คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต เพชรปลูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถ: การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน ไม่ใช่หน่วยงานภายใน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรป.กลางตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์9คันกับโจทก์จริงหรือไม่นั้นเป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่2แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมายจ.34ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นแต่ตามเอกสารหมายจ.34ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าวและไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์แม้กรป.กลางจะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่2ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้นและเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่ เมื่อกรป.กลางเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่2ซึ่งจะต้องปฎิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่2มอบหมายโดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอกกรป.กลางย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายต้องให้จำเลยที่2เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกหรือให้กรป.กลางเป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องแก่จำเลยที่2ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้วจึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อม: การรับสภาพหนี้ต้องชัดเจนจากลูกหนี้หรือตัวแทน มิใช่หน่วยงานภายใน
การรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์รูปคดีฟังไม่ได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันจำเลยที่2อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันว่าจ้างโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่1และที่2เชิดกรป.กลางให้เป็นตัวแทนของตนแต่อย่างใดข้อฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่2ในฐานะคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การรับสภาพหนี้ต้องกระทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ กรป.กลาง ตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์ 9 คัน กับโจทก์จริงหรือไม่ นั้น เป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่ 2 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.34 ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น แต่ตามเอกสารหมาย จ.34 ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แต่งตั้งให้ กรป.กลาง เป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ แม้ กรป.กลาง จะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น จะเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อแม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้หากมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน62,000บาทข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือแต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้วอันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อที่ดิน แม้ไม่ทำหนังสือก็มีผลผูกพัน หากมีการชำระหนี้บางส่วน
สิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงซื้อขายสิทธิดังกล่าวแม้ไม่ทำเป็นหนังสือแต่โจทก์ชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายแก่จำเลยบ้างแล้วมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองโจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยไปทำการโอนสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อที่ดิน แม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน 62,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิ โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้ว อันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อน และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
พินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายดังนั้นในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่พินัยกรรมยังไม่มีผลบังคับผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมได้อย่างเต็มที่หากผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนทำนิติกรรมสำเร็จทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรมย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ทำพินัยกรรมที่มีต่อทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นโดยผลแห่งกฎหมายอยู่แล้วไม่จำต้องกล่าวถึงพินัยกรรมไว้ในนิติกรรมที่ทำนั้นแต่อย่างใด กฎหมายไม่มีข้อห้ามมิให้ผู้รับมรดกรู้ข้อความในพินัยกรรมล่วงหน้าทั้งไม่มีข้อห้ามญาติใกล้ชิดเป็นพยานในพินัยกรรมฉะนั้นการที่อ. ซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมได้ล่วงรู้ข้อความในพินัยกรรมและน. กับร. ซึ่งเป็นพยานในพินัยกรรมเป็นเพียงญาติใกล้ชิดกับผู้รับพินัยกรรมเท่านั้นมิได้มีส่วนได้เสียในพินัยกรรมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว การตั้งผู้จัดการมรดกแทนที่เดิมทำไม่ได้หากยังมีผู้จัดการมรดกท่านอื่น
การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับการตั้งไม่สามารถเป็นแทนกันได้เมื่อผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพันตำรวจเอกข. ผู้ตายถึงแก่ความตายย่อมไม่อาจตั้งผู้ร้องที่2เข้าไปแทนที่ได้และการจัดการมรดกของผู้ตายก็ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากยังมีผู้จัดการมรดกอยู่อีก2คนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่1และผู้คัดค้านที่2ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วผู้ร้องที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้ร้องและผู้คัดค้านที่2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้อีก
of 56