คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 208 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายความเท็จและข้อสำคัญในคดี
ตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาที่พนักงานอัยการโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจ่าสิบตำรวจ ส. จำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยเบิกความในชั้นศาลว่า ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน ซึ่งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่า ข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไรก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงหรือไม่นั้น เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริงจำเลยเห็นจ่าสิบตำรวจ ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แล้วจำเลยมาเบิกความว่า ไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิงไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาโทษหนัก-เบา และขอบเขตการย้อนสำนวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน เมื่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งเป็นบทเบา แม้จะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสามเป็นไปตามลำดับศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ถูกต้อง
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว. ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว. มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาเรื่องการแต่งทนายความ และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไข
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ว.ทนายความเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดย ว.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ และป.วิ.อ.มาตรา158(7) บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งที่เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องตรวจอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อนแล้วส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง ศาลลงโทษจำเลยได้ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ แม้ต่างจากคำฟ้องเดิม
หากข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าต่างจุดประทัดของตนโยนใส่โจทก์ร่วม อันเป็นกรณีที่ต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยทั้งเก้าร่วมกันทำร้ายโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมแล้วเพราะในการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งเก้าจะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำผิดตามลำพังจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษเป็นแต่จะลงโทษได้เต็มคำขอของโจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งเก้าก็มิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลย่อมรับฟังลงโทษจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณานั้นตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7ถึงที่ 9 อุทธรณ์ ทั้งเป็นคดีที่หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้ว อาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกง: การสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ.ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับว่าในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าว ไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ร้อยตำรวจโท อ.ไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้ใดไว้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: จำเป็นต้องตรวจสอบสภาพจิตก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่า จำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งและหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัว จำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไป อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ดังนี้เมื่อ กรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจ จำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาล หรือมาให้การว่าจำเลยวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้ ได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของธ. น้องจำเลยเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษ จำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ และศาลฎีกา ย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไป ให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลย มาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใดแล้ว ดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: ศาลต้องตรวจสอบสภาพจิตจำเลยก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลอาจสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเองหรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวงพูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาล ก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการ หงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษา ต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณี มีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและ ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลย โดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือ มาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้อง ของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและ พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์ โรงพยาบาลตามที่ระบุในคำร้อง ของ ธ. หรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตรวจสภาพจิต และเรียกแพทย์ผู้ตรวจ จำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีของผู้ป่วยจิตเภท: ขั้นตอนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 14 และการตรวจสภาพจิต
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ อาจเป็นเพราะศาลสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้
ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ธ.น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวง พูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง3 วัน โรงพยาบาลก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้จำเลยมีอาการหงุดหงิดง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษาต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณีมีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลยโดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือมาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ป.วิ.อ.มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาหรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควร ตรวจสภาพจิตและเรียกแพทย์ผู้ตรวจจำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
of 18