คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดทางอาญา: หลักการให้ประโยชน์แห่งความสงสัยแก่จำเลยเมื่อพยานหลักฐานขัดแย้ง
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังขัดแย้งแตกต่างกันอยู่และยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5840/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินในเขตจัดรูปที่ดินไม่เป็นโมฆะ หากมีการยื่นขออนุญาตตามขั้นตอนกฎหมาย
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ซึ่งภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันมีประกาศของรัฐมนตรีห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินในเขตดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดเสียก่อนจึงจะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและในวันเดียวกันนั้นจำเลยก็ยื่นคำขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ เช่นนี้มิใช่โจทก์จำเลยกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายเพราะขณะนั้นยังไม่มีผลที่จะก่อให้เกิดการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้ แต่เป็นการกระทำตามขั้นตอนของกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ มีผลบังคับได้ ต่อมาเมื่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด มีมติอนุญาตให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ แม้ขณะมีมติอนุญาตจะเกินกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายก็มิใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าเกินกำหนดระยะเวลา 2 เดือนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองที่ดินเกิน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง
กำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองไม่ถือว่าเป็นอายุความ ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช้อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาปีหนึ่งแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีแล้วจึงหมดสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5526/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาฟ้องแย่งการครอบครองไม่ใช่ อายุความ การดำเนินคดีอาญาไม่สะดุดอายุความฟ้องแพ่ง
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง แม้จะได้กำหนดว่าต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองก็ไม่ถือว่าเป็นอายุความฟ้องร้อง ดังนั้นแม้จะได้มีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยฐานบุกรุก ก็จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่อายุความ สิทธิที่โจทก์จะฟ้องดำเนินคดีแพ่งหาได้สะดุดหยุดลงไม่โจทก์ต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทตามบทบัญญัติดังกล่าวภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลเสียค่าขึ้นศาลฎีกา ทำให้การฟ้องคดีถูกทิ้งฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดกเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล แม้คดีมีทุนทรัพย์ ศาลสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แล้วถอนชื่อจำเลยจากโฉนดที่ดินและให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินคืนโจทก์หรือกองมรดก เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ถูกต้องแต่โจทก์ไม่ยอมเสียภายในเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นสอบสวนที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ แต่การสอบสวนไม่ชอบ
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิในการฟ้อง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส.เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ส.ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ส.คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทำได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้อง ส.ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส.ผู้ที่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส.ให้รับผิดนั้นจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 291 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายจากการละเมิด โจทก์มีสิทธิเลือกฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างก็ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ที่ได้บัญญัติบังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายนั้น เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้ โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้ชอบจะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ส. ผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือส. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวก็ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 426 นั้น ก็ชอบที่จะกระทำได้อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้อง ส. ให้รับผิดเสียชั้นหนึ่งก่อนดังนี้ การที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ผู้ที่ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง แต่กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายจ้างของ ส. ให้รับผิดนั้น จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 แล้ว
of 28