พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะของสัญญาซื้อขายเวลาออกอากาศวิทยุ และอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อเวลาออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงและจำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์โดยจำเลยตกลงซื้อเวลาออกอากาศที่สถานีวิทยุกระจายเสียงดังกล่าวก็ตามแต่การตกลงเช่นนั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์เพราะไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคงเป็นเพียงสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงในสถานีวิทยุกระจายเสียงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันเท่านั้นกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา456วรรคสองและวรรคสามแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การที่โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดมาแสดงไม่มีการวางประจำหรือไม่ได้ชำระหนี้บางส่วนไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจรอการลงโทษคดีขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินเกณฑ์ ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์
พฤติการณ์การกระทำของจำเลยไม่ร้ายแรงนักประกอบกับจำเลยไม่เคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อนเห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีจึงให้รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166-168/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคำแก้ฎีกาของจำเลยไม่ชัดแจ้งถึงข้อเคลือบคลุมของฎีกาโจทก์
จำเลยที่3แก้ฎีกาว่าฎีกาโจทก์ข้อ2และข้อ3เป็นฎีกาที่ไม่แสดงแจ้งชัดแห่งข้อหาเป็นฎีกาเคลือบคลุมศาลฎีกาไม่สมควรวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เห็นว่าคำแก้ฎีกาของจำเลยที่3มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำแก้ฎีกาว่าฎีกาของโจทก์ดังกล่าวเคลือบคลุมส่วนใดอย่างไรจึงเป็นคำแก้ฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามคำแก้ฎีกาของจำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง,246,247ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย แม้จะมีการกำหนดให้ชำระเงินเป็นงวด ๆ รวม 4 งวด โดยกำหนดวันชำระเงินแต่ละงวดไว้แน่นอนก็ตาม แต่สัญญาก็มีข้อความระบุว่าถ้าโจทก์จ่ายเงินในแต่ละงวดไม่ทันตามกำหนด โจทก์ยินยอมเสียดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารให้จำเลยทั้งสอง และโจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 หากโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินไม่เสร็จภายในกำหนดดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา แสดงว่า ในการชำระเงินตามงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3คู่สัญญามิได้ถือเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องชำระเงินแต่ละงวดให้จำเลยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยคู่สัญญายอมให้โจทก์ชำระเงินแต่ละงวดล่าช้ากว่ากำหนดได้ เพียงแต่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้จำเลยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร คงมีแต่เฉพาะงวดที่ 4 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายเท่านั้นที่โจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองเนื่องจากการชำระเงินไม่ตรงตามงวด โดยโจทก์ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31ธันวาคม 2532 มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ดังนั้น การที่โจทก์มิได้ชำระเงินในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 3 ตามกำหนดเวลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่ และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกำหนดระยะเวลาขึ้นมาใหม่ แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินภายในระยะเวลานั้น โดยแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา อันจะเป็นผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ได้ เพราะหนังสือสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระไว้แน่นอนตายตัวแล้ว คือ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือทวงถามโจทก์ให้ชำระเงินในงวดที่ 1 โดยกำหนดเวลาให้ชำระภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2532 และโจทก์ได้รับหนังสือทวงถามของจำเลยทั้งสองแล้ว แต่โจทก์ไม่ชำระเงินให้จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เช่นนั้น การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ จึงหาเป็นผลให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกันไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังคงมีผลผูกพันต่อกันอยู่ แต่การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลา ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายอีกต่อไป ดังนั้น กำหนดเวลาตามสัญญาที่ให้จำเลยทั้งสองไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2532 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นเสียแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 154วรรคสอง เดิม เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ธันวาคม 2532 แจ้งให้จำเลยทั้งสองไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานที่ดินในวันที่ 15 ธันวาคม 2532 จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือของโจทก์แล้ว ไม่ไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2532 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญาของจำเลยและสิทธิของโจทก์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยแม้จะมีการกำหนดให้ชำระเงินเป็นงวดๆรวม4งวดโดยกำหนดวันชำระเงินแต่ละงวดไว้แน่นอนก็ตามแต่สัญญาก็มีข้อความระบุว่าถ้าโจทก์จ่ายเงินในแต่ละงวดไม่ทันตามกำหนดโจทก์ยินยอมเสียดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารให้จำเลยทั้งสองและโจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้เสร็จสิ้นภายในวันที่31ธันวาคม2532หากโจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินไม่เสร็จภายในกำหนดดังกล่าวให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาแสดงว่าในการชำระเงินตามงวดที่1ถึงงวดที่3คู่สัญญามิได้ถือเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องชำระเงินแต่ละงวดให้จำเลยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาโดยคู่สัญญายอมให้โจทก์ชำระเงินแต่ละงวดลาช้ากว่ากำหนดได้เพียงแต่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้จำเลยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารคงมีแต่เฉพาะงวดที่4ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายเท่านั้นที่โจทก์จะต้องชำระเงินค่าซื้อที่ดินทั้งหมดตามสัญญาพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสองเนื่องจากการชำระเงินไม่ตรงตามงวดโดยโจทก์ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่31ธันวาคม2532มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ผิดสัญญาดังนั้นการที่โจทก์มิได้ชำระเงินในงวดที่1ถึงงวดที่3ตามกำหนดเวลาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่และจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกำหนดระยะเวลาขึ้นมาใหม่แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินภายในระยะเวลานั้นโดยแจ้งว่าหากโจทก์ไม่ชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาอันจะเป็นผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387ได้เพราะหนังสือสัญญาจะซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ทั้งหมดที่ค้างชำระไว้แน่นอนตายตัวแล้วคือในวันที่31ธันวาคม2532การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือทวงถามโจทก์ให้ชำระเงินในงวดที่1โดยกำหนดเวลาให้ชำระภายในวันที่23มิถุนายน2532และโจทก์ได้รับหนังสือทวงถามของจำเลยทั้งสองแล้วแต่โจทก์ไม่ชำระเงินให้จำเลยทั้งสองภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เช่นนั้นการที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือลงวันที่31กรกฎาคม2532บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จึงหาเป็นผลให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นอันเลิกกันไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังคงมีผลผูกพันต่อกันอยู่แต่การที่จำเลยทั้งสองมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนไขเวลาตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายอีกต่อไปดังนั้นกำหนดเวลาตามสัญญาที่ให้จำเลยทั้งสองไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่31ธันวาคม2532จึงถือว่าจำเลยทั้งสองได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นเสียแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา154วรรคสองเดิมเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่4ธันวาคม2532แจ้งให้จำเลยทั้งสองไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่โจทก์ณสำนักงานที่ดินในวันที่15ธันวาคม2532จำเลยทั้งสองได้รับหนังสือของโจทก์แล้วไม่ไปรับเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่วันที่15ธันวาคม2532เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฎิบัติตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างกันการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์โดยไม่กำหนดให้โจทก์ชำระราคาที่ดินที่ค้างแก่จำเลยทั้งสองนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระราคาที่ดินส่วนที่ค้างชำระแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า"วัตถุตำรับ"หมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้นอกจากนั้นในมาตรา59ยังได้บัญญัติว่า"ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย"จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้นนอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้วยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย ในระหว่างพิจารณารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับ เมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลางน้ำหนักรวม105.10กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีกปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา89ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิด พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และผลของประกาศกระทรวงสาธารณสุขต่อการกำหนดปริมาณวัตถุออกฤทธิ์
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า "วัตถุตำรับ" หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้ นอกจากนั้นในมาตรา 59ยังได้บัญญัติว่า "ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย" จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้น นอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้ว ยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย
ในระหว่างพิจารณา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2536) ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลาง น้ำหนักรวม105.10 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิวรรคหนึ่ง, 89 เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามมาตรา 89 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 106 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 89 ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้
ในระหว่างพิจารณา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2536) ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลาง น้ำหนักรวม105.10 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิวรรคหนึ่ง, 89 เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามมาตรา 89 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 106 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 89 ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทขับรถ ชนกัน เสียชีวิต ศาลลดโทษ พิจารณาชดใช้ค่าเสียหายและประวัติผู้กระทำผิด
จ่าสิบตำรวจ ส. ขับรถจักรยานยนต์ออกจากซอยแล้วเลี้ยวขวาตัดหน้ารถคันที่จำเลยขับจำเลยหักหลบแล้วแตะเบรกแต่ก็ยังชนกันและรถจำเลยเสียหลักแล่นขึ้นไปบนสะพานลอยแล้วชนรถยนต์สามล้อสาธารณะที่แล่นสวนทางมาแล้วไปชนราวสะพานไปพลิกคว่ำอยู่ถนนฝั่งตรงข้ามเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายเมื่อจุดชนถึงที่รถพลิกคว่ำเป็นระยะทางประมาณ40ถึง50เมตรแสดงว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วทั้งที่รู้ว่าฝนตกและถนนลื่นซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังโดยลดความเร็วลงได้แต่จำเลยหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ถือว่าจำเลยขับรถโดยประมาทแต่เมื่อจ่าสิบตำรวจ ส. มีส่วนประมาทอยู่ด้วยประกอบกับจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจแล้วและจำเลยไม่เคยได้รับ โทษจำคุกมาก่อนสมควรวางโทษใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ต้องสงบเปิดเผยและต่อเนื่อง โต้แย้งสิทธิเจ้าของเดิมไม่ได้
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง