คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต เพชรปลูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลีกเลี่ยงคำพิพากษา: การกระทำโดยใช้วัสดุอื่นเพื่อรุกล้ำที่ดินหลังศาลสั่งรื้อถอน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยรับคำบังคับแล้วได้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกจากแนวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของฝ่ายโจทก์ แต่ได้ใช้แผ่นเหล็กหนา 15 เซนติเมตร และ50 เซนติเมตร สูง 1.50 เมตร ก่อกำแพงตามแนวเดิมอันทำให้เป็นไปตามสภาพเดิมอีก ถือเป็นการกระทำโดยวิธีการอันแยบคายของจำเลยที่อาศัยการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างอื่น ให้ผิดไปจากที่ระบุไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นที่เข้าใจ และประจักษ์ชัดว่าจำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะหลีกเลี่ยงไม่ถือปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ก็โดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อไปนั่นเอง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและขนย้ายวัสดุดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาล: การกระทำที่เจตนาทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่คู่กรณี
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำเลยรับคำบังคับแล้ว จำเลยได้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกจากแนวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของฝ่ายโจทก์ แต่ได้ใช้แผ่นเหล็กก่อเป็นกำแพงตามแนวเดิมอีก จำเลยไม่รื้อหลังคากันสาดอะลูมิเนียมที่จำเลยสร้างคลุมบริเวณรั้วกำแพงคอนกรีตออกไปและจำเลยได้ก่อสร้างชั้นวางของทำด้วยแผ่นเหล็กสูงประมาณ 1.47 เมตร ขึ้นใหม่ในที่ดินของฝ่ายโจทก์ตลอดแนวรั้วกำแพงคอนกรีตเดิมถัดจากแนวรั้วเดิม เมื่อคดีนี้จำเลยถูกดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งจนมีคำพิพากษาศาลฎีกาให้ลงโทษจำเลยในทางอาญาและให้แพ้คดีในทางแพ่ง จำเลยจึงอยู่ในฐานะของผู้ที่ทราบเรื่องต่าง ๆ ดีพฤติการณ์ที่จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตออกไปจากที่ดินโจทก์แล้วยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบ และจำเลยได้กระทำการโดยวิธีการอันแยบคายของจำเลยที่อาศัยการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างอื่นให้ผิดไปจากที่ระบุไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยมีเจตนาที่แท้จริงที่จะหลีกเลี่ยงไม่ถือปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา โดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่โจทก์นั่นเอง โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและขนย้ายชั้นวางของดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องมีเจตนาและเปิดให้ใช้จริง สิทธิในการแก้ไขโฉนด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) โดย ป.บิดาโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการออกเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน บิดาโจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดชี้แนวเขตออกโฉนดโดยกันที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 28ตารางวา และออกโฉนดเป็นโฉนดเลขที่ 643 และแม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่าง ป. ด.และ ล.เจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินแปลงพิพาทเพื่อให้มีการอุทิศที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างคนทั้งสามดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ โดย ล.ไม่สามารถแบ่งที่ดินทางด้านทิศตะวันตกให้ ป.ได้ตามข้อตกลง และป.ก็ไม่ยกที่ดินพิพาทที่อยู่ทางด้านทิศเหนือให้เป็นทางเช่นกัน จึงไม่มีการเปิดใช้ที่ดินพิพาทเป็นทาง คงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตามเดิม เพียงแต่ที่ ป.ได้แจ้งต่อช่างรังวัดไว้โดยมิได้ไปแจ้งยกเลิกการแลกเปลี่ยนที่ดินกัน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพราะมิได้มีเจตนาอุทิศมาตั้งแต่ต้น และมิได้เปิดที่ดินพิพาทให้ใช้เป็นทางสาธารณะให้ผู้คนสัญจรไปมา ฉะนั้น ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป.อยู่ตามเดิม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการแก้ไขโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน ไม่จำกัดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินของโจทก์ ที่ได้ออกไปโดยคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเภทของวัตถุจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดกระทบต่อความผิดตามกฎหมายจราจร และการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่
การที่ศาลมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเกิดขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดต่อ พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นทีอธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งนอกจากต้องถูกลงโทษตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีบทบัญญัติในวรรคนี้เองบัญญัติให้ศาลสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประสาทของยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศ ลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 การที่พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งห้ามผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เฉพาะวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น เมื่อต่อมาภายหลังเมทแอมเฟตามีนเปลี่ยนจากวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่งมีผลนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับคือวันที่ 16 ตุลาคม 2539ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง อีกต่อไป ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,195 วรรคสอง,215 และ 225 และมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57 ต้องรับโทษตามมาตรา 91อันเป็นกรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคหนึ่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1วางโทษจำคุก 1 ปีลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 6 เดือน ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ อันเป็นกฎหมายขณะกระทำความผิดซึ่งมีโทษเบากว่าเป็นคุณแก่จำเลยจึงชอบแล้วเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตขับขี่ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อทราบว่าที่ดินมีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป. มารดาของ ส. ได้จับจองไว้ ต่อมา ส. นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส.ต่อมาส. จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ป. และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว. ด้วยเนื่องจาก ส. ต้องการแบ่งที่ดินให้ ป. เป็นจำนวน5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป. นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส. จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป. ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้การที่ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป. มารดาของ ส. อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป.มารดาของ ส.ได้จับจองไว้ ต่อมาส.นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส. ต่อมา ส.จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ ป.และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว.ด้วย เนื่องจาก ส.ต้องการแบ่งที่ดินให้ป.เป็นจำนวน 5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป.นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส.จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ 3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป.ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้ การที่ ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป.มารดาของ ส.อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป.ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาให้จำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ได้รับประโยชน์จากการรอการลงโทษของจำเลยที่อุทธรณ์
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำเลยที่ 3 โดยอาศัยเหตุที่ศาลลดโทษจำเลยอื่นร่วมกระทำผิดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาเห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220
of 56