คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 208 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนพิจารณาคดีอัตราโทษสูงสิบปีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องดำเนินการ หากไม่ทำ กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้อง สอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการ ดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาอัตราโทษสูง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดีในศาลแขวง แม้ไม่มีบทบัญญัติโดยตรง แต่ต้องใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 กับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตามแต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับการที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการได้รับการสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการ
แม้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 กับ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2499 ได้ตราขึ้นก็โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้อันเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงดังกล่าวจะไม่มีบทบัญญัติดังเช่นมาตรา 173 วรรคสอง ก็ดี แต่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯก็บัญญัติให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ การที่ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนเริ่มพิจารณาคดี จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรณีเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา และพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยต้องการแต่ไม่มีทนายความ ศาลต้องจัดให้
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้า ไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามี และต้องการทนายความหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ มีการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองก็ตามจำเลยก็ยกขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้และกรณีเช่นว่านี้จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาคดีอาญา การไม่อนุญาตเลื่อนสืบพยานจำเลย ส่งผลต่อสิทธิในการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้น หาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า แม้จำเลย จะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆโดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณาคงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่ เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่ เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการต่อสู้คดี – การอนุญาตเลื่อนสืบพยาน – กระบวนการยุติธรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 362 ในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าทนายจำเลยมีอาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลียไม่สามารถมาศาลได้ โจทก์มิได้คัดค้านอีกทั้งไม่ปรากฏเหตุว่าจำเลยแกล้งประวิงคดี ประกอบกับคดีมีโทษจำคุกและจำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา ตามรูปคดีจึงสมควรที่จะให้โอกาสจำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณาไปสืบพยานจำเลยในครั้งต่อไปตามที่ได้นัดไว้ก่อนแล้วได้ แต่ศาลชั้นต้นหาได้กระทำไม่ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดั่งที่ ป.วิ.อ.มาตรา 179 วรรคสองบัญญัติไว้ เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยจะให้การปฏิเสธ ก็เป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่ได้นำสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณา คงมีแต่การซักค้านของทนายจำเลย ระหว่างสืบพยานโจทก์ซึ่งมีน้ำหนักน้อยไม่เพียงพอที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้จึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดพลาดต่อความเป็นจริงแห่งคดี เพราะการที่จำเลยไม่ได้สืบพยานจำเลยก็เนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยไม่สืบพยานจำเลยไม่
เมื่อศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อให้คดีได้ดำเนินไปจนสิ้นกระแสความ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังที่ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225 บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องมีใบแต่งทนายความที่ถูกต้อง หากศาลชั้นต้นละเลยหน้าที่ ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้พิจารณาใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคสองบัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์ โดยที่ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและกรณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และจะถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อม มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208(2) ประกอบมาตรา 225 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้วศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบคำให้การจำเลยและทนายความ หากศาลชั้นต้นไม่ได้จดบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา แต่คดีความชัดเจน ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297, 83และคดีได้ความตามความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ.ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และ ป.วิ.พ.มาตรา 48 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว
of 18