกรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง หน่วยเลือกตั้งที่ 5 กรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง และทำบัตรดีให้เป็นบัตรเสียโดยมีการกา 2 ครั้งในช่องเดียวกัน เจ้าหน้าที่ขานว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งลักษณะการกระทำผิดในหน่วยเลือกตั้งอื่นของอำเภอ ก. อำเภอ บ. และอำเภอ ด.นั้น ผู้ร้องเข้าใจว่าอาจเป็นการกระทำทุจริตโดยเจ้าหน้าที่อาจปล่อยให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหลายครั้ง ทำให้คะแนนของผู้ร้องลดลง ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องในตอนที่สองที่เกี่ยวกับหน่วยเลือกตั้งอื่นดังกล่าวนี้ ผู้ร้องมิได้ยืนยันว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง แต่เป็นความเข้าใจเอาเองของผู้ร้องทั้งผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นว่าบัตรเลือกตั้งที่ใช้เวียนลงคะแนนก็ดี บัตรที่ขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นก็ดี บัตรที่ไม่ขานคะแนนให้ผู้ร้องโดยอ้างว่าเป็นบัตรเสียก็ดีนั้นมีจำนวนเท่าใด การใช้คนเวียนลงคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่นและขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นนั้นเป็นผู้สมัครคนใดบ้าง และมีผลทำให้คะแนนของผู้สมัครคนใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจำนวนเท่าใด คำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุในตอนที่สองนี้เป็นคำร้องที่มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทางอำเภอกำแพงแสนจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่ามีจำนวน 875 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพียง 775 คน และมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพียง 437 คน แต่จากรายงานผลการนับคะแนนว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับคะแนน 752 คะแนน เกินกว่าจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าเปิดหีบเลือกตั้งมานับใหม่แล้วจะทำให้คะแนนของผู้ร้องเพิ่มขึ้นและทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้คะแนนน้อยกว่าผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 2,305 คะแนน ดังนั้น แม้จะนำจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในหน่วยเลือกตั้งนี้เป็นคะแนนที่ลงให้แก่ผู้ร้องนำมาหักออกจากคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งและผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงไม่จำต้องเปิดหีบเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนเสียงใหม่
เมื่อคำร้องของผู้ร้องที่คัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมและไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6609/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจนและมีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ฉะนั้น คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งจึงต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งที่ 2 ว่าเป็นไปโดยมิชอบโดยอ้างเหตุเป็น 2 ตอน โดยในตอนที่สองได้บรรยายคำร้องว่านอกจากจะมีการทุจริตในหน่วยเลือกตั้งที่ 1 แล้ว หน่วยเลือกตั้งอื่นอาจจะมีการกระทำทุจริต กล่าวคือ อำเภอ ก.หน่วยเลือกตั้งที่ 1 มีผู้ใช้สิทธิคนเดียวหลายครั้งเพื่อลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลขอื่น และกรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง หน่วยเลือกตั้งที่ 5กรรมการนับคะแนนโดยไม่ขานคะแนนของผู้ร้อง และทำบัตรดีให้เป็นบัตรเสียโดยมีการกา 2 ครั้งในช่องเดียวกันเจ้าหน้าที่ขานว่าเป็นบัตรเสีย ซึ่งลักษณะการกระทำผิดในหน่วยเลือกตั้งอื่นของอำเภอ ก. อำเภอ บ. และอำเภอ ด. นั้นผู้ร้องเข้าใจว่าอาจเป็นการกระทำทุจริตโดยเจ้าหน้าที่อาจปล่อยให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหลายครั้ง ทำให้คะแนนของผู้ร้องลดลง ดังนี้ คำร้อง ของ ผู้ร้องในตอนที่สองที่เกี่ยวกับหน่วยเลือกตั้งอื่นดังกล่าวนี้ ผู้ร้องมิได้ยืนยันว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้ง แต่เป็นความเข้าใจเอาเองของผู้ร้องทั้งผู้ร้องมิได้บรรยายให้เห็นว่าบัตรเลือกตั้งที่ใช้เวียน ลงคะแนนก็ดี บัตรที่ขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นก็ดี บัตรที่ไม่ขานคะแนนให้ผู้ร้องโดยอ้างว่าเป็นบัตรเสียก็ดีนั้นมีจำนวนเท่าใด การใช้คนเวียน ลงคะแนนให้ผู้สมัครคนอื่นและขานคะแนนของผู้ร้องเป็นของผู้สมัครคนอื่นนั้นเป็นผู้สมัครคนใดบ้าง และมีผลทำให้คะแนนของผู้สมัครคนใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจำนวนเท่าใด คำร้อง ของผู้ร้องที่อ้างเหตุในตอนที่สองนี้เป็นคำร้องที่มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง จึงเป็นคำร้องที่เคลือบคลุม ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า ทางอำเภอกำแพงแสนจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่ามีจำนวน 875 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพียง 775 คน และมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพียง437 คน แต่จากรายงานผลการนับคะแนนว่า ผู้คัดค้านที่ 2ได้รับคะแนน 752 คะแนน เกินกว่าจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าเปิดหีบเลือกตั้งมานับใหม่แล้วจะทำให้คะแนนของผู้ร้องเพิ่มขึ้นและทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้อง ของ ผู้ร้องว่า ผู้ร้องได้คะแนนน้อยกว่าผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 2,305 คะแนน ดังนั้นแม้จะนำจำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในหน่วยเลือกตั้งนี้เป็นคะแนนที่ลงให้แก่ผู้ร้องนำมาหักออกจากคะแนนของผู้คัดค้านที่ 2 ก็หาทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับการเลือกตั้งและผู้คัดค้านที่ 2ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงไม่จำต้องเปิดหีบเลือกตั้งเพื่อนับคะแนนเสียงใหม่ เมื่อคำร้อง ของ ผู้ร้องที่คัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมและไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ ให้ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชัดเจน จึงจะรับไว้พิจารณาได้
คำร้องสอดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสอง และเมื่อผู้ร้องสอดได้เข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) แล้วย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 เมื่อคำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอบังคับ จึงไม่อาจทราบได้ว่าผู้ร้องสอดจะขอเข้ามาเป็นโจทก์หรือจำเลยคำร้องสอดของผู้ร้องสอดเพียงแต่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น แต่ไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้งหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไร จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดตามมาตรา 57(1) ต้องมีคำขอบังคับชัดเจนเสมือนฟ้องคดีใหม่ มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องสอดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดง โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองและเมื่อผู้ร้องสอดได้เข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1)แล้วย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ตามมาตรา 58 เมื่อคำร้องสอดของผู้ร้องไม่มี คำขอบังคับ จึงไม่อาจทราบได้ว่าผู้ร้องสอดจะขอเข้ามาเป็นโจทก์ หรือจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเพียงแต่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น แต่ไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง หรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไร จึงเป็นคำร้องสอด ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญของสัญญา, การขยายเวลาสัญญา, และสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจ้างเหมาทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายใน โดยกำหนดให้จำเลยทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ตุลาคม2532 หากจำเลยไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงย่นหรือขยายกันแล้ว จำเลยยอมเสียค่าปรับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงขยายกำหนดระยะเวลาทำงานให้จำเลยออกไปถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 แล้วจำเลยยังทำไม่เสร็จตามสัญญา แต่โจทก์มิได้ขอบังคับตามสัญญาหรือสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับแต่อย่างใด กลับตกลงเพิ่มเติมงานจากสัญญาเดิมขึ้นอีกโดยไม่อาจทราบได้ว่างานจะเสร็จเมื่อใดและไม่ประสงค์ที่จะปรับ และมีการจ่ายเงินให้จำเลยอีกในภายหลังวันที่ครบกำหนดตามสัญญาแล้วตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างเหมาเป็นสาระสำคัญ จึงจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยตามสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจ้างเหมาให้จำเลยจัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในบ้าน จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ไม่ยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยโดยคิดค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ค้างชำระอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงกันยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยและจะชำระราคาที่ค้างอยู่ และเมื่อโจทก์ได้รับเฟอร์นิเจอร์ลอยไปแล้ว ดังนี้ ศาลชอบที่จะบังคับให้โจทก์ชำระราคาตามที่ตกลงนั้นได้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจ้างเหมาให้จำเลยจัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในบ้าน จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ไม่ยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยโดยคิดค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ค้างชำระอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงกันยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยและจะชำระราคาที่ค้างอยู่ และเมื่อโจทก์ได้รับเฟอร์นิเจอร์ลอยไปแล้ว ดังนี้ ศาลชอบที่จะบังคับให้โจทก์ชำระราคาตามที่ตกลงนั้นได้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา การขยายเวลาสัญญา และเจตนาในการถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจ้างเหมาทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายใน โดยกำหนดให้จำเลยทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2532 หากจำเลยไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหรือ ภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงย่นหรือขยายกันแล้ว จำเลยยอมเสียค่าปรับให้แก่โจทก์ ต่อมาโจทก์และจำเลยตกลงขยายกำหนดระยะเวลาทำงานให้จำเลยออกไปถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532แล้วจำเลยยังทำไม่เสร็จตามสัญญา แต่โจทก์มิได้ขอบังคับตามสัญญาหรือสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับแต่อย่างใด กลับตกลงเพิ่มเติมงานจากสัญญาเดิมขึ้นอีกโดยไม่อาจทราบได้ว่างานจะเสร็จเมื่อใดและไม่ประสงค์ที่จะปรับ และมีการจ่ายเงินให้จำเลยอีกในภายหลังวันที่ครบกำหนดตามสัญญาแล้วตามพฤติการณ์ถือได้ว่า โจทก์มิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างเหมาเป็นสาระสำคัญ จึงจะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยตามสัญญา สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจ้างเหมาให้จำเลยจัดทำและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในบ้านจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อจำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ไม่ยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยโดยคิดค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ค้างชำระอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์และจำเลยตกลงกันยอมรับเฟอร์นิเจอร์ลอยและจะชำระราคาที่ค้างอยู่ และเมื่อโจทก์ได้รับเฟอร์นิเจอร์ลอยไปแล้ว ดังนี้ ศาลชอบที่จะบังคับให้โจทก์ชำระราคาตามที่ตกลงนั้นได้ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาแก้ไขค่าทดแทนได้ และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนพ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วยดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา 27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรมและยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำเลยเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณีดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยแล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วันดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: อำนาจรัฐมนตรี, การกำหนดราคา, และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติม
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน... พ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวด้วย ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรม และยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณี ดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัย แล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง
เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วัน ดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณี ดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัย แล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง
เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วัน ดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นกับการฟ้องร้องคดีอาคาร: การแยกบทบาทนายกเทศมนตรีและเทศบาล
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้...เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล...ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรีจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์