คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิวัตน์ แก้วเกิดเคน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อรู้เหตุละเมิดและตัวผู้กระทำ
จำเลยที่1ถึงที่6และป. เจ้ามรดกของจำเลยที่7ได้ร่วมกันขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาโดยอาศัยคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินให้แก่ด. ผู้จะซื้อเมื่อวันที่19ธันวาคม2532แสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้นมาโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่11พฤษภาคม2535เกินกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์จะอ้างว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันฟ้องหาได้ไม่ ที่โจทก์อ้างว่าเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งเจ็ดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา263ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความไว้จึงต้องบังคับตามอายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์โดยชอบต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก ทายาทมีสิทธิเท่าเทียม การครอบครองแทนทายาท และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 มุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้นดังนั้นเมื่อขณะที่ ล. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก คือ โจทก์ จ. และ ม. เพียง 3 คนซึ่ง จ. ได้ถึงแก่ความตายภายหลัง ล. จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรจ. แม้ว่าจะมีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ล. ก็เพียงแต่ในฐานะผู้สืบสิทธิของ จ. คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทที่ได้กระทำการตามฟ้องอันจะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกของ ล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการแบ่งมรดก: สิทธิทายาทและการคำนวณส่วนแบ่ง
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ที่ 1 และรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วย ดังนี้จำเลยทั้งสองจะยกอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่ 2 จ.และ ม.เพียง 3 คน จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ.เป็นเพียงผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น(จ.ตายหลัง ล.) ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล.
ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ 144 1/3ตารางวา โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน 166 1/2 ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, บันทึกข้อตกลง, การครอบครองแทนทายาท, และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
โจทก์ที่1ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทตามบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกแม้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าทำบันทึกข้อตกลงไปโดยสำคัญผิดและได้บอกล้างแล้วแต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ถือว่าจำเลยทั้งสองสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วและแม้โจทก์ที่1จะบรรยายฟ้องตอนต้นว่าเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้อื่นก็เป็นเพียงความเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนไปโจทก์ที่1จึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่พิพาทตามบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกได้เมื่อจำเลยทั้งสองรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยทั้งสองก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา1605หมายถึงเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้นจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้มีสิทธิของทายาทของเจ้ามรดกจึงไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, อายุความ และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ที่1และรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยดังนี้จำเลยทั้งสองจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่2จ. และ ม. เพียง3คนจำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ. เป็นเพียง ผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ. เท่านั้น(จ.ตามหลัง ล.)ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล. ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ1441/3ตารางวาโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน1661/2ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่2จะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมูลละเมิด: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลของการฟ้องเกินกำหนด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาและมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้น ก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ คดีนี้โจทก์ไม่ได้เรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาแก่จำเลย แต่เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดเท่านั้น จึงมีอายุความเพียง 1 ปี
โจทก์ตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงและสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทางแพ่ง คณะกรรมการสืบสวนได้รายงานผลการสืบสวนแก่อธิการบดีในฐานะผู้แทนโจทก์ ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 อธิการบดีผู้แทนโจทก์ทราบแล้วได้นำไปศึกษา และสั่งให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวสอบสวนเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้นำเสนอโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ต่อมาผู้แทนโจทก์ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่กับพวกตามที่คณะกรรมการเสนอไว้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 หรืออย่างช้าที่สุดวันที่ 23 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการเสนอรายงานครั้งสุดท้าย อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว แม้โจทก์จะยังไม่ได้สั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็หาเป็นสาระสำคัญไม่ เพราะการสั่งให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเป็นเรื่องภายในของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะยกมาอ้างเป็นข้อยกเว้นในเรื่องอายุความได้ เมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนถึงวันที่ 22 กันยายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2816/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายข้ามเขตศาลและการแจ้งผลการส่งหมายต่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน15วันหากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตศาลชั้นต้นศาลชั้นต้นจึงมีหนังสือแจ้งให้ศาลที่จำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตสั่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแทนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายข้ามเขตดังกล่าวจึงเป็นการแสดงว่าโจทก์มิได้เป็นผู้นำส่งแต่เป็นการส่งหมายข้ามเขตศาลซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่มีทางทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าวการที่โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ได้ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)และจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้และการชำระหนี้แทน - สิทธิเรียกร้องเงินคืน
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงินทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้วจำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้นเป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลยและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฎอย่างใดแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมายไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงินเพื่อประกันหนี้ & การชำระหนี้แทน การปรับบทกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิเรียกร้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงินทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามฟ้องแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้วจำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้นเป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลยและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมายไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและการไล่เบี้ย แม้ฐานะฟ้องผิด ศาลปรับบทกฎหมายได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่จำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริง อันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง
เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 แต่ประการใด
of 28