พบผลลัพธ์ทั้งหมด 280 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเนื่องจากโจทก์ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามรถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในการทำสัญญาค้ำประกันและใช้ดุลพินิจไม่ปรับตามสัญญา
ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองโจทก์เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจทำสัญญากับบุคคลทั่วไปที่จะค้ำประกันคนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้ และถ้าผู้ค้ำประกันผิดสัญญาก็มีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิดชอบตามสัญญาได้โดยไม่ต้องไปขอความเห็นชอบจากผู้ใดอีก ในกรณีกลับกันหากเห็นว่าผู้ค้ำประกันไม่ผิดสัญญาประกันหรือมีเหตุไม่สมควรปรับ ผู้ค้ำประกันก็มีอำนาจกระทำได้โดยชอบ ดังนั้น การที่โจทก์วินิจฉัยว่าคนต่างด้าวที่จำเลยค้ำประกันอยู่เกินกำหนดไป 2 วัน เนื่องจากป่วยและได้เดินทางออกไปหลังจากหายป่วยแล้วไม่มีเจตนาฝ่าฝืนและไม่เกิดความเสียหายแก่ราชการจึงมีคำสั่งไม่ปรับจำเลยตามสัญญาประกัน และเก็บรวมเรื่องไว้แล้วเป็นการที่โจทก์ได้ใช้ดุลพินิจสั่งตามอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 340 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมข้อจำกัดการโอน สัญญาซื้อขายและจำนองเป็นโมฆะ เจ้าของเดิมมีสิทธิ
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส.โดยทำสัญญาซื้อขายกันเอง ต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปีในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส.และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส.ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนอง การที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้ โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนอง สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส.จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท และโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินติดข้อจำกัดการโอน สัญญาซื้อขายและจำนองตกเป็นโมฆะ เจ้าของเดิมยังมีสิทธิ
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน10ปีในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขายแต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา10ปีผู้ร้องและส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะแต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วยผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใดๆในที่พิพาทและแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิมจำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขาย, สัญญาจำนองโมฆะ, สิทธิครอบครอง, ที่ดินมีข้อจำกัดการโอน
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี ในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยก.ม. ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งให้ทายาท แม้มีการโอนทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาท โจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน ในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน โดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า แม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดก ก.ผู้ตาย และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับโอนยังไม่ถือเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองเป็นเวลานาน
ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่1ถึงที่3ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วนโดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่าแม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลงที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกก.ผู้ตายและยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว ผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกของก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าเมื่อวันที่11สิงหาคม2518ต่อมาเมื่อวันที่14ตุลาคม2524โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกกรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนจะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่าในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่1ถึงที่3ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้ร้องที่4ที่5เป็นจำเลยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เดิมโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับโจทก์ แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่โอนที่ดินและอาคารให้โจทก์ จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามสัญญา ซึ่งมูลคดีที่โจทก์ฟ้องสืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยผิดสัญญา ส่วนจำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารของจำเลยโดยไม่มีสิทธิ ซึ่งมูลคดีที่จำเลยฟ้องแย้งสืบเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของจำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ปัญหาฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่นั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม เป็นปัญหาอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
เดิมโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับโจทก์แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่โอนที่ดินและอาคารให้โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งมูลคดีที่โจทก์ฟ้องสืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยผิดสัญญาส่วนจำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารของจำเลยโดยไม่มีสิทธิซึ่งมูลคดีที่จำเลยฟ้องแย้งสืบเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมปัญหาฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้