คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้ผู้บุกรุกอ้างอาศัยบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องจำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข.โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้านข.อยู่ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้วกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก - การงดสืบพยานเมื่อจำเลยไม่มีประเด็น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้อง จำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข. โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้าน ข.อยู่ ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้หลังโอนสิทธิเรียกร้อง: อายุความและการสละสิทธิ
คำว่า "ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน" ตาม ป.พ.พ.มาตรา 308 นั้นหมายความว่า ข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้อง ถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง ย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น เมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว. คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8372/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเกินกว่ากรณีจำต้องป้องกัน
บุตรจำเลยไปทะเลาะวิวาทและสมัครใจทำร้ายกับฝ่ายผู้ตายโดยจำเลยไม่ทราบ เพียงแต่จำเลยเห็นผู้ตายใช้มีดดาบไล่ฟันบุตรจำเลยมาทางบ้านจำเลยและเห็นผู้ตายเงื้อมีดดาบจะฟันบุตรจำเลยซึ่งล้มอยู่ ย่อมทำให้จำเลยกลัวว่าบุตรของตนจะถูกผู้ตายฟันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทันทีเพื่อช่วยเหลือบุตรของตนให้พ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึงนั้น จึงมีสิทธิกระทำเพื่อป้องกันได้ หากกระทำไปพอสมควรแก่เหตุก็ไม่มีความผิด
จำเลยยิงผู้ตาย 2 นัด โดยนัดแรกถูกที่หน้าอกด้านขวาและนัดที่สองถูกใต้ต้นคอด้านหลัง บาดแผลแรกวิถีกระสุนปืนเข้าทางด้านหน้า ส่วนบาดแผลที่สองวิถีกระสุนปืนเข้าจากด้านหลัง เห็นได้ว่ากระสุนนัดแรกก็หยุดการกระทำของผู้ตายได้แล้วโดยผู้ตายได้หันหลังให้แก่จำเลย การที่จำเลยยิงผู้ตายซ้ำอีกเป็นนัดที่สอง ทั้งที่ผู้ตายหันหลังมายังจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วย มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8258/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาใช้ไฟฟ้าและหน้าที่ชำระค่าบริการ แม้เกิดความผิดพลาดจากผู้ให้บริการ
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงโจทก์และสัญญาว่าจะชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไปตามข้อบังคับจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้จริงเต็มจำนวนแม้การต่อสายไฟฟ้าสลับขั้วผิดพลาดจะเกิดจากการกระทำของพนักงานของโจทก์เองโดยจำเลยมิได้มีส่วนผิดพลาดด้วยก็ตามโจทก์ก็สามารถเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ไปตามความเป็นจริงได้ตามข้อบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแยกจากลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้มีข้อตกลงชำระเงินแทนทันที
จำเลยที่3มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้างคงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้นแม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่าจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้างและไม่ทำให้จำเลยที่1กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่1และที่2รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันไม่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้ตกลงชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้าง คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง และไม่ทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการมอบอำนาจจำนองย่อมรวมถึงการกู้ยืมเงิน หากบริบทสื่อความหมายเช่นนั้น
จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปทำสัญญากับโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยได้มอบอำนาจให้ ล.เป็นผู้มีอำนาจจัดการจำนองที่ดินกับโจทก์จำนวนเงิน70,000 บาท ตาม น.ส.3 เลขที่ 997 แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยก็ตามแต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปจำนองที่ดินแก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท ก็ย่อมมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ล. ไปกู้ยืมเงินโจทก์โดยเอาที่ดินดังกล่าวจำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้นั่นเอง หนังสือมอบอำนาจจึงมีความหมายอยู่ในตัวว่ารวมถึงการมอบอำนาจให้ ล. กู้ยืมเงินโจทก์ด้วย
of 28