พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญา แม้พ้นกำหนด หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอกส.และพันตำรวจตรีป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียง ผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป. เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่ กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถาม ค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้ อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญาหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ป.วิ.อ.มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เลี้ยงช้างต่อความเสียหายที่เกิดจากช้าง การแบ่งแยกความรับผิดระหว่างเจ้าของและผู้เลี้ยง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของช้างพลายนวล จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นบุตรจำเลยที่ 3 และเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลไว้แทนเจ้าของ จำเลยที่ 4 และที่ 5 นำช้างพลายนวลเข้ามาแห่ในงานขบวนแห่นาคกับช้างอื่น ๆ ซึ่งมีช้างของโจทก์รวมอยู่ด้วย ช้างพลายนวลชนช้างของโจทก์ได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 5 นำช้างมาร่วมในขบวนแห่นาคเพราะอยู่คนละหมู่บ้านกัน แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลโดยเด็ดขาด โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รับประโยชน์และเกี่ยวข้องด้วย ความรับผิดย่อมตกแก่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การครอบครองปรปักษ์ไม่อาจใช้ได้บังคับกับแผ่นดิน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายในฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจ หน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตนพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดิน ธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่งบริษัทช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306 เมื่อประเด็น ในคดีนี้มีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามมาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินและผลกระทบต่อการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้วโดยการครอบครองเกินกว่า 10 ปี ฉะนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของใครและโจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาโดยเจ้าของเดิมยกให้เพื่อใช้ใน กิจการของโจทก์นั้น เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุซึ่งได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของตน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการยกให้ ไม่ใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่ง ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียน ป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1306 เมื่อประเด็นในคดีมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามข้อต่อสู้หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตาม มาตรา 1382 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินที่ให้เพื่อสร้างสถานีตำรวจ เมื่อทางราชการไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกฎหมายกำหนด
โจทก์ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2512 โดย มีเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธร ต่อมาเมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุจึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธรแต่เวลาล่วงเลยมานับแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องเป็นเวลา 27 ปีเศษ ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างในที่ดินที่โจทก์ ยกให้ ครั้นโจทก์ขอที่ดินคืน จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ตอบโจทก์ว่า เนื้อที่ดินที่ทางราชการได้มา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสร้างสถานีตำรวจได้ปรากฏว่ามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯ ข้อ 8 กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้ หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำได้เมื่อ (2) ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปี นับแต่วันที่ยกที่ดินนั้นให้แก่ทางราชการ (3) ผู้ยกให้หรือทายาท ของผู้ยกให้ได้ยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์หรือนับแต่ วันที่ครบระยะเวลาตาม (2) ดังนี้ จึงฟังได้ว่า ทางราชการ ไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 8(2) และเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ตามหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ที่จะไม่ใช้ ประโยชน์ ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินราชพัสดุเมื่อไม่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ จึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ แต่เวลาล่วงเลยมานับตั้งแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลา 27 ปีเศษแล้ว ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างสถานีตำรวจในที่ดินโจทก์ จึงฟังได้ว่า ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 8 (2) ซึ่งจำเลยทั้งสองตกอยู่ในฐานะผู้ที่จะต้องคืนที่ดินนับแต่เวลาที่ถูกโจทก์เรียกคืน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเสนอคดีฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันที่ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่า แม้จำเลยรับสารภาพ แต่พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคง ศาลไม่ลดโทษ
เหตุเกิดเวลาเช้า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่โล่งผู้เสียหายเป็นญาติจำเลยรู้จักกันมาเป็นเวลา 10 ปีเศษในระยะห่างกันเพียง 11 เมตร ผู้เสียหายย่อมจะเห็นและจดจำ จำเลยได้นอกจากนี้หลังจากนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลแล้ว ผู้เสียหายก็โทรศัพท์แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจในทันทีว่าจำเลยเป็นคนร้าย วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยและคงยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายตลอดมา ทั้งยังได้ความว่า ขณะนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลผู้ตายก็บอกผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นคนยิง พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้แน่ชัดปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนคำรับสารภาพ ในชั้นศาลของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แต่อย่างใด นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยก็มิได้ ให้การรับสารภาพเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้สำนึกผิด ในการกระทำ การที่จำเลยเพิ่งจะมาให้การรับสารภาพภายหลัง ในชั้นศาลแสดงให้เห็นว่าเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน ประกอบกับ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรงและโหดเหี้ยม กรณีจึง ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78