พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดแม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ อายุความฟ้องร้องประกันภัย 2 ปี
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ทั้งนี้แม้ จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญา จำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง คดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่ 23 เมษายน 2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่ 27 กรกฎาคม2535 จึงยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยตามป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง คดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่ 23 เมษายน 2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่ 27 กรกฎาคม2535 จึงยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6608/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย แม้ผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งอุบัติเหตุ และฟ้องร้องภายในอายุความ
จำเลยร่วมเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจำเลยที่1จำเลยร่วมย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887ทั้งนี้แม้จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งอุบัติเหตุให้จำเลยร่วมทราบตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยก็ตามก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่1เท่านั้นโจทก์เป็นบุคคลภายนอกสัญญาจำเลยร่วมในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะนำเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ประกันภัยมาใช้บังคับโจทก์ด้วยไม่ได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องตามสัญญาประกันภัยเพื่อเรียกให้จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีอายุความ2ปีนับแต่วันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งคดีนี้เกิดวินาศภัยในวันที่23เมษายน2534แต่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่27กรกฎาคม2535จึงยังไม่เกิน2ปีนับแต่วันวินาศภัยคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกและการหมดอายุความมรดก กรณีทายาทผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาทอื่น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินเนื้อที่ 13 ไร่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. ให้จำเลยแบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทคนละ 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นที่ดินรวมกัน7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ราคา 78,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินทั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยจึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกที่ดิน: ทายาทมีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยครอบครองแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 13 ไร่ เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสามคนละ 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นที่ดินรวมกัน 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ซึ่งโจทก์ตีราคาเป็นเงิน 78,000 บาทจำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนเป็นของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับโต้เถียงว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน 78,000 บาท จำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย จำเลยจึงยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด 1 ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาท/ผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6483/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทแยกกันในคดีที่โจทก์แต่ละคนฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเฉพาะตน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 51,000 บาท และแก่โจทก์ที่ 3เป็นเงิน 47,483 บาท แม้จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1เป็นเงิน 203,500 บาท ก็ตาม ฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2และที่ 3 ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ของโจทก์แต่ละคนรวมกันมา ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2538)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2538)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6483/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทแยกตามโจทก์แต่ละคน ทำให้ฎีกาบางส่วนต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่2เป็นเงิน51,000บาทและแก่โจทก์ที่3เป็นเงิน47,483บาทแม้จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่1เป็นเงิน203,500บาทก็ตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่2และที่3ก็ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ของโจทก์แต่ละคนรวมกันมาต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ไม่เพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา336ทวิเป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา335ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆกึ่งหนึ่งหาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา336ทวิกำหนดไว้แต่คงพิพากษาว่าจำเลยที่3มีความผิดตามมาตรา335(1)(3)(8)ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับและใช้อัตราโทษตามมาตรา335วรรคสามลงโทษจำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน5ปีจำเลยที่3จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่ง