คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต เพชรปลูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพจำเลย และการสันนิษฐานการร้องทุกข์โดยชอบ
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมายชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจาก โทษในคดีอาญาอื่นอีก 3 คดี รวมแล้วมีโทษจำคุก 70 ปี 22 เดือน จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกรวมโทษ ทั้ง 4 คดีแล้วไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 3 ฎีกาโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างอิง ข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกา ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง, 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่ออุทธรณ์ของกรรมการบริษัทที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้กรรมการซึ่ง ลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทได้คือ น. หรือป.ลงลายมือชื่อร่วมกับล. หรือช. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลย กรรมการที่ลงลายมือชื่อ ในช่องผู้อุทธรณ์คือ น.และป. และประทับสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท จึงไม่มี อำนาจกระทำการผูกพันจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายบัญญัติรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุตามกฎหมายแพ่งก็ไม่เพียงพอ
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 และมาตรา 188(1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติกล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทางศาลในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับเฉพาะเจาะจง แม้มีเหตุโมฆะก็ไม่อาจใช้สิทธิได้
การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำร้องขอยื่นต่อศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ กล่าวคือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องทำนิติกรรมยกที่ดินให้ผู้ใดไปแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมยกให้ดังกล่าวเป็นโมฆะได้ แม้ ป.พ.พ.มาตรา 156 ที่ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมเป็นโมฆะได้ ก็เป็นเพียงหลักเกณท์ของกฎหมายที่จะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะเท่านั้น หาได้รับรองให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของแนวเขต, การจ่ายค่าทดแทน, และการดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่างอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฏ.ฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหาร อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 18และมาตรา 19 (1) และ (2) (ง) การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย และการไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่าง อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับ ความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่าง ถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหารอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาล สายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 18 และมาตรา 19(1) และ (2)(ง)การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วย กฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ ให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่า ลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่อง ร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณา เรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำ ของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหาร ของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้ พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้ เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่ จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน มาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ ในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ. 2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรี กับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาและประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกล่าวคือหากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้ ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงิน ค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้วและจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้นเป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาล ที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ ผู้ถูกเวนคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินกำหนดระยะเวลาใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การขอบังคับคดีจึงเป็นอันตกไป
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงร่วมเดินรถด้วยกันโดยจะนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตบริษัทละเท่าๆ กัน เมื่อกรมการขนส่งทางบกออกใบอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งสิ้นอายุวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 การที่โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยบรรจุรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองเข้าร่วมเดินรถเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เป็นการขอบังคับคดีที่ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยต้องรับผิด ศาลจึงไม่อาจบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับจากการผิดสัญญาและการวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญา รับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลย ที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่า ที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทน ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้าย ที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค ในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงาน แก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมาก จนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์ และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การ ถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิ เรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึง กรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลงและเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้าง ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงิน ค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกา ต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิด ต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดค่าปรับงานก่อสร้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับและพิพากษาให้ชำระค่าจ้างคงเหลือ
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าทำสัญญารับจ้างก่อสร้างเขื่อนกับจำเลยเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพและอุปสรรคในการก่อสร้าง เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่โจทก์จะยอมรับได้โดยปกติทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยก็คิดจากค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรได้รับจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างที่ทำให้เกิดความล่าช้าโดยความผิดของจำเลย และเมื่อโจทก์ทำงานแล้วเสร็จส่งมอบงานแก่จำเลยแล้ว จำเลยคิดค่าปรับรายวันเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าค่าจ้างงวดสุดท้ายที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลย จำเลยจึงไม่ชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายให้โจทก์และโจทก์ขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์พอแสดงให้เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวเนื่องจากการคิดค่าปรับของจำเลยเป็นไปโดยไม่ชอบ และจำเลยก็ให้การถึงการคิดค่าปรับดังกล่าวว่าจำเลยได้คิดค่าปรับโดยถูกต้องแล้ว และที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยหรือไม่ จึงครอบคลุมถึงกรณีการคิดค่าปรับหักจากค่าจ้างงวดสุดท้ายแล้ว และตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ก็บัญญัติให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยถึงการคิดค่าปรับอันเป็นเบี้ยปรับของโจทก์ว่าสูงเกินไปและคิดลดลงเหลือต่ำกว่าค่าจ้างงวดสุดท้าย จึงมีค่าจ้างงวดสุดท้ายคงเหลือที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างงวดสุดท้ายดังกล่าวแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีผลสมบูรณ์ แต่ที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างที่เหลือให้โจทก์เพราะคิดค่าปรับการทำงานล่าช้าสูงเกินส่วน จึงลดค่าปรับลง และเมื่อหักจากค่าจ้างแล้วยังเหลือค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ จึงพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนเงินค่าปรับว่าลดลงมากน้อยไปหรือไม่ และไม่มีปัญหาในชั้นฎีกาต้องวินิจฉัยในเรื่องจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
of 56