คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต เพชรปลูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจากความผิด: ศาลมีอำนาจริบเงินได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่ของกลางในคดีปัจจุบัน
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ใช่เงินที่ได้จากการกระทำผิดในคดีปัจจุบัน ศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา
ธนบัตรของกลางจำนวน 700 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้จากการขายเมทแอมเฟตามีนก่อนหน้าที่จะถูกจับ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน 700 บาท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะก็ตาม และแม้ธนบัตรของกลางจะไม่ได้มาโดยการขายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตาม ศาลก็มีอำนาจริบได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของประกันจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มี ข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตามมาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับ ของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะ มอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของ โจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงานร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการ กระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของ โจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาทซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี และขอบเขตความรับผิดของจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ 10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตาม มาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของโจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงาน ร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้นเมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิควบคู่กันและการยินยอมของคู่สัญญา
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนผลในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกัน กล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอมให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา จำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8ในข้อนี้จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้องครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสองในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้งการยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมาเป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่าจะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9วรรคสอง ของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับรายวันจากสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิปรับก่อนบอกเลิกสัญญาชอบด้วยข้อตกลง
สัญญาซื้อขายได้กำหนดเหตุที่ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดจนในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาไว้แตกต่างกันกล่าวคือ หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 จำเลยยอม ให้โจทก์ริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาจำเลยยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ใน สัญญานี้ด้วย ส่วนข้อ 9 นั้น ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ในข้อนี้จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของ ที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่จำเลยได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่โจทก์จนถูกต้อง ครบถ้วน และตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจาก ธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้คดีนี้ จำเลยไม่ส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และก่อนที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 8 ทันที โดยโจทก์มีหนังสือทวงถามและกำหนดเวลาใหม่ให้โอกาสแก่จำเลยในการดำเนินการส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์สงวนสิทธิการปรับตามสัญญาและให้จำเลยแจ้ง การยินยอมชำระค่าปรับมาด้วย ซึ่งจำเลยก็มีหนังสือแจ้งให้ โจทก์ทราบว่ายอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาตามที่เคยปฏิบัติมา เป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้จำเลยยังมีหนังสือยืนยันมาว่า จะส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และโจทก์มีหนังสือแจ้งการปรับในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบไปให้จำเลยทราบเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ได้เลือกใช้สิทธิในการปรับจำเลยเป็นรายวันไปก่อนเพื่อให้โอกาสจำเลยส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดให้ใหม่ ซึ่งจำเลยก็ยินยอมตลอดมา ครั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบยางแอสฟัลต์ให้ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา การกระทำของโจทก์เช่นนี้ต้องด้วยข้อ 9 วรรคสองของสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลย เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.20 ของราคายางแอสฟัลต์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยได้รับ หนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา/จำเลยและการต่อสู้คดีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ตามป.วิ.อ.มาตรา 14 โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท ขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่ปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการมอบหมายให้พนักงานขับรถแทน
จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารชนรถจักรยานยนต์โจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย แม้หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถจะระบุชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้รถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งผู้โดยสาร โดยมีจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยที่ 4 พนักงานขับรถ ใช้ให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินค่าโดยสารขับรถยนต์โดยสารไปส่งผู้โดยสารแทนนั้น เป็นการแสดงออกชัดว่าจำเลยที่ 4 ได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนตนในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 420 , 425 , 427 , 797 และ 820 จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาล การทำสัญญาไม่ขัดกฎหมายและมีผลผูกพัน
โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และมีกำลังการผลิตได้ไม่เกินนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้ติดตั้งลูกหีบในโรงงานโจทก์ และโจทก์มีโครงการจะติดตั้งลูกหีบ ซึ่งหากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้วจะเป็นจำนวนที่จำเลยถือว่าโจทก์เพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานของโจทก์ให้เป็นไปตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้เดิม ซึ่งโจทก์ยอมรับโดยตรงว่าเครื่องจักรโรงงาน โจทก์มีกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตไว้ นอกจากนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้ง ให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษ จำเลยที่ 2 ก็ได้ระบุไว้ในหนังสือ นั้นว่า โจทก์ติดตั้งลูกหีบไม่ตรงตามที่ได้รับอนุญาต ทำให้มีกำลัง การผลิตเพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งเรื่องกำลัง การผลิตดังกล่าวและไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 14 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ในเมื่อจำเลยที่ 2ไม่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โจทก์การที่โจทก์ตั้งโรงงานน้ำตาลทรายโดยเพิ่มขยายกำลังการผลิตเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ดังนั้น การที่คณะกรรมการทำการปรับเกี่ยวกับการลงโทษโรงงานน้ำตาล และการที่จำเลยที่ 2มีคำสั่งให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษก็ให้ชำระให้แก่รัฐโดย นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อประโยชน์แก่รายได้ของแผ่นดินอันเป็นส่วนรวม จึงมิใช่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนตน กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำการโดยสุจริต ส่วนการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่ผู้แจ้งความเชื่อว่าโจทก์กระทำผิดกฎหมาย ฉะนั้นการใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยม หรือตามกฎหมายย่อมไม่เป็นการข่มขู่ นอกจากนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลทรายนั้นไม่ได้ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 33 แต่ออกตามรัฐธรรมนูญ หากไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีจะมีมาตรการให้ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ ซึ่งใช้แก่โรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนทุกแห่งไม่มีข้อยกเว้น แต่เนื่องจากคำนึงถึงความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และในระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือ ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐเพื่อทางรัฐ จะได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้โจทก์ต่อมา คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้สั่งระงับการกำหนดวันเปิด หีบอ้อยแก่โรงงานของโจทก์ ซึ่งเป็นไปตามมติส่วนใหญ่ของ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมิใช่การชี้แนะของจำเลยที่ 2 เพื่อให้โจทก์ชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ แต่เป็นเรื่องต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐบาลเคยปิดโรงงานน้ำตาลทรายที่จังหวัดอื่น แต่ไม่สามารถปิดได้เนื่องจากชาวไร่อ้อยประท้วง นอกจากนั้น นโยบายของรัฐในการควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ก็เพื่อมิให้ประชาชนและเศรษฐกิจของชาติเสียหายเป็นส่วนรวม แต่ในขณะเดียวกันรัฐก็ไม่ต้องการทำลายการลงทุนของเอกชน ด้วย จึงได้กำหนดนโยบายที่มีเงื่อนไขในการอนุญาตเพื่อป้องกันและปราบปรามมิให้โรงงานขยายกำลังผลิตหากฝ่าฝืนก็ต้องให้จ่ายเงินทดแทนแก่รัฐ ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521มาตรา 146 วรรคหนึ่ง คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินซึ่งถือว่าได้กระทำในนามแห่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุขตามมาตรา 3 การพิจารณาอนุญาตให้ตั้งประกอบ กิจการและขยายโรงงานน้ำตาลทรายจึงต้องพิจารณาถึงพระราชบัญญัติน้ำตาลทราย พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ประกอบกันซึ่งถือเป็นงานบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จัดตั้งโรงงานโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขได้ ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีที่ได้กำหนดขึ้นไว้ใช้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของรัฐโดยได้มีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมายให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามกำลังการผลิต ที่เพิ่มขึ้นเกินสิทธิเดิม โรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐดังกล่าวก็ต้องแก้ไขปรับปรุงโรงงาน ของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ แต่ถ้าจะขอตั้งโรงงาน ตามกำลังการผลิตที่ได้ติดตั้งไว้เกินสิทธิเดิมต้องจ่ายเงินทดแทน พิเศษให้แก่รัฐในอัตราดังกล่าวเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการ ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติ อันเป็นมาตรการที่ใช้บังคับสำหรับผู้ฝ่าฝืนนโยบายดังกล่าว ซึ่ง เป็นคนละส่วนกับการกระทำผิดต่อ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 โจทก์ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์เคยยืนยันรับรองว่ายินดีจะปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขของทางราชการทุกประการดังกล่าวข้างต้น และโจทก์ก็ได้เลือกปฏิบัติในทางยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษ ให้แก่รัฐเพื่อประโยชน์ของโจทก์เองที่จะได้รับอนุญาตให้ตั้ง โรงงานและประกอบกิจการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับใบอนุญาตไว้โดยโจทก์เลือกไม่ยอมปรับปรุง แก้ไขหรือดำเนินการในทางที่โจทก์ได้รับอนุญาตไว้แต่เดิม เงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นนโยบายที่ได้กำหนด ไว้โดยชอบนั้น เมื่อโจทก์เลือกปฏิบัติดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นความสมัครใจของโจทก์ในการทำสัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ สัญญายินยอมผ่อนชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐ และมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและมีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมชำระเงินทดแทนพิเศษเพื่อขยายโรงงานน้ำตาลตามมติคณะรัฐมนตรี มิใช่การขัดต่อกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลงโทษโรงงานที่ตั้งหรือขยายกำลังผลิตเพิ่มจากที่ได้รับอนุญาตไว้เดิมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามขั้นตอนที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยให้จ่ายเงินทดแทนพิเศษแก่รัฐตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น หากโรงงานใดไม่ประสงค์จะจ่ายเงินทดแทนพิเศษดังกล่าวก็ต้องปรับปรุงแก้ไขโรงงานของตนให้ถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตไว้ มติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นมาตรการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเพื่อควบคุมการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายอันจะนำมาซึ่งประโยชน์ของประชาชนและเศรษฐกิจของชาติ เป็นนโยบายที่กำหนดไว้โดยชอบ มิได้เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับ ไม่ตกเป็นโมฆะเมื่อโจทก์มีเครื่องจักรในโรงงานซึ่งมีกำลังการผลิตเกินกว่าอัตราที่ได้รับอนุญาต และสมัครใจยินยอมทำสัญญาจ่ายเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแทนการปรับปรุงแก้ไขกำลังการผลิตให้เป็นไปในทางที่ได้รับอนุญาตแต่เดิมโจทก์จึงต้องชำระเงินทดแทนพิเศษให้แก่รัฐตามสัญญาที่ทำไว้ตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรี
of 56