พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมมีผลต่อคดีแพ่ง จำเป็นต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะขาดเจตนา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมแต่พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1นั้นจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่2อุทธรณ์เฉพาะในข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่2ไม่มีเจตนากระทำความผิดในการใช้พินัยกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137และ268เพราะไม่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมนั้นโจทก์และจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยไม่มีเจตนากระทำผิดแต่ปัญหาข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่นี้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดและหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความในคดีนี้ในประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าพินัยกรรมดังกล่าวปลอมหรือไม่อีกในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีนี้ซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2คดีนี้จึงถือว่าปัญหานี้เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำวินิจฉัยพินัยกรรมปลอมในคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการวินิจฉัยประเด็นสำคัญที่ศาลอุทธรณ์ละเลย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอม แต่จำเลยที่2ใช้พินัยกรรมดังกล่าวแสดงต่อพนักงานที่ดินในการจดทะเบียนโอนที่ดินแทนจำเลยที่1พยานหลักฐานโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2รู้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอมจึงพิพากษายกฟ้องนั้นแม้ศาลพิพากษายกฟ้องแต่ข้อเท็จจริงที่ว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมย่อมถึงที่สุดหากมีการดำเนินคดีแพ่งระหว่างคู่ความศาลอาจจำต้องถือข้อเท็จจริงว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลต่อส่วนได้เสียของจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินนั้นต่อจากจำเลยที่1ดังนั้นการที่จำเลยที่2อุทธรณ์ว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่แท้จริงจึงเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177
คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาสั่งให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสามเฉพาะข้อกฎหมาย เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
ในคดีมีข้อพิพาท ความเท็จที่จะถือเป็นข้อสำคัญในคดีจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้คู่ความต้องแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดี หรือในคดีไม่มีข้อพิพาท ความเท็จนั้นจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้ศาลเชื่อและสั่งให้ตามคำร้องขอ ซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งว่าที่ดินตามคำร้องขอเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และระยะเวลาแห่งการครอบครองย่อมเป็นข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยทั้งสามเบิกความว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในที่ดินทั้งสามคนต่างมีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด ซึ่งบุคคลทั้งสามถึงแก่ความตายไปประมาณ 10 ปีแล้ว ก่อนถึงแก่ความตาย บุคคลทั้งสามยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ เพียงแต่มอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามหลังจากนั้นจำเลยทั้งสามได้ทำนาในที่ดินดังกล่าวตลอดมาโดยการครอบครองด้วยความสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปีเศษไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังที่จำเลยทั้งสามเบิกความต่อศาล ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382ความเท็จที่จำเลยทั้งสามเบิกความดังกล่าวจึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการเบิกความอันเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีในการพิจารณาคดีต่อศาลอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง
ในคดีมีข้อพิพาท ความเท็จที่จะถือเป็นข้อสำคัญในคดีจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้คู่ความต้องแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดี หรือในคดีไม่มีข้อพิพาท ความเท็จนั้นจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้ศาลเชื่อและสั่งให้ตามคำร้องขอ ซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งว่าที่ดินตามคำร้องขอเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และระยะเวลาแห่งการครอบครองย่อมเป็นข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยทั้งสามเบิกความว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในที่ดินทั้งสามคนต่างมีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด ซึ่งบุคคลทั้งสามถึงแก่ความตายไปประมาณ 10 ปีแล้ว ก่อนถึงแก่ความตาย บุคคลทั้งสามยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ เพียงแต่มอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามหลังจากนั้นจำเลยทั้งสามได้ทำนาในที่ดินดังกล่าวตลอดมาโดยการครอบครองด้วยความสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปีเศษไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังที่จำเลยทั้งสามเบิกความต่อศาล ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382ความเท็จที่จำเลยทั้งสามเบิกความดังกล่าวจึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการเบิกความอันเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีในการพิจารณาคดีต่อศาลอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินเพื่อครอบครองปรปักษ์เป็นข้อสำคัญในคดีอาญา
คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งศาลฎีกาสั่งให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสามเฉพาะข้อกฎหมายเมื่อคดีนี้เป็นคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ในคดีมีข้อพิพาทความเท็จที่จะถือเป็นข้อสำคัญในคดีจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้คู่ความต้องแพ้ชนะกันในประเด็นแห่งคดีหรือในคดีไม่มีข้อพิพาทความเท็จนั้นจะต้องเป็นความเท็จที่อาจทำให้ศาลเชื่อและสั่งให้ตามคำร้องขอซึ่งการที่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งว่าที่ดินตามคำร้องขอเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์และระยะเวลาแห่งการครอบครองย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีการที่จำเลยทั้งสามเบิกความว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในที่ดินทั้งสามคนต่างมีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดซึ่งบุคคลทั้งสามถึงแก่ความตายไปประมาณ10ปีแล้วก่อนถึงแก่ความตายบุคคลทั้งสามยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสามโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือเพียงแต่มอบโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามหลังจากนั้นจำเลยทั้งสามได้ทำนาในที่ดินดังกล่าวตลอดมาโดยการครอบครองด้วยความสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา10ปีเศษไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านดังนี้หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังที่จำเลยทั้งสามเบิกความต่อศาลย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสามผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ความเท็จที่จำเลยทั้งสามเบิกความดังกล่าวจึงเป็นข้อสำคัญในคดีที่จำเลยทั้งสามร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการเบิกความอันเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีในการพิจารณาคดีต่อศาลอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังสละสิทธิ: ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคา/วิธีการชำระเงินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ.และ ซ.เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ60,000 บาท ผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783จำนวน 20 ไร่เศษ ในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาทแล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ.และ ซ.จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ.และ ซ.จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ.และซ.ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษจึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นา ดังนี้ ฟ.และ ซ.จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ.และ ซ.ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมในฐานะผู้เช่าผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินของผู้เช่านา: สิทธิซื้อคืนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แม้ปฏิเสธซื้อก่อน แต่หากราคา/วิธีชำระแตกต่าง ต้องแจ้งสิทธิซื้ออีกครั้ง
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ. และ ซ. เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ 60,000 บาทผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 จำนวน 20 ไร่เศษในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาท แล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ. และซ. จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ. และ ซ. จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษ จึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นาดังนี้ ฟ. และ ซ. จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ. และ ซ. ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่งจำเลยร่วมในฐานะผู้เช่านาที่นาพิพาทจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากโจทก์และโจทก์ร่วมผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก. จังหวัด มิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 2(ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า: ผู้ยึดถือครอบครองมีสิทธิเหนือกว่า การแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากครอบครองของตนเอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าผู้ที่จะได้สิทธิในที่ดินประเภทนี้ต้องเป็นผู้ยึดถือที่ดินนั้นหรือมีผู้ยึดถือแทนเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นดังนั้นเมื่อจำเลยอ้างในคำให้การว่าจำเลยครอบครองที่ดินของตนเองและโจทก์อ้างในคำให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ครอบครองที่ดินของโจทก์เองคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่และฟ้องแย้งจำเลยขาดอายุความหรือไม่จึงไม่ชอบและศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานข่มขืนใจ ปล้นทรัพย์ (ความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่สำเร็จ) พยายามฆ่า และพาอาวุธปืนไปในเมือง
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทางบังคับขู่เข็ญให้ผู้เสียหายถอด เสื้อฝึกงานและ แหวนรุ่นทำด้วยเงินซึ่งมีราคาเล็กน้อยจำเลยกับพวกกระทำไปเป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ด้วยความคะนองเพื่อให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักศึกษาต่างสถาบันที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับสถาบันของจำเลยเห็นว่าเป็นคนเก่งพอที่จะรังแกคนได้ตามวิสัยวัยรุ่นที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเท่านั้นมิใช่มุ่งหมายเพื่อจะได้ประโยชน์จากทรัพย์จึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา309วรรคแรกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องจึงต้องลงโทษตามที่พิจารณาได้ความส่วนเสื้อฝึกงานและแหวนเงินจำเลยไม่มีสิทธิยึดถือไว้ต้องคืนแก่ผู้เสียหายหลังจากให้ถอดเสื้อฝึกงานและแหวนเงินแล้วกลุ่มเพื่อนของจำเลย3คนได้ชกต่อยผู้เสียหายจากนั้นจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในระยะห่าง1ฟุตแต่ผู้เสียหายยกขาและแขนขึ้นปิดป้องไว้และกระสุนปืนถูกกระดุมเสื้อซึ่งเป็นแผ่นเหล็กเป็นเหตุให้ไม่ถูกอวัยวะส่วนสำคัญถือได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงโดยมี เจตนาฆ่าแต่การกระทำไม่บรรลุผลจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80และมาตรา371
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และผ่อนชำระ: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้, ศาลยืนตามสัญญา
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่1สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้นแสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหายโจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ยแต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดทุกงวดโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่1ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ในหนี้ที่ค้างชำระได้ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่1ยังค้างชำระเบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้และเบี้ยปรับ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการคิดดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้น แสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหาย โจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ย แต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดทุกงวด โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่ค้างชำระได้ ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้ จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ เบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้ จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ยังค้างชำระ เบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ และปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย