คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 208 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ส่วนได้เสียของรัฐในการระหว่างประเทศเป็นสาระสำคัญก่อนพิพากษาคดีปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือเดินทางของรัฐบาลโปรตุเกสอันเป็นเอกสารเกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐในการระหว่างประเทศ โจทก์สืบพยานได้ 2 ปาก ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยกระทำต่อเอกสารของรัฐบาลโปรตุเกส ไม่ใช่ของรัฐบาลไทย ไม่เกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐบาลไทยโดยตรง พิพากษายกฟ้องโจทก์ เอกสารตามฟ้องรัฐบาลไทยจะมีส่วนได้เสียในการระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ยังมิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นสั่งงดเสียก่อน จึงมิชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้มาก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเดิมตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย หากไม่ปฏิบัติตามฎีกายกคำพิพากษาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่ จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มุ่งเน้นการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย มิได้อุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาแต่ประการใด ฉะนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงใหม่ โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์เลยนั้นจึงมิชอบและแม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้มาก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างได้โดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีป้าย: การพิจารณาประเภทป้าย (มีขอบเขต/ไม่มีขอบเขต) และอำนาจประเมินภาษีป้ายย้อนหลัง
ในคดีอาญาเรื่องบุกรุก เพียงแต่จำเลยต่อสู้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา ถึงแม้เป็นที่ดินมือเปล่า จะถือว่าเป็นเรื่องพิพาทกันในทางแพ่งไม่มีมูลความผิดทางอาญาเสียเลยทีเดียวไม่ได้ ศาลจะต้องพิจารณาจากพยานโจทก์และพยานจำเลยเสียก่อนว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังได้หรือไม่ว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย เมื่อยังไม่ได้วินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเรื่องบุกรุกที่ดิน: ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ก่อนตัดสินว่ามีมูลความผิดอาญาหรือไม่
ในคดีอาญาเรื่องบุกรุก เพียงแต่จำเลยต่อสู้อ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยครอบครองแต่ผู้เดียวตลอดมา ถึงแม้เป็นที่ดินมือเปล่า จะถือว่าเป็นเรื่องพิพาทกันในทางแพ่งไม่มีมูลความผิดทางอาญาเสียเลยทีเดียวไม่ได้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานโจทก์และพยานจำเลยเสียก่อนว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะฟังได้หรือไม่ว่า ที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย เมื่อยังไม่ได้วินิจฉัยจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทในการขับรถแซง ทำให้เกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บแก่ผู้อื่น ศาลพิจารณาความรับผิดทางอาญา
การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมและบุคคลอื่นนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาตามลำพังได้
ปัญหาที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นไปทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกหินซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของรถจำเลย ล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนทางมา และตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา เพื่อป้องกันอันตราย เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่หรือหากมองไม่เห็น เพราะมีส่วนโค้งของถนนหรือสะพานบังอยู่ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถที่จอดอยู่ขึ้นไป ดังนี้นับว่าเป็นความประมาทของจำเลยหาใช่อุบัติเหตุไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซงและข้ามเส้นทึบ ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจและทรัพย์สินของโจทก์ร่วมและบุคคลอื่นนั้นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาตามลำพังได้
ปัญหาที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา390 หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นไปทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยขับรถยนต์แซงรถบรรทุกหินซึ่งจอดอยู่ที่ขอบถนนด้านซ้ายในเส้นทางของรถจำเลย ล้ำเข้าไปในเส้นทางของรถโจทก์ร่วมที่กำลังสวนทางมา และตรงที่เกิดเหตุมีเส้นแบ่งแนวจราจรเป็นเส้นทึบคู่ห้ามขับรถคร่อมไปตามเส้นหรือล้ำออกนอกเส้นทางไปทางขวา เพื่อป้องกันอันตราย เป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกันในเส้นทางของรถโจทก์ร่วม โดยจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอกับวิสัยและพฤติการณ์ โดยมองไปข้างหน้าว่ามียานพาหนะอื่นใดสวนทางมาหรือไม่ หรือหากมองไม่เห็น เพราะมีส่วนโค้งของถนนหรือสะพานบังอยู่ ก็ชอบที่จะชะลอรถให้ช้าลงเมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้วจึงค่อยแซงรถที่จอดอยู่ขึ้นไป ดังนี้นับว่าเป็นความประมาทของจำเลยหาใช่อุบัติเหตุไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใดๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว. จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225,208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแขวงวินิจฉัย และหลักการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องและอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ นั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงวินิจฉัยมาแล้วเป็นหลักในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย หากข้อเท็จจริงตามที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใด ๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังเป็นยุติมาแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยที่มิชอบแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างอิง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและเป็นการจำเป็นที่จะต้องให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225, 208(2)
of 18