พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาแจ้งงดบังคับคดีและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการขายทอดตลาด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 281 และมาตรา 292 แสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวได้โดยจะต้องแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราว แต่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแม้จะอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดี โจทก์ก็ไม่มีสิทธิป้องกันหรือขัดขวางแก่การบังคับคดีได้ การบังคับคดีจะต้องดำเนินการต่อไป ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ไปอยู่ด้วยในเวลาบังคับคดีก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนผิดด้วยในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ไป
ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดแก่ผู้ซื้อไปเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าใกล้เคียงกับราคาประเมินของทางราชการจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่คดีนี้เป็นเรื่องความเสียหายที่ทรัพย์ของโจทก์ถูกขายทอดตลาดไปโดยจำเลยไม่ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ชั่วคราวตามที่ตกลงไว้กับโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่อาจพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้
การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญานั้น ต้องพิเคราะห์รายละเอียดคำฟ้องทั้งฉบับ มิใช่พิเคราะห์เฉพาะถ้อยคำบางคำในฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ก่อนถึงกำหนดวันขายทอดตลาดโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ตกลงกันบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดโดยโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นงวด ๆให้แก่จำเลยไว้ จำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ ครั้นถึงกำหนดวันนัดขายทอดตลาด จำเลยไม่ดำเนินการตามที่ตกลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยเป็นการผิดข้อตกลงและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา แม้ในข้อหาหรือฐานความผิดจะระบุว่าละเมิดและในคำฟ้องจะมีคำว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์นั้นก็เป็นการกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น หาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดไปด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยเห็นว่าเป็นเรื่องละเมิดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่ขาดอายุความเพราะเป็นเรื่องผิดสัญญาย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาจึงชอบแล้ว
แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายไว้ แต่การที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยต้องไปแจ้งของดการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกระทำการคือไปแจ้งของดการบังคับคดีอันถือว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งเป็นการผิดสัญญาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์แก่ผู้ซื้อไปโจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย และมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แทนการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ได้ตามหลักกฎหมายเรื่องค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 อันเป็นคนละเรื่องกับค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในข้อสัญญา
การที่จำเลยไม่ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ทันตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ มิใช่กรณีกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 แต่เป็นการผิดสัญญาจึงไม่อาจใช้อายุความ 1 ปี
ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดแก่ผู้ซื้อไปเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าใกล้เคียงกับราคาประเมินของทางราชการจึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่คดีนี้เป็นเรื่องความเสียหายที่ทรัพย์ของโจทก์ถูกขายทอดตลาดไปโดยจำเลยไม่ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ชั่วคราวตามที่ตกลงไว้กับโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่อาจพิจารณาเป็นเรื่องเดียวกันได้
การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดหรือผิดสัญญานั้น ต้องพิเคราะห์รายละเอียดคำฟ้องทั้งฉบับ มิใช่พิเคราะห์เฉพาะถ้อยคำบางคำในฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ก่อนถึงกำหนดวันขายทอดตลาดโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยชำระให้แก่โจทก์ในวันที่ตกลงกันบางส่วน ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวดโดยโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นงวด ๆให้แก่จำเลยไว้ จำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาดไว้ ครั้นถึงกำหนดวันนัดขายทอดตลาด จำเลยไม่ดำเนินการตามที่ตกลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ไป การกระทำของจำเลยเป็นการผิดข้อตกลงและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา แม้ในข้อหาหรือฐานความผิดจะระบุว่าละเมิดและในคำฟ้องจะมีคำว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์นั้นก็เป็นการกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น หาทำให้ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องละเมิดไปด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโดยเห็นว่าเป็นเรื่องละเมิดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น แต่เมื่อโจทก์เห็นว่าไม่ขาดอายุความเพราะเป็นเรื่องผิดสัญญาย่อมมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาจึงชอบแล้ว
แม้ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายไว้ แต่การที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยต้องไปแจ้งของดการบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องกระทำการคือไปแจ้งของดการบังคับคดีอันถือว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงซึ่งเป็นการผิดสัญญาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์แก่ผู้ซื้อไปโจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย และมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แทนการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ได้ตามหลักกฎหมายเรื่องค่าเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 อันเป็นคนละเรื่องกับค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในข้อสัญญา
การที่จำเลยไม่ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ทันตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ มิใช่กรณีกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายตามมาตรา 420 แต่เป็นการผิดสัญญาจึงไม่อาจใช้อายุความ 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่ารถยนต์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและจำเลยได้รับประโยชน์จากค่าเช่า ถือเป็นการเช่าทรัพย์ตามกฎหมาย
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกัน ด.ขอเช่ารถยนต์จากจำเลย แต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ ด.เช่าเป็นเวลา 7 วัน โดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่า เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 แล้ว และการเช่าสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติว่า จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูน คาร์เรนท์ เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์ทางวาจาและการพิสูจน์การเช่าช่วงเทียบกับการเป็นตัวแทน
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกัน ด. ขอเช่ารถยนต์จากจำเลย แต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ ด.เช่าเป็นเวลา7 วัน โดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่า เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว และการเช่าสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูนคาร์เรนท์เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าทรัพย์สังหาริมทรัพย์ด้วยวาจา และการระบุลักษณะตัวแทนที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกันด. ขอเช่ารถยนต์จากจำเลยแต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ด.เช่าเป็นเวลา7วันโดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่าเช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา537แล้วและการเช่าสังหาริมทรัพย์กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูนคาร์เรนท์เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น แม้มีข้อพิพาทเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญา
แม้ผู้เสียหายทั้งสองกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายต้นยูคาลิปตัส ที่ผู้เสียหายทั้งสองเป็นผู้ปลูกที่ดินพิพาทได้ หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัส ลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองโดยต้องว่ากล่าวกันในทางศาล การที่จำเลยเข้าตัดฟัน ขุดและเผาต้นยูคาลิปตัส จึงเป็นการทำให้เสียทรัพย์ของผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายทรัพย์สินแม้มีข้อพิพาทเรื่องครอบครองที่ดิน ย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 แม้ผู้เสียหายกับจำเลยยังมีเรื่องโต้เถียงกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแต่ในชั้นนี้ยังไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้เสียหายจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า ผู้เสียหายเป็นเจ้าของต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์ของผู้อื่นได้ หากจะถือว่าการปลูกต้นยูคาลิปตัสลงในที่ดินเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของจำเลย ในกรณีที่ต่างโต้เถียงสิทธิครอบครองกันเช่นนี้ต่างก็ต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองเหตุว่าที่ดินยังมีอยู่ไม่สูญหายไปไหน ใครจะมีสิทธิในที่ดินจะต้องว่ากล่าวกันในทางศาลจำเลยเข้าตัด ฟัน ขุด และเผาต้นยูคาลิปตัสของผู้เสียหายเป็นการทำลายทรัพย์ของผู้เสียหาย จำเลยจึงต้องมีความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. หากไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยคงอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่อุทธรณ์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นการไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้ยกเหตุผลใหม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลล่าง
ฎีกาของจำเลยคงอ้างเหตุอย่างเดียวกับที่อุทธรณ์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นการไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหนอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังไม่จำกัดระยะเวลา หากทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 310
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังตาม ป.อ. มาตรา 310 นั้นไม่ได้กำหนดว่าผู้กระทำผิดจะต้องหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเป็นเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นความผิด หากการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังนั้นทำให้ผู้อื่นต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายแล้วก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 310 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมมีผลต่อคดีแพ่ง จำเป็นต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะขาดเจตนา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมแต่พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1นั้นจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่2อุทธรณ์เฉพาะในข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่2ไม่มีเจตนากระทำความผิดในการใช้พินัยกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และ268เพราะไม่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้นโจทก์และจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดแต่ปัญหาข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่นี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดและหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความในคดีนี้ในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่อีกในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีนี้ซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2คดีนี้จึงถือว่าปัญหานี้เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย