พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเงินบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิยังไม่จดทะเบียน
โจทก์เป็นประธานกรรมการและเลขานุการจัดตั้งมูลนิธิ น.พระครู ส.ในฐานะเจ้าอาวาสวัดจำเลยได้ยืมเงินจำนวน 150,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น.ไปจากโจทก์ ดังนี้ แม้มูลนิธิ น.จะยังไม่ได้จดทะเบียนก่อตั้งให้สมบูรณ์ และเงินที่พระครู ส.ขอยืมไปเป็นเงินที่ได้รับบริจาคเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ น. มิใช่เงินของโจทก์ก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ หากมูลนิธิ น.ได้จดทะเบียนก่อตั้งสมบูรณ์ตามกฎหมายโจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งมอบคืนให้แก่มูลนิธิ น. ดังนั้นเมื่อโจทก์ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืน ทั้งได้ทวงถามแล้ว พระครู ส.ไม่ยอมชดใช้ ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ ถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่ได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า"ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าCAPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคลส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัดหรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าบริษัทSEAPACกรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจเพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฎว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยการที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7335/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบริษัทคล้ายเครื่องหมายการค้า: ไม่เป็นการละเมิดหากไม่ทำให้เสียประโยชน์และไม่ใช่การใช้เป็นเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "ซีแพค" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CPAC มิได้ใช้ชื่อซีแพคเป็นนามบุคคลหรือนิติบุคคล ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดชื่อบริษัทซีแพค จำกัด หรือเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า บริษัท SEAPAC กรณีจึงไม่ใช่จำเลยใช้นามเดียวกันกับโจทก์โดยมิได้รับอำนาจ เพราะคำว่าซีแพคไม่ใช่นามของโจทก์ ทั้งชื่อของจำเลยที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แตกต่างจากชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และไม่ปรากฏว่าการใช้นามของจำเลยทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ ประกอบกับจำเลยไม่ได้นำชื่อเครื่องหมายการค้าคำว่าซีแพคไปใช้เป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลย การที่จำเลยนำเอาชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาเป็นชื่อของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่มีเหตุที่จะห้ามจำเลยใช้นามของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระเงินมัดจำล่าช้าและการบอกเลิกสัญญาซื้อขายบ้าน จำเลยมิอาจอ้างเหตุผลทางเศรษฐกิจเพื่อบอกเลิกสัญญาได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดไว้ว่าโจทก์จะต้องชำระเงินมัดจำภายในวันที่ 10 ของทุกเดือนรวม 10 งวด ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ แม้ว่าโจทก์ชำระเงินมัดจำงวดที่ 8 เมื่อวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2533 และชำระเงินมัดจำงวดที่ 9 วันที่ 12 มีนาคม 2533 แต่จำเลยที่ 1 ก็รับไว้ โดยไม่ได้โต้แย้งแต่ประการใด และในงวดที่ 10 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 1 ก็ได้รับจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว เห็นได้ว่าโจทก์ชำระช้าไปเพียงเล็กน้อยและปรากฏว่าวันที่ 10 และ 11 มีนาคม 2533 ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์อีกด้วยการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทักท้วงก็แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามิได้ถือกำหนดระยะเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ นอกจากนี้การบอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้อ้างว่าโจทก์ชำระเงินไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่อ้างเหตุผลในการบอกเลิกสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ประสบกับภาวะขาดทุนเนื่องจากวัสดุก่อสร้างและค่าแรงสูงขึ้น ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวไม่ใช่เหตุที่จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างบ้านให้โจทก์ตามสัญญาถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่ออายุอัตโนมัติหากไม่มีการบอกเลิก & สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่1มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน524,396.24บาทแก่โจทก์ส่วนจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การดังนั้นจำเลยที่2ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยที่1ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12เดือนโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐานให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ6เดือนดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12เดือนแล้วโดยโจทก์และจำเลยที่1มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตามทั้งไม่ปรากฎว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งจึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก6เดือนตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา6เดือนต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การต่ออายุโดยปริยาย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 524,396.24 บาท แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาว่าได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐาน ให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12 เดือนแล้ว โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตาม ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก 6 เดือน ตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา 6 เดือนต่อมา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนด12 เดือน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหากไม่มีการต่ออายุการเบิกเงินเกินบัญชีเป็นหลักฐาน ให้ถือว่าได้มีการตกลงกันให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาต่อไปอีกคราวละ 6 เดือน ดังนั้นเมื่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด12 เดือนแล้ว โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอีกก็ตาม ทั้งไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จึงถือได้ว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวมีการต่ออายุสัญญาไปอีก 6 เดือน ตามที่ได้ตกลงกันไว้โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นระหว่างระยะเวลา 6 เดือนต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัย คชก. ไม่ถึงที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับตามคำวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียว ซึ่งทำให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคหนึ่ง ศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3ที่ 4 ให้การต่อสู้ว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คชก.จังหวัด เท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัย คชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคสองประกอบมาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้ว และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว ซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 3ที่ 4 ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด แต่ คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่าน คชก.ตำบล และเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่า คชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบ เพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล ถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าว ตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 57 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้ง แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดิน: คำวินิจฉัย คชก.ต้องถึงที่สุดก่อนฟ้องบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่3ที่4ขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ทั้งสองไปฝ่ายเดียวซึ่งทำให้จำเลยที่3ที่4ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคหนึ่งศาลจะวินิจฉัยให้คู่ความฝ่ายที่มาศาลจะชนะคดีได้ต่อเมื่อข้ออ้างของคู่ความฝ่ายนั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยอันถึงที่สุดของคชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งจำเลยที่3ที่4ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวจำเลยที่3ที่4ไม่ต้องปฏิบัติตามเพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคชก.จังหวัดเท่ากับต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยคชก.ตำบลยังไม่ถึงที่สุดซึ่งตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคสองประกอบมาตรา56วรรคสองคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่อุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดเช่นนี้จะถึงที่สุดต่อเมื่อคชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วและคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วซึ่งข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสองนำสืบได้หรือไม่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่3ที่4ทำหนังสืออุทธรณ์ต่อคชก.จังหวัดแต่คชก.จังหวัดประชุมแล้วมีมติเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านคชก.ตำบลและเห็นควรพิจารณาอุทธรณ์รายอื่นต่อไปจึงไม่อาจฟังได้ว่าคชก.จังหวัดได้วินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดและแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบเพื่อผู้อุทธรณ์จะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลถ้าไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา57วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบไม่ได้ว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลถึงที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคหนึ่งแม้จำเลยที่3ที่4ไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องโดยชัดแจ้งแต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่3ที่4ย่อมฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในคดีละเมิดจากการยักยอกเงินรายได้แผ่นดิน
กรมทะเบียนการค้าโจทก์ที่ 1 กรมการค้าภายในโจทก์ที่ 2และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โจทก์ที่ 3 ต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2จะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้เก็บเงินค่าธรรมเนียมก็ตาม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น เมื่อเงินตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปนั้นเป็นเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 1 และเงินค่าธรรมเนียมรายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 2 มิใช่เงินค่าธรรมเนียมรายได้ของโจทก์ที่ 3 หรือเงินค่าธรรมเนียมรายได้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ที่โจทก์ที่ 3เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมและดูแลอยู่ โจทก์ที่ 3 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้นหาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่: การระบุความเสียหายและผู้มีสิทธิเรียกร้อง
กรมทะเบียนการค้าโจทก์ที่ 1 กรมการค้าภายในโจทก์ที่ 2และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โจทก์ที่ 3 ต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้เก็บเงินค่าธรรมเนียมก็ตาม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น เมื่อเงินตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปนั้นเป็นเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 1 และเงินค่าธรรมเนียมรายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 2 มิใช่เงินค่าธรรมเนียมรายได้ของโจทก์ที่ 3 หรือเงินค่าธรรมเนียมรายได้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ที่โจทก์ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมและดูแลอยู่ โจทก์ที่ 3 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้น หาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้น หาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์