คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษมาตรา 336 ทวิ เป็นการเพิ่มโทษ ไม่ใช่ความผิดใหม่ ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษแต่ไม่ใช้ตามมาตรานี้
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆกึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยมิได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้ แต่คงพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามมาตรา 335 (1) (3) (8) ตามที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นปรับและใช้อัตราโทษตามมาตรา 335 วรรคสาม ลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการจัดการมรดก: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียย่อมไม่มีสิทธิคัดค้าน
ผู้คัดค้านไม่ได้อ้างว่าเป็นทายาทของ ส. ผู้ตาย ส่วนโฉนดที่ดินมรดก ผู้คัดค้านก็ยอมรับว่ามีชื่อ บ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่มีชื่อผู้คัดค้าน ตามคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านฟ้งได้ว่าผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในมรดกของ ส. ผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412-6413/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากทุนทรัพย์เกินกำหนด และการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
จำเลยที่1และที่2ฎีกาทั้งสองสำนวนว่าเหตุที่รถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่2แต่เพียงฝ่ายเดียวและค่าเสียหายสูงเกินความจริงล้วนเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและในการกำหนดค่าเสียหายจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อสำนวนแรกมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง สำหรับสำนวนหลังแม้จำเลยที่1และที่2จะร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นคดีเดียวกันให้ชำระหนี้รวมเป็นเงิน208,801.55บาทก็ตามแต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เรียกร้องให้โจทก์ทั้งสามรับผิดต่อจำเลยที่1และที่2เป็นหนี้แบ่งแยกได้การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีจึงต้องคิดทุนทรัพย์ตามฟ้องของจำเลยที่1และที่2แยกต่างหากจากกันคดีศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของจำเลยที่1และที่2แม้ว่าคดีในส่วนของจำเลยที่2ซึ่งมีทุนทรัพย์165,801.55บาทจะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยที่2ก็ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้เพราะทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง สำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่1ซึ่งมีทุนทรัพย์เพียง43,000บาทเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่1และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ย่อมเป็นการไม่ชอบเมื่อจำเลยที่1ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมาก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน หากมิได้ระบุครบถ้วน ศาลไม่รับพิจารณา
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น จะต้องกล่าวถึงเหตุที่ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งทั้งสองประการ แต่คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยกล่าวแต่เพียงเหตุที่จำเลยขาดนัด ไม่ได้กล่าวคัดค้านถึงเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าตนอาจชนะคดีได้อย่างไรบ้าง แม้จำเลยจะอ้างว่า โจทก์มิได้นำ อ. กรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจทำนิติกรรมใด ๆ แทนโจทก์มาเบิกความ คงมีแต่ บ. ผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อซึ่งมิใช่พนักงานบัญชีเพียงผู้เดียวมาเบิกความ ทั้งมิได้นำเจ้าหน้าที่มาเบิกความรับรองถึงความถูกต้องแท้จริงของหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ จึงฟังไม่ได้ว่า อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และเป็นผู้แต่งตั้งทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีนี้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ก็หาใช่เป็นการคัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นอันจะทำให้จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีหากมีการพิจารณาใหม่ไม่ คำขอของจำเลยจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ที่จะให้มีการพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการสาบานตน แม้ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลไม่ผิด หากจำเลยไม่ใช้สิทธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองที่บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานได้ แม้จะขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นแต่กฎหมายให้สิทธิไว้ จำเลยจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอใช้สิทธินี้เลยทั้งเมื่อศาลจดรายงานว่าหมดพยานโจทก์ทั้งสอง ให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ จำเลยที่ 1ไม่ได้โต้แย้ง กลับลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาและลงชื่อรับฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าจะถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองหรือไม่ จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานหรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในการเบิกความต่อสู้คดี ศาลไม่ต้องซักถามหากจำเลยไม่ใช้สิทธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคสองที่บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานได้แม้จะขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นแต่กฎหมายให้สิทธิไว้จำเลยจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1ได้ขอใช้สิทธินี้เลยทั้งเมื่อศาลจดรายงานว่าหมดพยานโจทก์ทั้งสองให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้จำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งกลับลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาและลงชื่อรับฟังคำพิพากษาการที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยที่1ว่าจะถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองหรือไม่จะสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยานหรือไม่จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของคนเสมือนไร้ความสามารถและการแก้ไขคำฟ้องให้สมบูรณ์ รวมถึงความรับผิดทางละเมิด
น.ผู้พิทักษ์ของ ด.คนเสมือนไร้ความสามารถไม่ใช่ผู้แทนของ ด.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทน เมื่อ น.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยเป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความและทนายความลงชื่อในคำฟ้องอันเป็นการที่ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจาก ด. คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 35 เดิม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยการตรวจวินิจฉัยคำฟ้อง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานเป็นว่าด.ได้มอบให้ น.ฟ้องและดำเนินคดีแทนและได้รับความยินยอมจาก น.แล้ว และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง จึงมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ซึ่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมอบอำนาจให้ น.ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2 ซึ่งนำเข้าร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 3 โดยมีเครื่องหมายของจำเลยที่ 3 ติดอยู่ข้างตัวรถยนต์บรรทุกแล่นในซอยซึ่งเป็นถนนสายโทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับอยู่ในถนนสายกลางซึ่งเป็นถนนสายเอกล้มลงโดยประมาทไม่ดูรถที่แล่นอยู่ในถนนสายกลาง เหตุเกิดทื่สี่แยกถนนสายกลางตัดกับถนนซอยในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เจ้าของหัวรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ลากตัวรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 3หรือนำเข้าร่วมในกิจการขนส่งสินค้าด้วยกัน จำเลยที่ 3 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ นับแต่วันที่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันเกษียณอายุ เป็นการที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเพื่อการที่โจทก์เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง นั่นเองแต่โจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนับแต่โจทก์ถูกออกจากงานจนถึงวันที่โจทก์ถึงแก่กรรมเท่านั้น
เมื่อหนี้ตามคำฟ้องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6029/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คและการผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงในคดีอาญา ไม่ถือเป็นการระงับหนี้สัญญา
จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมต่อมาโจทก์นำเช็คฉบับดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่2เป็นคดีอาญาการที่โจทก์จำเลยที่1ตกลงกันในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่1ยอมชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวดๆและเมื่อจำเลยที่1ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องนั้นข้อตกลงดังกล่าวหาได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวยังมีเงื่อนไขว่าให้จำเลยที่1ชำระหนี้จนครบถ้วนเสียก่อนโจทก์จึงจะถอนฟ้องให้ข้อตกลงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันจะเป็นเหตุให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับไม่ จำเลยที่1ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์2ฉบับแต่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเมื่อไม่ปรากฎว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับใดต้องถือว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6029/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้เป็นงวดๆ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอม-ยอมความ การชำระหนี้บางส่วนยึดตามสัญญากู้ฉบับแรก
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมต่อมาโจทก์นำเช็คฉบับดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญา การที่โจทก์จำเลยที่ 1 ตกลงกันในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้แก่โจทก์เป็นงวด ๆและเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องนั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขว่าให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้จนครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จึงจะถอนฟ้องให้ ข้อตกลงหาใช่สัญญาประนีประนอม-ยอมความอันจะเป็นเหตุให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับไม่
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 2 ฉบับ แต่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับใดต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 328วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงว่าจะส่งไปทำงานต่างประเทศ
จำเลยกับพวกได้ไปที่บ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วได้ใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสองว่า จำเลยกับพวกสามารถส่งบุตรของผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยต้องเสียเงินแก่จำเลยกับพวก ผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อจึงได้มอบเงินจำนวน 210,000 บาท แก่จำเลยกับพวกไป โดยความจริงจำเลยกับพวกไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ และการที่ผู้เสียหายทั้งสองติดตามไปที่บ้านของจำเลย แต่จำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็น แสดงว่าขณะที่จำเลยกับพวกไปชักชวนผู้เสียหายทั้งสองก็ดี และขณะที่จำเลยกับพวกไปรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองก็ดี จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ส่งบุตรของผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งสอง
of 40