คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีภาระจำยอม – ทางจำเป็น
ประเด็นแห่งคดีของโจทก์ที่ต้องการให้ศาลตัดสินตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องที่บรรยายไว้เป็นข้ออ้างในฟ้องเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยในเรื่องภาระจำยอมเท่านั้น โดยที่ในคำฟ้องของโจทก์ทั้งเก้ามิได้บรรยายเรื่องทางจำเป็นไว้ คงบรรยายแต่เพียงเรื่องที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกันแล้วใช้ทางเดินในที่ดินจำเลยที่ใช้เดินมาตั้งแต่เจ้าของเดิม แล้วจำเลยเอาเสาปูนมาปักปิดกั้นโดยเจตนากลั่นแกล้งปิดกั้นทางเดินของโจทก์เท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นทางจำเป็นด้วยนั้น ผลของคดีจึงเกินคำขอและทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้ายด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้น: ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่ฟ้องบังคับตามสัญญาได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499มาตรา4ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวงแต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นอัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัทส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้วซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาเมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้นคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายหุ้นและการฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลยกฟ้องฐานฉ้อโกงเมื่อเป็นข้อพิพาทสัญญา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.นี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 ได้
โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส.จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าทองคำโดยไม่เสียภาษีและการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 2 รับว่าทองคำแท่งที่หมายเลขกำกับและอักษรแสดงประเทศผู้ผลิตถูกทำลายไปจำนวน 30 แท่งของกลางที่ยึดไว้นั้นเป็นของตน แม้จำเลยที่ 2 จะนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่ซื้อจากบริษัทต่าง ๆ มาแสดงก็ตาม ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าหมายเลขกำกับตามที่จำเลยที่ 2 อ้างนั้นตรงกับหมายเลขกำกับในทองคำแท่งของกลาง ประกอบกับการนำทองคำแท่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบนั้น สาระสำคัญต้องมีหมายเลขกำกับเพื่อให้ตรวจสอบในใบขนสินค้าและระบุกำเนิดประเทศผู้ผลิตอีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าทองคำแท่งของกลางไม่ใช่ทองคำแท่งจำนวนเดียวกับที่จำเลยที่ 2 ซื้อมา ทองคำแท่งของกลางจึงเป็นทองคำแท่งที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต ทั้งกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าว ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 100 ที่จำเลยทั้งสองจะต้องพิสูจน์ว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วหรือได้นำเข้ามาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำพินัยกรรมของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
นายอำเภอสั่งให้ ข. ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภออันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข. จึงมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ในการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลยแถลงร่วมกันว่าให้สืบพยาน ข.ปลัดอำเภอผู้กระทำการแทนนายอำเภอ ในขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทในประเด็นเดียวว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับที่จำเลยอ้างหรือไม่ หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับดังกล่าวและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงแล้วโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การจำเลยและโจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่า ข.เบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ผู้ตายและพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริง ดังนี้ แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมที่ทำนอกสถานที่โดย ข.ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอในขณะที่นายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงมิได้ทำพินัยกรรมโดยฐานะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอก็ตาม และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1658 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ เป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ในที่ใดว่านายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอจะมอบหมายหรือสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดดำเนินการแทนไม่ได้ และเมื่อนายอำเภอได้สั่งให้ ข.ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภอ อันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข.ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ดังนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงสมตามคำท้าของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองและบุกรุกที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์โดยไม่ชอบ
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การบุกรุกครอบครองและสิทธิในที่ดิน แม้ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ900ไร่มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามดังนี้จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้าน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใด จำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
of 40