พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันโดยไม่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้และขาดการปิดอากรแสตมป์ ทำให้สัญญานั้นใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ช.ได้ทำสัญญากู้และมอบ น.ส.3 ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน แต่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้และมิได้ยอมรับว่ากู้เงินจากจำเลย ทั้งหนังสือมอบอำนาจตามที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อยึดถือ น.ส.3 ดังกล่าวไว้ เป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์แต่สัญญากู้และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้าย ป.รัษฎากรและขีดฆ่าแล้ว กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ช.ไปกู้เงินจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึด น.ส.3 ของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินชายตลิ่งหลังหมดสัญญาเช่า สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้าน ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่ง ใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไป แล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์ย่อมไม่อาจเรียกค่าเช่าจากจำเลยหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายการที่จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนหากจำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามที่กำหนดการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และสภาพที่ดินชายตลิ่งไม่เป็นสาธารณสมบัติ
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทอง ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่งใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่ และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปแล้วแม้จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ก็ไม่อาจเรียกค่าเช่าหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย และเมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท หากครบกำหนดตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังไม่ออกไปจากที่ดินพิพาท การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปแล้วแม้จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ก็ไม่อาจเรียกค่าเช่าหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหาย และเมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท หากครบกำหนดตามบันทึกข้อตกลงแล้ว ยังไม่ออกไปจากที่ดินพิพาท การกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอดถอนกรรมการชั่วคราวและการส่งสำนวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกายกคำสั่งเดิมให้ไต่สวนใหม่
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้ตั้งผู้ร้องและต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้อง ซึ่งแม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวแทนนั่นเอง ซึ่งผู้ร้องและต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้านกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นแทนหรือไม่และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมี คำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้นจึงไม่ชอบ เพราะโดยปกติคดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในภาค 3 ลักษณะ 1ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีกลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้อง ของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้นแต่ประการใดคำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาเช่นกันแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตามแต่เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายเช่าที่ดินและการเพิกถอนมติที่ไม่ชอบของ คชก. จังหวัด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ.ซื้อจากส. คชก. จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ. ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก. จังหวัดเป็นโมฆะโดยอ้างว่า พ. มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ แต่การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ดังนี้ ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และช. ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล. บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และช.มาแล้วกรณีจึงฟังได้ว่าส.และ ช. ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. ดังนั้น ในครั้งที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. จึงเป็นการไม่ชอบและยังไม่เป็นที่สุดการที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และช. ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก. จังหวัดเป็นโมฆะโดยอ้างว่า พ. มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ แต่การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ดังนี้ ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และช. ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล. บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และช.มาแล้วกรณีจึงฟังได้ว่าส.และ ช. ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. ดังนั้น ในครั้งที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. จึงเป็นการไม่ชอบและยังไม่เป็นที่สุดการที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และช. ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติ คชก.จังหวัด กรณีไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์สิทธิซื้อที่ดิน สิทธิซื้อที่ดินยังไม่สิ้นสุด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ. ซื้อจาก ส. ค.ช.ก.จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ.ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก.จังหวัดส่วนนี้เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า พ.มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และ ช.ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล.บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และ ช.มาแล้ว กรณีจึงฟังได้ว่า ส.และ ช.ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช. การที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.จึงเป็นการไม่ชอบ และยังไม่เป็นที่สุด การที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และ ช.ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก.จังหวัดส่วนนี้เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า พ.มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และ ช.ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล.บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และ ช.มาแล้ว กรณีจึงฟังได้ว่า ส.และ ช.ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช. การที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และ ช.จึงเป็นการไม่ชอบ และยังไม่เป็นที่สุด การที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และ ช.ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ105,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ. พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ. พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ. นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ. ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยัง ภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบ คำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย อยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็น ฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลย คืนเงินมัดจำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำบอกกล่าวตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดภูมิลำเนาเฉพาะการ และผลของการไม่แจ้งให้ถูกต้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลย 2 ห้อง ในราคาห้องละ 350,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยแล้วห้องละ 105,000 บาทส่วนที่เหลือจะชำระในวันทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องเดินทางไปต่างประเทศ หากจะติดต่อกับโจทก์ให้ติดต่อผ่าน จ.พี่สาวโจทก์ การที่จำเลยได้ส่งโทรสารแผนที่ตั้งโครงการไปให้ จ.พี่สาวโจทก์ เพื่อให้ จ.นำไปขอติดตั้งโทรศัพท์ในห้องอาคารชุดแทนโจทก์ แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยติดต่อเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดผ่าน จ.ตั้งแต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องถือว่าที่อยู่ของ จ.เป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีหนังสือแจ้งกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งสองฉบับไปยังภูมิลำเนาเดิมของโจทก์ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่จำเลยไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบคำบอกกล่าว จำเลยยังคงต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์แล้วจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้