พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ใช้มีดแทงและการให้การรับสารภาพบ่งชี้ถึงความตั้งใจ
ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การถึงความรู้สึกของจิตใจอารมณ์ของตนเองว่าเมื่อแทงผู้เสียหายที่1ตายแล้วก็จะฆ่าตัวตายเพื่อหนีความวุ่นวายซึ่งพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาพยายามฆ่าตามที่จำเลยให้การไว้ไม่ได้ตั้งข้อหาโดยสรุปเอาเองจึงเป็นการที่จำเลยลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน การที่จำเลยใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกายผู้เสียหายที่1เพื่อให้ผิวหนังทะลุอันเป็นการเล็งเห็นผลว่าถึงตายได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะจิตใจที่ไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่นผู้เสียหายที่1เป็นเพศที่อ่อนแอว่าไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนและไม่มีทางที่จะต่อสู้ชนะได้จำเลยไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธประทุษร้ายผู้หญิงการใช้อาวุธที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองย่อมมุ่งต่อผลคือชีวิตทั้งอายุของจำเลยในขณะที่กระทำความผิดนั้นสามารถรู้ผิดชอบและบังคับตนเองได้ไม่ได้มีจิตใจบกพร่องจำเลยสร้างภยันตรายให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตนเองมิใช่เกิดจากความตื่นเต้นความตกใจหรือความกลัวอันจะทำให้เห็นว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายตามที่ฎีกาจำเลยจะแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาฆ่าหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้าน: การชำระเงินไม่ตรงเวลา, การสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จ, และผลกระทบต่อการเลิกสัญญา
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแต่คู่สัญญาจะถือปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งการนำสืบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ชำระหนี้ตามงวดไม่ตรงเวลาที่กำหนดไม่ใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารและที่จำเลยผ่อนผันให้โดยยินยอมรับชำระไว้แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินตามงวดเคร่งครัดตามสัญญาดังนั้นเมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ยังไม่ชำระจำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387หากโจทก์ไม่ชำระจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ไม่ชำระจำเลยไม่เคยแจ้งโจทก์ให้ชำระในเวลาที่กำหนดและมิได้ปฏิบัติตามมาตรา387ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจึงไม่เลิกกัน สัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์ในวันที่โจทก์จะชำระเงินงวดสุดท้ายซึ่งตามปกติจะต้องมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ในสัญญาด้วยแต่ข้อตกลงในสัญญามีว่าเงินงวดสุดท้ายจะชำระให้ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารณสำนักงานที่ดินโดยไม่ได้กำหนดเวลาการปลูกบ้านให้แล้วเสร็จไว้ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องปลูกบ้านในที่ดินให้แล้วเสร็จและพร้อมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระงวดสุดท้ายได้แม้โจทก์จะขอชำระในงวดที่10ก่อนงวดสุดท้ายซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาชำระตามสัญญามา1ปีแต่ปรากฏว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยยังปลูกบ้านไม่แล้วเสร็จจึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือทั้งหมดได้โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต่างกัน: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่าย ผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนรถแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ไปยึดรถจากจำเลยทั้งสอง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดรถคืน ซึ่งความเสียหายของโจทก์ ตามฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้คำขอให้บังคับจำเลยตามฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต่างจาก คำขอของโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อน ได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณี ที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึง ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: มูลเหตุความเสียหายต่างจากคดีก่อน แม้เป็นสัญญาเช่าซื้อเดียวกัน
แม้คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว จำเลยทั้งสองไม่คืนรถแก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ไปยึดรถจากจำเลยทั้งสองและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดรถคืน ซึ่งความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้คำขอให้บังคับจำเลยตามฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต่างจากคำขอของโจทก์ในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากตัวเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง และเจตนาเข้าร่วมกระทำผิด
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และป. เองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดาผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง13ปีเศษอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาการที่จำเลยกับย. และป. ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้นย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายแม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหายการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน15ปีไปเสียจากมารดาแล้วทั้งเมื่อจำเลยและย. ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้านประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหยทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิงมีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมดดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไปจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา317วรรคหนึ่ง,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง ถือเป็นความผิดอาญา
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และ ป.เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดา ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง ๑๓ ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยกับ ย.และ ป.ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้น ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากมารดาแล้ว ทั้งเมื่อจำเลย และ ย.ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้าน ประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหย ทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิง มีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไป จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง, ๘๓
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10154/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายเอกสาร และสิทธิในการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสาร
การที่โจทก์สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายข้อความซึ่งยังไม่ชัดแจ้งในเอกสารหมาย จ.๑ และที่จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธไว้ย่อมกระทำได้ เพราะมิใช่เป็นการเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๙๔ หากแต่เป็นการนำสืบว่าเอกสารระบุข้อความค้างชำระหนี้อันเกิดจากนิติสัมพันธ์อย่างใด
ส่วนการที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้นเป็นสิทธิของคู่ความไม่ใช่หน้าที่ของศาล อีกทั้งศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๖
ส่วนการที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารที่ถูกคัดค้านนั้นเป็นสิทธิของคู่ความไม่ใช่หน้าที่ของศาล อีกทั้งศาลชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๒๖
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือผู้จัดการมรดกหากไม่สามารถพิสูจน์การขออาศัยได้
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอส. ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้องโจทก์จึงไม่มีทางชนะคดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน1ปีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9680/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดหลักฐานหักล้างการครอบครอง ทำให้โจทก์ไม่มีทางชนะคดี
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดหักล้างการครอบครองของจำเลยว่าจำเลยขอ ส.ปลูกบ้านเพื่อสนับสนุนคำฟ้อง โจทก์จึงไม่มีทางชนะคดี ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าได้มีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือและได้มีการฟ้องคดีภายใน 1 ปีหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9436/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ค้นคดียาเสพติดในหลายท้องที่: ตำรวจน้ำมีอำนาจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของเจ้าของท้องที่
ความผิดที่เกิดขึ้นในหลายท้องที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(2) พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำขึ้นในเขตอำนาจจึงมีอำนาจสอบสวนได้ และการค้นได้กระทำในเวลากลางวันต่อหน้าจำเลย โดยพันตำรวจ ส. ซึ่งเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จึงมีอำนาจตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของเจ้าพนักงานตำรวจเจ้าของท้องที่