คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุสิต เพชรปลูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 554 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันหลังประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาโจทก์ระงับตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาเห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและศาลได้พิพากษา ตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อ ใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิด จากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการ นำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินตามคำสั่งนายกฯ การพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สิน และการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516ให้อายัดทรัพย์ของจอมพลถ. และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ. ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ. และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควร ทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517 ข้อ 5 แล้วและต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวงจ.เมื่อพันตรีหลวง จ. ได้ทำพินัยกรรม ยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาท เป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดินพิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้น คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดีหรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของ คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดทรัพย์สินโดยคำสั่งนายกฯ และการวินิจฉัยสิทธิในทรัพย์สินโดยคณะกรรมการ: ความชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516 ให้อายัดทรัพย์ของจอมพล ถ.และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ.ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ.และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้น เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517ข้อ 5 แล้ว และต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวง จ. เมื่อพันตรีหลวง จ.ได้ทำพินัยกรรมยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดิน-พิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดินต่อความเสียหายจากการจดทะเบียนโฉนดที่ดินปลอม โดยประมาทเลินเล่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้กระทำขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 2 จึงมั่นใจและเชื่อโดยสุจริตใจว่าการซื้อขายจะต้องสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการซื้อขายครั้งนี้ จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนการซื้อขายเสร็จแล้วมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ ต่อมาจึงทราบว่าโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งแปดเป็นของปลอมและเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้ขายที่ดินของตนแต่ประการใดการปลอมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือมิฉะนั้นได้กระทำการในหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยมิได้ตรวจสอบหลักฐานและโฉนดที่ดิน หากมีการตรวจสอบหลักฐานของทางราชการที่มีอยู่โดยเฉพาะโฉนดที่ดินก็ทราบได้ว่าโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่นำมาจดทะเบียนเป็นเอกสารปลอม การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินและเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำหน้าที่โดยมิชอบหรือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์เสียหายเป็นเงินเท่ากับค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งแปดเสียไปอันเป็นความเสียหายจากผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยตรงนั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่อย่างไรและได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องนั้นแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกทุจริตต่อหน้าที่ หรือมิฉะนั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นผลให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำหลายประการซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติ ทั้งการประทับตราปลอม หรือการไม่ตรวจเอกสาร อันเป็นการบรรยายในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงไม่ขัดแย้งกันฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีความรู้ความชำนาญในวิธีการจดทะเบียนและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่วางไว้โดยเคร่งครัดตามขั้นตอน ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงนามในสารบัญจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1ได้พบข้อพิรุธในเรื่องความสามารถ และในเรื่องอายุของผู้ขายก่อนแล้วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถนำฉบับที่ราชการรับรองถูกต้องมาตรวจสอบดูได้ นอกจากนี้เมื่อพบข้อพิรุธตั้งแต่เบื้องต้น การตรวจสอบเอกสารย่อมจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ละเอียดรอบคอบตามอำนาจหน้าที่ก็สามารถตรวจพบว่า โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบกับโฉนดที่แท้จริงเสียก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่ามีการเสนอขายที่ดินพิพาท โจทก์พอใจแต่ไม่เชื่อใจในความถูกต้องจึงไม่ทำสัญญาวางมัดจำไว้ก่อน แต่ตกลงนัดทำการโอนทีเดียว อันเป็นการเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่โจทก์มีส่วนเป็นความประมาทเลินเล่อที่ไม่ทำการตรวจสอบโฉนดที่ดินที่แท้จริงเสียก่อน เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจะปฏิเสธความรับผิดในเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
เมื่อความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ตามหน้าที่ โดยโจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดด้วยจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดเจ้าพนักงานจดทะเบียน: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบเอกสาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้ กระทำ ขึ้น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ กรม ที่ดินจำเลยที่ 2 จึง มั่นใจ และ เชื่อ โดย สุจริตใจ ว่า การ ซื้อ ขายจะ ต้อง สมบูรณ์ และ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง การ ซื้อ ขายครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้มี อำนาจ ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน การ ซื้อ ขายเสร็จแล้ว มอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จึง ทราบ ว่า โฉนด ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ทั้งแปด เป็น ของปลอม และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไม่ได้ ขายที่ดิน ของตน แต่ประการใด การปลอม บัตร ประจำตัว ประชาชน สำเนา ทะเบียน บ้าน และ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน โดย โจทก์ไม่ทราบ มา ก่อน จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือมิฉะนั้น ได้ กระทำ การ ใน หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ โดย มิได้ตรวจสอบ หลักฐาน และ โฉนด ที่ดิน หาก มี การ ตรวจสอบ หลักฐานของ ทาง ราชการ ที่มี อยู่ โดย เฉพาะ โฉนด ที่ดิน ก็ ทราบ ได้ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ที่นำ มา จดทะเบียน เป็น เอกสาร ปลอมการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ เป็นผู้แทน ของ จำเลยที่ 2 เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดย มิชอบ หรือ เป็นการ ประมาท เลินเล่อ อย่าง ร้ายแรง ทำให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงินเท่ากับ ค่าที่ดิน ที่ โจทก์ ทั้งแปด เสียไป อัน เป็น ความ เสียหาย จากผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ตรง นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 มี อำนาจ หน้าที่ อย่างไร และได้ ปฏิบัติ หน้าที่ อย่างไร ซึ่ง การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น แสดงว่า จำเลย ที่ 1 กับ พวก ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ มิฉะนั้น ก็ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย และ ได้ บรรยาย ฟ้อง ถึง การ กระทำ หลาย ประการ ซึ่งจำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปฏิบัติ ทั้ง การ ประทับ ตรา ปลอม หรือ การ ไม่ ตรวจเอกสาร อัน เป็น การ บรรยาย ใน รายละเอียด การ ปฏิบัติ จึง ไม่ ขัดแย้ง กันฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และคำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้อ อ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อ หา เช่น ว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบ คลุม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าพนักงาน จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม มีความรู้ ความชำนาญ ใน วิธีการ จดทะเบียน และ ตรวจสอบ เอกสาร ต่าง ๆที่ เกี่ยว ข้อง เป็น พิเศษ ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อ กำหนด และระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎกระทรวง ที่ วาง ไว้ โดย เคร่งครัด ตาม ขั้น ตอนก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ลง นาม ใน สารบัญ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ขั้นตอน สุดท้าย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ ข้อ พิรุธ ใน เรื่อง ความ สามารถ และ ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้ขาย ก่อน แล้ว อย่างเห็น ได้ชัดซึ่ง สามารถ นำ ฉบับ ที่ ราชการ รับรอง ถูกต้อง มา ตรวจสอบ ดู ได้ นอกจาก นี้ เมื่อ พบ ข้อ พิรุธ ตั้งแต่ เบื้องต้น การ ตรวจสอบ เอกสาร ย่อมจะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้น หาก จำเลย ที่ 1 ใช้ความ ระมัดระวัง และ พินิจ พิเคราะห์ ให้ ละเอียด รอบคอบ ตาม อำนาจ หน้าที่ก็ สามารถ ตรวจ พบ ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ เอกสาร ที่ ถูก ต้อง แท้ จริง ดังนี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุท ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ซึ่ง เป็น ผลโดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ โจทก์ ไม่ ตรวจ สอบ กับ โฉนด ที่ แท้ จริง เสีย ก่อน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า มี การ เสนอ ขาย ที่ดิน พิพาท โจทก์ พอใจ แต่ ไม่เชื่อ ใจ ในความ ถูกต้อง จึง ไม่ ทำ สัญญา วาง มัด จำ ไว้ ก่อน แต่ ตกลง นัดทำ การ โอนที เดียว อัน เป็น การ เชื่อมั่น ต่อ การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จึง มิใช่ โจทก์มี ส่วน เป็น ความประมาท เลินเล่อ ที่ ไม่ ทำการ ตรวจสอบ โฉนด ที่ดิน ที่แท้ จริงเสีย ก่อน เพราะ ต้อง มี การ ตรวจสอบ โดย เจ้าพนังาน อยู่ แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้ทำละเมิด จะ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่ เมื่อ ความ เสีย หาย เป็น ผล โดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม หน้าที่ โดย โจทก์ ไม่มีส่วน ต้อง รับผิด ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีหลังทนายโจทก์รับทราบวันนัดแล้ว ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชอบด้วยกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์และทนายจำเลยมาศาลทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้แทนโจทก์ติดธุระจำเป็นไม่อาจมาศาลได้ทนายจำเลยรับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ตามวันว่างตรงกัน และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่ทนายโจทก์รับทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ทนายโจทก์มีส่วนร่วมในการกำหนดโดยชอบแล้ว แต่เมื่อถึงวันนัดโจทก์รวมทั้งทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดจึงเป็นกรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จะยกเอากรณีที่ทนายโจทก์จดวันนัดผิดพลาดและในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์ติดว่าความที่ศาลอื่นขึ้นอ้างนั้นเป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง จึงไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่การเวนคืนที่ดินของรัฐและการฟ้องร้องค่าทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้ว พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก...เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.หรือ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่หน่วยงานรัฐในการเวนคืนที่ดินและสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 เป็นกระทรวง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และนโยบายของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 2เป็นกรมในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนในนามของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวง ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวง การดำเนินการสำรวจเพื่อเวนคืนที่ดินตาม พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ก็เพื่อให้ได้ที่ดินมาสร้างทางหลวง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยทั้งสองตามนโยบายของรัฐ เมื่อเวนคืนแล้วพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ. 2532 มาตรา 4 ให้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตกเป็นของจำเลยที่ 2 เงินค่าทดแทนที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นเงินงบประมาณของจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับจากรัฐ เหตุที่กฎหมายกำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพราะจำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลไม่อาจแสดงเจตนาและกระทำการเองได้ จำเป็นต้องแสดงเจตนาและกระทำโดยอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 การกระทำหรือการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์ จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการของจำเลยทั้งสองนั่นเอง ส่วนที่ต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนค่าทดแทนของอสังหาริมทรัพย์ และคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ค่าทดแทนนั้น เป็นเพียงกลไกของกฎหมายเพื่อกลั่นกรองงานเสนอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พิจารณาสั่งการให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย นอกจากนี้การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนถือว่าเป็นการกระทำในทางปกครองอย่างหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ก็มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา หรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ หาใช่คดีมีข้อพิพาทในทางแพ่งสามัญทั่ว ๆ ไปที่ต้องคำนึงถึงการโต้แย้งสิทธิไม่ เมื่อจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนการเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้นและไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีโดยเห็นว่ายังไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้แม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้ฟ้องผู้ใดก็ย่อมหมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนซึ่งก็คือจำเลยทั้งสองนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นท้องทางน้ำตื้นเขิน ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่่ม ต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่ม ลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่นน้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขิน เพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่งแต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขิน ขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตั้นเขิน น้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะเมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขิน แล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทมิได้งอกริมตลิ่ง แต่เกิดจากการตื้นเขินของลำน้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่มลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่น น้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขินเพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่ง แต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขินขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะ เมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขินแล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอก-ริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 56