พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คระงับ
ตามสัญญาชำระหนี้แทนซึ่ง อ. ตกลงขอเข้ามาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยโดยจ่ายเช็คให้โจทก์3ฉบับมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่าเมื่อ อ. ได้ผ่านเช็คทั้งหมดให้แล้วโจทก์จะไปถอนฟ้องคดีให้แก่จำเลยทันทีดังนั้นการที่ อ.จะต้องชำระเงินตามเช็คทั้ง3ฉบับจึงเป็นเงื่อนไขในการที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาให้แก่จำเลยและตามสัญญาชำระหนี้แทนก็ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คทั้ง3ฉบับที่ อ. ชำระให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จึงมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่โจทก์กับ อ. ตกลงทำสัญญาชำระหนี้แทนสั่งจ่ายเช็ค3ฉบับมอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนเช็คพิพาทถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเช็คทั้ง3ฉบับอันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349มีผลให้หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็น หนี้เดิม ระงับไปมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันแม้สัญญาชำระหนี้แทนจะมีเงื่อนไขให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อเช็คทั้ง3ฉบับเรียกเก็บเงินได้แล้วก็เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องอันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39เท่านั้นหามีผลทำให้การตกลงดังกล่าวไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไปไม่ดังนั้นคดีอาญาจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยึดทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จึงเป็นการบังคับแก่ทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินนั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และมาตรา 109 และปรากฏตามบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดแล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปฏิบัติการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 การบังคับคดีที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินต่าง ๆ ของจำเลยในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา158 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียคนใดที่เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด จะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่ง ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ต้องกระทำในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในระหว่างล้มละลาย ต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว การจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,109และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฎิบัติการแทนตามมาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และกระบวนการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องและบังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,109และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายกรณีถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22ประกอบกับมาตรา6การยึดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีผู้ใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากคดีอาญาที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องเพื่อพิจารณาค่าสินไหมทดแทน
เมื่อโจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองด้วยการนำข้อความเท็จมาฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีและร่วมกันเบิกความเท็จจนศาลชั้นต้นหลงเชื่อลงโทษจำคุกโจทก์ทั้งสองแต่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องที่ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จัดหาสถาบันการเงิน - การบอกกล่าวให้แก้ไขก่อนฟ้องผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1ตามสัญญาเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้จัดหาสถาบันการเงินมาให้โจทก์ผ่อนชำระเงิน แต่ในสัญญาไม่มีข้อกำหนดว่า ถ้าหากจำเลยที่ 1 หาสถาบันการเงินให้โจทก์ผ่อนชำระไม่ครบตามจำนวนเงินที่โจทก์จะต้องผ่อนชำระแล้ว จำเลยที่ 1จะต้องหาสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือหาสถาบันการเงินมาเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ในระยะเวลาใด ดังนั้นก่อนที่โจทก์จะถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 จัดหาสถาบันการเงินแห่งใหม่หรือจัดหาสถาบันการเงินมาเพิ่มเติมเพื่อให้โจทก์ผ่อนชำระเงินเสียภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรเมื่อโจทก์ยังมิได้กำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 จัดหาสถาบันการเงินเสียก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 จำเลยที่ 1 จึงยังไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จะบอกเลิกสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเบิกความเท็จ, การจัดการทรัพย์มรดก, หนี้สินมรดก, การยักยอกทรัพย์, สัญญาผูกพันก่อนเสียชีวิต
การที่จะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนาคือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่ตนนำมาเบิกความนั้นเป็นความเท็จจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกและเบิกความตามคำร้องนั้นโดยเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่ดินและความเห็นของทนายความโดยไม่มีเจตนาที่จะเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จ กองมรดกยังมีหนี้สินตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1736ต้องถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการซึ่งมีสาระสำคัญว่าตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้จะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทมิได้ที่จำเลยยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์จะฟังว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไม่ได้การที่จำเลยแบ่งขายที่ดินมรดกก็เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่เจ้ามรดกทำไว้ก่อนตายกับผู้ซื้อถือไม่ได้ว่าเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้ร้องต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงหลานของพี่ของปู่ผู้ตาย จึงมิใช่ผู้สืบสันดานของผู้ตายและมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ มาตรา1629 ทั้งมิได้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ทายาทโดยธรรมต้องเป็นผู้สืบสันดานโดยตรง
ผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงหลานของพี่ของปู่ผู้ตายจึงมิใช่ผู้สืบสันดานของผู้ตายและมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629ทั้งมิได้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายเพื่อวินิจฉัยสิทธิก่อน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญา มัดจำซื้อ ที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่1และ ป.ผู้จะขายให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินไว้ก่อนและกำหนดนัดโอนเมื่อจำเลยที่1และ ป. ได้รับ หนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานแล้วต่อมา ป. ถึงแก่ความตายจำเลยที่1และ น.ซึ่งเป็นบุตรของ ป. มาแจ้งว่าไม่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากเจ้าพนักงานและตกลงให้ที่ดินเป็นของโจทก์ไม่ขอเกี่ยวข้องอีกต่อไปต่อมาจำเลยที่1มีเจตนาทุจริตมาขอจัดการมรดกของ ป. แล้วขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่2ไปจึงขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินตามฟ้องเป็นของโจทก์เป็นการฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งได้สิทธิโดยการครอบครองหาใช่โดยอาศัยสิทธิเรียกร้องตามสัญญามัดจำไม่เมื่อจำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ชอบที่ศาลจะต้องฟัง พยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่การที่ศาลล่างสั่งให้ งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโดยยกสัญญามัดจำขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ชอบ จำเลยที่1ฎีกาขอให้ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์