คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตของเจ้าของรวม ไม่เป็นการทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต ไม่เป็นละเมิด แม้จะมีการฟ้องขับไล่และชนะคดี
จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนบ้านพิพาทและขนย้ายออกไปจากที่ดินส่วนที่โจทก์ขายฝากให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิทางศาลและได้กระทำโดยสุจริตซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินโฉนด – มาตรา 1299 วรรคสอง – การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่าแม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้นไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏนิติกรรม การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นสิทธิ
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่า แม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรมที่เป็นที่หลวงหวงห้าม
โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้นสามารถซื้อขายและโอนกันได้ โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่หลวงซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ แต่ความจริงโอนกันไม่ได้ เพราะมีกฎหมายห้ามโอนไว้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิม (มาตรา 156ที่แก้ไขใหม่) คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยที่ 1ต้องคืนเงินค่าซื้อที่ดินให้โจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทและขาดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การโอนสิทธิและการครอบครองทำประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสอง ก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & เกินกำหนดฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่ดินพิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่ดินแปลงดังกล่าวได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้ว จากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เข้ารบกวนการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นการเข้าแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเวลา 4 ปี9 เดือนเศษ โจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทและขัดขวางจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ดังนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของใคร ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบและการบังคับตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อ้างอายุความได้
จำเลยปลูกสร้างอาคารเกินไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้แก้ไขเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอต่อศาลให้บังคับจำเลยได้ การใช้อำนาจดังกล่าวมิใช่การใช้สิทธิเรียกร้อง จึงมิอาจอ้างอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(มาตรา 164 เดิม)มาใช้กับกรณีนี้ได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอให้บังคับให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารยังฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ ปัญหาที่ว่าจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอกแล้วจึงไม่อาจบังคับจำเลยตามฟ้องได้นั้นจำเลยมิได้ตั้งประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นอื่นมีอำนาจร้องทุกข์ ทำให้คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน3 เดือนนับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
of 28