พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6385/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยสุจริตและการถอนผู้จัดการมรดก ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุสมควร
การที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไปและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1731ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่เมื่อจำเลยที่1จัดการมรดกโดยสุจริตและได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างแล้วและเตรียมที่จะแบ่งต่อไปโดยไม่ได้ปิดบังมรดกแต่อย่างใดจึงยังไม่สมควรจะถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องมีผู้ร้องขอ และการผูกพันหนี้จากการขายทอดตลาด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสองระบุให้อำนาจเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะเพิกถอนการบังคับคดีได้เองโดยไม่มีผู้ใดร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6352/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยปราศจากอำนาจและเจตนาที่แท้จริง ถือเป็นเอกสารปลอม สิทธิยังเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 จำนวนหนึ่ง จึงมอบ น.ส.3ของที่ดินพิพาทและลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1ยึดถือไว้ แต่ก็ได้แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดขายที่ดินพิพาท การที่มีการกรอกข้อความในหนังสือ มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3จึงเป็นการกรอกข้อความโดยปราศจากอำนาจและเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายมิได้เกิดขึ้น สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ยังเป็นของโจทก์ประกอบกับสามีจำเลยที่ 1 เป็นพี่เขย ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เป็นสามีของจำเลยที่ 3 ย่อม รู้ว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ขายที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้ของทายาท: สัญญาผูกพันเฉพาะในฐานะทายาท ไม่เกินทรัพย์มรดก
ป. เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยทั้งสองทำหนังสือเพื่อชำระหนี้แทน ป. ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 และเป็นบิดาจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นหนี้โจทก์ โดยระบุว่า ขณะทำสัญญาฉบับนี้ ป.ยังคงเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนเงิน 2,720,000 บาทจำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้หนี้จำนวนดังกล่าวโดยจะชำระเป็นงวดเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ป. ทำขึ้นเพื่อยอมรับสภาพหนี้ของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้มูลหนี้เดิมระหว่างโจทก์กับ ป. ระงับลงเพราะ ป. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีการจัดทำหนังสือดังกล่าวแล้วและข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ยอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทผู้ตายมิใช่รับผิดเป็นส่วนตัวและเป็นสัญญาที่มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่คงรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสองจะได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชำระหนี้สัญญาข้าราชการทุน, การนำเวลาทำงานชดใช้หนี้มาหักหนี้รายที่ตกหนักที่สุด
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา5ปี10เดือน24วันคิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน160,089.99บาทและต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศเป็นเวลา1ปี6เดือน2วันคิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน556,199.90บาทซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญแม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตามแต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการจำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้นดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรมณต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3ปี1เดือน24วันไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน1ปี6เดือน2วันก่อนซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก1ปี7เดือน22วันและถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศครบตามสัญญาแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการชดใช้หนี้สัญญาข้าราชการศึกษาต่อ: พิจารณาจากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้เป็นหลัก
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน 24 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 160,089.99 บาท และต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน 2 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 556,199.90 บาท ซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญ แม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตาม แต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3 ปี 1 เดือน 24 วัน ไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน 1 ปี6 เดือน 2 วัน ก่อน ซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก 1 ปี 7 เดือน22 วัน และถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณ ต่างประเทศครบตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดบัญชีค่าหนังสือและการโต้แย้งรายการบัญชีที่ไม่ชัดเจน จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่างๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลยโจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่18พฤษภาคม2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฏิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้นจำเลยให้การลอยๆเพียงว่าไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใดที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้องทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม2527ถึงวันที่14พฤษภาคม2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้วซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่ายแต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออกคำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การไม่ชัดเจนในคดีแพ่ง จำเลยต้องแสดงรายละเอียดข้อต่อสู้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือชนิดต่าง ๆให้แก่ผู้พิมพ์หนังสือที่ไม่สามารถจัดส่งหนังสือไปจำหน่ายเองได้ และโจทก์เป็นผู้แทนจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยโดยโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินค่าหนังสือที่ขอให้โจทก์จัดจำหน่ายไปก่อนล่วงหน้าบางส่วนได้ แล้วจึงนำมาหักกลบลบกับจำนวนเงินที่ได้จากการขายหนังสือของจำเลย โจทก์คิดบัญชีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2530แล้วยังมีเงินที่จำเลยเบิกจากโจทก์ไปล่วงหน้าซึ่งต้องคืนโจทก์อยู่จำนวนหนึ่งคำให้การของจำเลยที่ให้การปฎิเสธในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ว่าไม่ถูกต้องนั้น จำเลยให้การลอย ๆ เพียงว่า ไม่ถูกต้องเพราะโจทก์รวมเอาหนังสือบางเล่มที่เกิดการชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์เข้าด้วยและถือว่าเป็นหนังสือที่คืนแก่จำเลยแล้วโดยมิได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าหนังสือรายการใดที่ชำรุดฉีกขาดหรือเปียกน้ำและมีเป็นจำนวนเท่าใดคิดเป็นเงินเท่าใด ที่จะต้องหักออกจากรายการในช่องมูลค่าหนังสือที่รับคืนไปตามเอกสารท้ายฟ้อง ทั้งที่โจทก์ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับรายการจัดจำหน่ายหนังสือให้แก่จำเลยในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2527 ถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530มาอย่างละเอียดในเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยสามารถให้การโต้แย้งรายการเหล่านั้นแต่ละรายการว่าไม่ถูกต้องอย่างไรได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับให้การเพียงว่ามีรายการหนังสือเปียกน้ำที่ต้องหักออก คำให้การจำเลยในเรื่องหนังสือที่เปียกน้ำจึงไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้านำสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและกรรมสิทธิ์ที่ตกเป็นของผู้ให้เช่า
โจทก์เช่าอาคารเฉพาะชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 6 จากจำเลยในอัตราค่าเช่าเดือนละ 200,000 บาท ต่อมาโจทก์ได้ปรับปรุงอาคารที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นห้องพักและสำนักงาน สิ้นค่าใช้จ่ายไป 6,000,000 บาทและจะต้องชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกเดือนละ 200,000 บาท ทั้งตามข้อสัญญาระบุว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่า ถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้ว ผู้เช่าจะรื้อถอนไปไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า การปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้น ต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น ในการลงทุนปรับปรุงอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า บ่งชี้ระยะเวลา 6 ปี
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาเช่าอาคารจากจำเลยตกลงเช่ามีกำหนด6ปีแบ่งออกเป็น2ช่วงช่วงละ3ปีค่าเช่า3ปีแรกเดือนละ200,000บาทส่วน3ปีหลังเพิ่มค่าเช่าอีกร้อยละ15โจทก์ทั้งสามจึงดัดแปลงตกแต่งอาคารสิ้นค่าใช้จ่ายไปประมาณ6,000,000บาทและตามข้อสัญญาข้อ4ว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่าถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้วผู้เช่าจะรื้อถอนไปไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าการปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นในการลงทุนปรับปรุงจากอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและมีกำหนด6ปี