คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในการเรียกร้องแบ่งมรดก: ห้ามเรียกร้องแทนผู้อื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 และมาตรา 1749 วรรคแรก ให้สิทธิทายาทที่จะฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตามส่วนที่ตนมีสิทธิได้รับและหากไม่ได้ฟ้องคดีเองก็มีสิทธิที่จะร้องสอดเข้าไปรักษาสิทธิของตนได้ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้ให้สิทธิทายาทที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการควบคุมคำถามพยาน และผลของการไม่คัดค้านคำชี้ขาด
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าคำถามใดเป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นมีอำนาจไม่ให้ใช้คำถามนั้น และไม่บันทึกคำพยานปากนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 118 วรรคสาม
การที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ศาลเตือนและออกข้อกำหนดให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามพยานตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด แต่ทนายโจทก์ทั้งสองยังถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอยู่เช่นเดิม จึงถือว่าจบคำถามค้านนั้น ทนายโจทก์ทั้งสองไม่ได้ร้องคัดค้าน หรือให้จดคำถามและข้อคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำถามใดที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดไม่ให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้าน และทนายโจทก์ทั้งสองคัดค้านคำชี้ขาดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 118 วรรคท้าย จึงไม่มีคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่โจทก์ทั้งสองจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาเพื่อให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิถามค้านพยานในศาล: ศาลมีอำนาจจำกัดคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท และโจทก์ต้องคัดค้านหากเห็นว่าไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นจดบันทึกไว้ว่า ทนายโจทก์ถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ศาลเตือนและออกข้อกำหนดให้ทนายโจทก์ถามพยานตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด แต่ทนายโจทก์ยังถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอยู่เช่นเดิม จึงถือว่าจบคำถามดังนี้ เมื่อทนายโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้าน หรือให้จดคำถามและข้อคัดค้านไว้ จึงไม่ปรากฎคำถามใดที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดไม่ให้ทนายโจทก์ถามค้านและทนายโจทก์คัดค้านคำชี้ขาดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 118 วรรคท้าย จึงไม่มีคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่โจทก์จะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาเพื่อให้ยกคำพิพากษาศาลล่างและให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้แพคกิ้งเครดิต: หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญารับชำระหนี้มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ออกให้แก่โจทก์พร้อมกับทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1ขอสินเชื่อเพื่อส่งสินค้าไปขายต่างประเทศกับโจทก์โดยทำสัญญาแพคกิ้งเครดิตนั้นเป็นหนี้ตามสัญญาแพคกิ้ง เครดิตซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6592/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ สิทธิของผู้ซื้อที่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากนาง จ. ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอน การซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้นาง จ.จะสละสิทธิครอบครองก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้สิทธิครอบครอง จำเลยที่ 3 ซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองเช่นเดียวกัน โดยถือหลักว่า ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากนางจ. หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการแก้ไขคำให้การก่อนศาลพิพากษา และการปรับบทลงโทษอาวุธปืนไม่มีทะเบียน
ในคดีอาญา จำเลยย่อมยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยก่อนศาลพิพากษา ศาลมีอำนาจจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร ในตอนแรกจำเลยให้การปฏิเสธหลังจากศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก จำเลยก็ขอเพิกถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ โจทก์จึงแถลงไม่ติดใจสืบพยานที่เหลืออีกต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน แต่ต่อมาจำเลยกลับขอให้การใหม่อีก เป็นรับสารภาพเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องในข้อหามีอาวุธปืนว่า จำเลยได้มีอาวุธปืนสั้นขนาด .38 ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่จำนวน 1 กระบอก ไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังคำรับสารภาพของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่เป็นการแน่นอนว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนนี้ให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรม ไม่เป็นละเมิด แม้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำที่ไม่เหมาะสมของ ส.ส.
หนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ได้ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 3 เขียนคอลัมน์สรุปได้ความว่าซ่าส์มากกว่าแค้น ที่ตั้งรัฐสภาทั่วบริเวณถือว่าเป็นเขตพระราชฐาน ผู้ใดจะพกอาวุธไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ดื่มสุราจนเกือบครองสติไม่อยู่ใช้ฝ่ามือตบหน้าช.วุฒิสมาชิก3ฉาดในข้อหาฐานใช้ปากไม่สบอารมณ์ในการประชุมวุฒิสภาสมัยก่อน ในวันนั้นพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง ช. ได้พูดจาประหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่มีความรู้ความสามารถอะไรอย่างดีก็แค่หมาน้อยเห่าเครื่องบิน เมื่อคดีฟังได้ว่าโจทก์ได้ตบหน้าช. จริงโดยได้กระทำในเขตพระราชฐานและโจทก์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือได้ว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยไม่น่าจะก่อเหตุเช่นนั้น การที่จำเลยที่ 3 เขียนข้อความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยาเสพติด: หลักการ ‘ประโยชน์แห่งความสงสัย’ ทำให้จำเลยพ้นผิดและของกลางไม่ถูกริบ
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังขัดแย้งแตกต่างกันอยู่และยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง
of 28