พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องค่าสินไหมทดแทนจากวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ยื่นในคดีเดิมได้ หากเกิดจากความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ
การที่จำเลยซึ่งถูกบังคับโดยวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจะยื่นคำร้องขอให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263 (เดิม) มิใช่เป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่งแต่เป็นเรื่องในคดีเดิมที่ศาลได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิของผู้ขอมีข้อมูลหรือวิธีการนั้นมีเหตุผลเพียงพอ ทั้งนี้โดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์ผู้ขอ ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องทำเป็นคำฟ้องต่างหาก เพียงแต่ยื่นคำขอเข้ามาในคดีเดิมก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเบิกความกลัวภัย ไม่เป็นเหตุให้คำเบิกความไม่มีน้ำหนัก เมื่อมีหลักฐานอื่นสนับสนุน
แม้การเป็นพยานจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดีก็ตามแต่บางครั้งพยานก็อาจไม่ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีแม้ตนจะเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ก็ตามทั้งนี้อาจเป็นเพราะเกิดความกลัวหรือเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับจะนำภัยมาถึงตนและครอบครัวก็เป็นได้ยิ่งผู้ตายเป็นคนต่างท้องถิ่นส่วนจำเลยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันและขณะนั้นยังจับคนร้ายไม่ได้อีกด้วยในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจพบท. สอบถามแล้วไม่ยอมให้การมีลักษณะท่าทางกลัวจึงน่าเชื่อว่าที่ท. ไม่ยอมระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายและที่บอกว่าคนร้ายสองคนเคยเห็นหน้ามาก่อนมาถ้าเห็นหน้าอีกจำได้นั้นคงมิใช่เพราะท.ไม่รู้จักคนร้ายแต่เป็นเพราะกลัวว่าหากระบุชื่อคนร้ายไปอาจจะนำภัยมาถึงตนหรือครอบครัวมากกว่าดังนั้นการที่ท. ไม่ระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายในวันเกิดเหตุจึงหาเป็นข้อพิรุธอันจะทำให้น้ำหนักของคำเบิกความของท. ที่ยืนยันว่าจำเลยกับอ.เป็นคนร้ายเสียไปไม่เมื่อรับฟังประกอบกับพฤติการณ์ที่จ.พบเห็นจำเลยกับพวกก่อนและหลังเกิดเหตุและพฤติการณ์ที่พันตำรวจโทว. สืบทราบว่าจำเลยกับพวกเป็นคนร้ายจนยึดรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้และรายงานต่อผู้บังคับบัญชาพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และความรับผิดในความเสียหายจากการขับรถ แม้มีสายบังคับบัญชาแต่ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
จำเลยที่1เป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีและจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งรองผู้กำกับการตำรวจนครบาล7มีนบุรีต่างมีอาชีพรับราชการจำเลยที่1เป็นแต่เพียงผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่2ตามสายการบังคับบัญชาเท่านั้นหากจำเลยที่1จะขับรถยนต์ให้จำเลยที่2บ้างก็น่าจะเป็นครั้งคราวตามอัธยาศัยและการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์ของจำเลยที่2อาสาไปส่งจำเลยที่4ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรีนั้นก็เป็นเรื่องเอื้อเฟื้อส่วนตัวของจำเลยที่1ข้อเท็จจริงเช่นนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อโจทก์ที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สิทธิการเช่า, สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย - ข้อพิพาทเรื่องการเช่าและการครอบครอง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิดการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) แล้วดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้นดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตคำพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิด การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 543 (3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่ออกจากอสังหาริมทรัพย์: ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารหากไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้วยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วยจึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินเดือนละ68,000บาทนับแต่วันที่28มิถุนายน2526เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลยจึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใดกรณีพอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา286ทวิวรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัวดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(1)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่ - ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารหากไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเมื่อคดีมีลักษณะเป็นการฟ้องแย้งเพื่อส่งมอบอสังหาริมทรัพย์
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว ยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วย จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ68,000 บาท นับแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลย เช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใด จึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขับไล่: ศาลมีอำนาจออกหมายจับบริวารในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขการชำระค่าเสียหายผูกพันกับการออกจากอสังหาริมทรัพย์
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้วยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วยจึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ68,000บาทนับแต่วันที่28มิถุนายน2526เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลยเช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใดจึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296ทวิวรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัวดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(1)แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาและการบังคับคดีขับไล่: ผลของการชำระค่าเสียหายและผลบังคับคดี
นอกจากจำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาแล้ว ยังฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบตึกพิพาทแก่จำเลยและห้ามโจทก์ทั้งสองและบริวารเกี่ยวข้องกับตึกพิพาทด้วย จึงเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (1) เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินเดือนละ 68,000 บาท นับแต่วันที่ 28 มิถุนายน2526 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะออกจากตึกพิพาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินที่ต้องชำระแต่ละเดือนจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะชำระเสร็จแก่จำเลย เช่นนี้การที่โจทก์ทั้งสองจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่จำเลยมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่โจทก์ทั้งสองและบริวารได้ออกจากตึกพิพาทแล้วหรือไม่และออกไปเมื่อใด จึงเป็นกรณีที่พอแปลความหมายได้ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารต้องออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ วรรคหนึ่งซึ่งมีผลอย่างเดียวกับให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากตึกพิพาทอยู่ในตัว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับบริวารของโจทก์ทั้งสองตามรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากไม่ยอมออกไปจากตึกพิพาทตามคำบังคับจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 296จัตวา (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718-723/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนดเวลาฟ้องหลังรัฐมนตรีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์หรือมีคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคสองและมาตรา26วรรคหนึ่งในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่่ได้รับคำอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันทีพ้นกำหนดหกสืบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังนั้นกรณีคดีนี้เมื่อจำเลยที่2ซึ่งเป็นรัฐมนตรีฯมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์