พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด: ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์จำเลย ศาลฎีกายกให้ย้อนสำนวน
แม้จำเลยให้การรับสารภาพในส่วนความผิดฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านช่องทางที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และมิได้ผ่านการตรวจอนุญาต กับฐานเป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคำฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ปรากฏว่าในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยนำสืบปฏิเสธว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ และในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้กล่าวหาจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดสองกระทงนี้แต่อย่างใด ส่วนจำเลยมีพยานหลักฐานตามเอกสารหมาย ล. 1 ถึง ล. 3 มาพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดสองกระทงนี้ดังที่โจทก์ฟ้องและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดสองกระทงนี้ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาโดยผิดหลงไปว่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดสองกระทงนี้ด้วย และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยในความผิดสองกระทงนี้ โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และพิพากษาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่สำหรับความผิดสองกระทงดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ มีใจความว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่น ๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,633,063.59 บาท โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับโดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่น ๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปและพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) โดยชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปและพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์โทษที่หนักขึ้นตาม ม.336 ทวิ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ไม่ชอบ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้อระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้แต่ยังคงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) (7) (8) วรรคสอง ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับบทจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำร้องของจำเลยใช้คำว่าขอให้ "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" อนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยว่า กรณีคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ให้ยกคำร้องและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยนั้น เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาจากคำร้องถอนฟ้อง และการกำหนดโทษความผิดกรรมเดียวที่ยังเหลืออยู่
ในระหว่างฎีกา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนข้อหาบุกรุกตามมาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความกันได้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้กำหนดโทษแก่จำเลย เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา จึงกำหนดโทษเฉพาะข้อหากระทำชำเราซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น และอัตราโทษตามมาตรา 365 นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนในส่วนการกระทำความผิดตามศาลชั้นต้น แม้จะยังไม่ได้กำหนดโทษแก่จำเลย แต่ก็เห็นได้ชัดว่า ไม่อาจกำหนดโทษเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 365 ได้ ซึ่งคดีอาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในข้อหาบุกรุกแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่การยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ว่าจำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่นๆ อีก 7 คดี โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนตามที่ตกลงกันดังกล่าวโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ฉบับดังกล่าวก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทุกประเด็น โจทก์อุทธรณ์แล้วห้ามตัดสิทธิการพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาต ยกฟ้องฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครองเพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่งด้วย ศาลชั้นต้นได้สั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยขึ้นมายังศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาตตามอุทธรณ์ของจำเลยเท่านั้น โดยฟังข้อเท็จจริงว่าความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โจทก์ไม่อุทธรณ์ จึงเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องตามกระบวนการ แต่ศาลไม่จำเป็นต้องแก้ไขเมื่อมีการแต่งตั้งทนายภายหลัง
การที่ ธ.ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวน คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ธ. เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกาฉบับนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทรธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4460/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการสอบถามจำเลยก่อนแต่งทนาย และผลต่อการดำเนินคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยโดยยังไม่ได้สอบถามเรื่องทนายความเสียก่อน แม้กระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173 แต่ในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้และทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้จำเลยทุกนัดจนเสร็จคดี จำเลยจึงมีทนายความดำเนินคดีให้แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2944/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังรายงานสืบเสาะและพินิจเพื่อวินิจฉัยความผิดทางอาญา ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เนื่องจากศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง แต่ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมาสืบในชั้นพิจารณาให้ปรากฏต่อศาล
แม้ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยไม่ จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ซึ่งในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ศาลก็ยังมีหน้าที่จะต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ว่าจะลงโทษได้หรือไม่ ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็แต่เมื่อเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายเท่านั้น และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคแรก ก็ได้บัญญัติว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แสดงว่าแม้ในคดีที่มีข้อหาความผิดที่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไปได้โดยมิต้องสืบพยานก็ตาม แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่แล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ มิใช่ต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยเสียทีเดียว นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณา ป.วิ.อ. มาตรา 228 ยังให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติมได้ด้วย เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำการตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ และเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นดังกล่าวแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปก็ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 225
แม้ตาม พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่ก็เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยไม่ จึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมาวินิจฉัยยกฟ้องจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ซึ่งในคดีอาญานั้น แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ศาลก็ยังมีหน้าที่จะต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ว่าจะลงโทษได้หรือไม่ ศาลจะลงโทษจำเลยได้ก็แต่เมื่อเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมายเท่านั้น และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสภาพ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคแรก ก็ได้บัญญัติว่า ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ แสดงว่าแม้ในคดีที่มีข้อหาความผิดที่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไปได้โดยมิต้องสืบพยานก็ตาม แต่หากยังไม่แน่ใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่แล้วศาลจะให้สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ มิใช่ต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยเสียทีเดียว นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณา ป.วิ.อ. มาตรา 228 ยังให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติมได้ด้วย เมื่อปรากฏจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติว่าการกระทำของจำเลยขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลย เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างแจ้ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำการตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติจริงหรือไม่ โดยส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบให้ และเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานในประเด็นดังกล่าวแล้ว ให้ส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัยต่อไปก็ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 225