พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9371/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงคดีอาญาถึงที่สุดมีผลผูกพันคดีแพ่ง การเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
คดีอาญาโจทก์ที่2ถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเหตุที่รถยนต์โดยสารที่โจทก์ที่2ขับชนรถยนต์ที่อ.ขับนั้นจุดชนอยู่ในช่องเดินรถของโจทก์ที่2โจทก์ที่2ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีแทนจำเลยที่1ถึงที่5ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของอ. ด้วยคดีถึงที่สุดแล้วดังนั้นที่จำเลยที่1ถึงที่5ได้ฟ้องคดีนี้ขอให้โจทก์ที่2ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ที่2ทำละเมิดให้อ.ถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9371/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และผลของการวินิจฉัยในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง
คดีอาญาโจทก์ที่ 2 ถูกพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษตามป.อ.มาตรา 291 ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า เหตุที่รถยนต์โดยสารที่โจทก์ที่ 2 ขับชนรถยนต์ที่ อ.ขับนั้น จุดชนอยู่ในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 2โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งในคดีอาญาดังกล่าวต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ อ.ด้วย คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้ฟ้องคดีนี้ขอให้โจทก์ที่ 2ใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดให้ อ.ถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 ในการพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่จัดการวัสดุราชการ: ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตความร่วมมือในการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืม เก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้น และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่าย การเก็บรักษาวัสดุแบบพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการ แม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชี ดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชี เมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอ ไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหาย แต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการ ไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่น การละเลยของจำเลยที่ 1และที่ 2 จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 ประจำห้องคลังวัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดห้องคลังวัสดุ และไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืม จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า ยอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการ...ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงหมายความว่า ยอมร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดเท่านั้น มิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วย และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9303/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและผลของการให้การยอมชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่1และที่2มีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุที่กำหนดให้จำเลยที่1มีหน้าที่เบิกจ่ายและให้ยืมวัสดุแบบพิมพ์แก่หน่วยงานของโจทก์ที่ขอเบิกและยืมเก็บรักษาใบยืมและติดตามหน่วยงานที่ขอยืมให้ทำใบเบิกเพื่อชดใช้การยืมให้เสร็จสิ้นและจำเลยที่2มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นไม่ปรากฏว่าการเบิกจ่ายวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการหรือฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาส่วนหลักฐานการลงบัญชีรับ-จ่ายการเก็บรักษาวัสดุแบบพิพม์ของเจ้าหน้าที่ก็มีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของทางราชการทุกประการแม้ผู้ยืมจะรับวัสดุแบบพิมพ์ไปก่อนโดยเขียนใบยืมไว้แต่ยังไม่ตัดจ่ายออกจากบัญชีดังนั้นจำนวนวัสดุแบบพิมพ์คงเหลือจึงน้อยกว่าจำนวนคงเหลือในบัญชีเมื่อมีการตรวจนับในภายหลังทำให้ของขาดบัญชีได้และทางปฏิบัติในการยืมยังไม่รัดกุมพอไม่มีการทำทะเบียนควบคุมใบยืมและใบยืมไม่มีการอนุมัติตามขั้นตอนโดยจำเลยที่1และที่2ละเลยไม่สนใจติดตามให้ผู้ยืมทำใบเบิกเพื่อตัดออกจากบัญชีหรือทำใบยืมสูญหายแต่เมื่อวัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ได้ถูกยืมไปใช้ในทางราชการไม่ได้สูญหายไปโดยเหตุอื่นการละเลยของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายส่วนจำเลยที่3และที่4เป็นลูกจ้างประจำตามคำสั่งของฝ่ายพัสดุกำหนดให้เป็นผู้ช่วยจำเลยที่2ประจำห้องครัววัสดุสำนักงานและแบบพิมพ์ที่1ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่2ไม่มีหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจเปิดปิดคลังวัสดุและไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับเอกสารใบเบิกหรือใบยืมจำเลยที่3และที่4มีหน้าที่เพียงจัดขนส่งวัสดุแบบพิมพ์มอบให้แก่หน่วยงานที่ขอเบิกหรือขอยืมตามคำสั่งของจำเลยที่2เท่านั้นจำเลยที่3และที่4จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ในเหตุที่วัสดุแบบพิมพ์ของโจทก์ขาดจากบัญชีดังกล่าวข้างต้นด้วย จำเลยที่3และที่4ให้การว่ายอมร่วมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามรายการดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์คำให้การของจำเลยที่3และที่4จึงหมายความว่ายอมร่วมกับจำเลยที่1และที่2ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามรายการดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่1และที่2ต้องรับผิดเท่านั้นมิใช่คำให้การยอมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เมื่อจำเลยที่1และที่2ให้การปฏิเสธซึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่3และที่4ด้วยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จึงไม่มีมูลที่จะให้จำเลยที่3และที่4รับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9160/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชน ไม่ทำให้สถานะนิติบุคคลสิ้นไป ฟ้องซ้ำเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งการแปรสภาพเพียงทำให้โจทก์หมดสภาพการเป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สถานะนิติบุคคลของโจทก์มิได้สิ้นไป บริษัทมหาชนของโจทก์จึงรับไปซึ่งสิทธิในการดำเนินคดีต่อจากเดิมได้ ต้องถือว่าโจทก์ในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกัน เมื่อคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความ: การผูกพันของกรรมการบริษัท และการใช้สิทธิคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัท ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่า บริษัทมีกรรมการ 4 คน จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่
สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดี จำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว.ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อและประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงาน ส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัท แม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัท แต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมของทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ โดยเฉพาะในวรรคสาม โจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดี หาใช่จำเลยต้องคืนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความเลิกกันด้วยความยินยอม โจทก์ต้องใช้ค่าจ้างตามรูปคดี จำเลยต้องคืนส่วนที่เหลือ
บริษัทใช้ชื่อจำเลยเป็นชื่อบริษัทตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนระบุว่าบริษัทมีกรรมการ4คนจำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทได้จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทและเป็นหัวหน้าสำนักงานกฎหมาย สัญญารับมอบงานเป็นสัญญาจ้างว่าความซึ่งเป็นสัญญาจ้างทำของมีข้อความว่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยและทนายความในสำนักงานฟ้องคดีจำเลยรับจะดำเนินคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ว. ผู้มีอำนาจกระทำแทนโจทก์ลงชื่อประทับตราโจทก์ในช่องผู้มอบงานส่วนจำเลยลงชื่อในช่องผู้รับมอบงานแต่ผู้เดียวไม่ได้ประทับตราของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลทั้งข้อความในสัญญาแสดงชัดอยู่ว่าโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างจำเลยและหรือทนายความในสำนักงานของจำเลยให้ฟ้องคดีโดยจำเลยตกลงเป็นผู้รับจ้างจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทแม้สัญญารับมอบงานได้กระทำที่บริษัทแต่ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานได้ทำสัญญารับจ้างว่าความกับโจทก์โดยใช้กระดาษบันทึกข้อความซึ่งมีชื่อบริษัทที่หัวกระดาษทำสัญญากับโจทก์เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง สัญญาจ้างว่าความได้เลิกกันด้วยการตกลงยินยอมทั้งสองฝ่ายคู่สัญญาจึงมีสิทธิที่จะได้คืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตรา391วรรคสองวรรคสามและวรรคสี่โดยเฉพาะในวรรคสามโจทก์ผู้ว่าจ้างต้องใช้ค่าแห่งการงานที่จำเลยทำให้โจทก์ด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นโดยคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่จำเลยต้องคนค่าจ้างทั้งหมดโดยคิดเป็นค่าเสียหายของโจทก์ตามที่โจทก์เรียกร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฐานฉ้อโกงและปลอมเอกสาร: องค์ประกอบความผิดและข้อความในฟ้อง
แม้ความผิดฐานฉ้อโกงต้องปรากฎว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยแต่หาจำต้องระบุคำว่ามีเจตนาทุจริตลงในคำฟ้องโดยตรงเสมอไปไม่เมื่อในคำฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยทั้งสองบังอาจร่วมกันกล่าวข้อความอันเป็นเท็จก็บ่งว่าจำเลยทั้งสองทำโดยทุจริตอยู่ในตัวแล้วและยังได้บรรยายฟ้องต่อไปว่าได้บังอาจหลอกลวงผู้เสียหายอีกจึงเป็นคำฟ้องครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหรือใช้ให้ผู้อื่นปลอมหนังสือมอบอำนาจแม้จะได้ความอย่างใดอย่างหนึ่งการกระทำของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย หากไม่ทำ อุทธรณ์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่2ไม่จำเป็นต้องลอกคำฟ้องคำให้การและทางพิจารณามาในอุทธรณ์ซ้ำอีกแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225บัญญัติไว้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่2บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2ว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน110,622บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาไว้โดยชัดแจ้งเลยว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีนี้อย่างไรคงโต้แย้งแต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อที่จำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยเท่านั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ชัดเจนและแจ้งชัด มิฉะนั้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องลอกคำฟ้อง คำให้การและทางพิจารณามาในอุทธรณ์ซ้ำอีก แต่ ป.วิ.พ. มาตรา 225 บัญญัติไว้ว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน 110,622 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาไว้โดยชัดแจ้งเลยว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีนี้อย่างไร คงโต้แย้งแต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่เห็นพ้องด้วยเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว