พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5094/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายและการข่มขู่เรียกทรัพย์ กรณีพิพาทเรื่องเงินค่าบริการทางเพศ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเจตนาข่มขู่เรียกทรัพย์
จำเลยที่2เข้าไปในห้องของโรงแรมกับผู้เสียหายและพร้อมที่จะให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีเพื่อจะได้เงินตอบแทนแล้วแม้ผู้เสียหายจะได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่2หรือไม่ก็ตามจำเลยที่2ก็คิดว่าตนควรจะได้รับค่าร่วมประเวณีกับผู้เสียหาย100บาทเต็มจำนวนเมื่อผู้เสียหายไม่ยอมจ่ายเงินให้ครบตามที่ตกลงและยังขู่ว่าจะนำตำรวจมาจับจำเลยที่2จึงได้ใช้ท่อน้ำประปาตีขาผู้เสียหายโดยผู้เสียหายกับจำเลยที่2ได้ทะเลาะวิวาทกันเรื่องเงินค่าร่วมประเวณีที่หน้าโรงเรียนจึงได้ทำร้ายกันที่จำเลยที่2ทวงเงินได้จากผู้เสียหายไป100บาทจึงไม่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายขู่เอาทรัพย์จากผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเมื่อผู้เสียหายถูกจำเลยที่2ตีแล้วขณะกำลังยืนเจ็บอยู่วิ่งไปตามจำเลยที่1และที่3มาจำเลยที่1ขู่ว่าจะให้หรือไม่และชกผู้เสียหาย1ทีและจำเลยที่3พูดว่าให้เขาไปเถอะเงิน100บาทเท่านั้นผู้เสียหายจึงยอมให้เงินจำเลยที่3ไป100บาทเพื่อเอาไปให้จำเลยที่2เป็นเรื่องที่จำเลยที่1และที่3เข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลังมิได้สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่2ในเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนเมื่อจำเลยที่2มิได้ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อขู่เข็ญให้ผู้เสียหายส่งเงินให้100บาทโดยมีเจตนาทุจริตแล้วจำเลยที่1และที่3ก็ไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่2ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยที่1และที่3คงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีบุกรุกและคดีมีทุนทรัพย์แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันบุกรุกทำให้เสียหาย หากนำไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 24,000 บาทจำเลยทั้งเจ็ดให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต่างแยกการครอบครอง ดังนั้นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 รวมกันมา ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 5 จะยื่นคำให้การรวมกันมาในคำให้การเดียวกันก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งพิพาทกับโจทก์แยกต่างหากจากกัน เพราะฉะนั้นค่าขึ้นศาลสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องคิดแยกต่างหากจากกันด้วย เมื่อที่ดินพิพาทในส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 พิพาทกับโจทก์มีราคา 111,199.25 บาท และ52,037.58 บาท ตามลำดับ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินมือเปล่าของโจทก์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนี้จึงเป็นการไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล และการจำกัดสิทธิฎีกาในคดีแชร์ การใช้ทุนทรัพย์ในการจำกัดสิทธิ
โจทก์เป็นหัวหน้าวงแชร์ จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 เป็นลูกวงแชร์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมูลแชร์และรับเงินที่ประมูลได้ไปแล้วไม่ผ่อนชำระค่าหุ้นแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีเดียวกัน ศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นอีกคดี และได้พิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลจนถึงชั้นพิจารณาของศาลฎีกา เกี่ยวกับการเสนอคำฟ้องต่อศาลคดีนี้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และเมื่อพิจารณาถึงคำฟ้อง ปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตของศาลทั้งคดีเกี่ยวเนื่องกันด้วย จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 แล้วให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันเล่นแชร์และค้างชำระเงินค่าหุ้นแชร์แก่โจทก์ตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน139,710 บาท และบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 31,063 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงห้ามจำเลยที่ 1 ฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีทุนทรัพย์จำนวน31,063 บาท ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาโต้เถียงให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างรับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน และไม่ได้ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันเล่นแชร์และค้างชำระเงินค่าหุ้นแชร์แก่โจทก์ตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน139,710 บาท และบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 31,063 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงห้ามจำเลยที่ 1 ฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีทุนทรัพย์จำนวน31,063 บาท ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาโต้เถียงให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างรับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน และไม่ได้ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของจำเลยแต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแชร์และการแบ่งแยกความรับผิดของจำเลยแต่ละคนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์เป็นหัวหน้าวงแชร์จำเลยที่1และที่2เป็นลูกวงแชร์ของโจทก์จำเลยที่1และที่2ประมูลแชร์และรับเงินที่ประมูลได้ไปแล้วไม่ผ่อนชำระค่าหุ้นแก่โจทก์โจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2เป็นคดีเดียวกันศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่2เป็นอีกคดีและได้พิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลจนถึงชั้นพิจารณาของศาลฎีกาเกี่ยวกับการเสนอคำฟ้องต่อศาลคดีนี้เมื่อพิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและเมื่อพิจารณาถึงคำฟ้องปรากฏว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตของศาลทั้งคดีเกี่ยวเนื่องกันด้วยจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำศาลอุทธรณ์พิพากษาเฉพาะจำเลยที่2แล้วให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่2เป็นคดีใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันเล่นแชร์และค้างชำระเงินค่าหุ้นแชร์แก่โจทก์ตามฟ้องแต่เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยที่1ชำระเงิน139,710บาทและบังคับให้จำเลยที่2ชำระเงิน31,063บาทจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงห้ามจำเลยที่1ฎีกาในข้อเท็จจริงส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2มีทุนทรัพย์จำนวน31,063บาทศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่2จะฎีกาโต้เถียงให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1และที่2ต่างรับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากันและไม่ได้ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของจำเลยแต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้แทนของบริษัท ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว แม้ทุนจดทะเบียนน้อยกว่ามูลค่างาน
จำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา75เดิมบัญญัติว่าอันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้นเมื่อจำเลยที่2และที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1มอบหมายให้จำเลยที่3ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดีก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำเลยที่1ได้รับผลงานจากการจ้างที่จำเลยที่2และที่4ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างก็ดีลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดีหรือจำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่1ก็ดีตลอดจนที่จำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่างๆก็ดีแม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่1ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่2และที่4กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่1นั่นเองและแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่1จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่1ว่าจ้างโจทก์แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่1ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคารนอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยที่1เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่2และที่4ซี่งเป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลและกรรมการ: การกระทำของผู้แทนของนิติบุคคลผูกพันนิติบุคคล
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่ 1ตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา 75 เดิม บัญญัติว่า อันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่ 4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดี ก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ได้รับผลงานจากการจ้าง ที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก็ดี ลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดี หรือจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ดี ตลอดจนที่จำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่าง ๆ ก็ดี แม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่ 1 นั่นเอง และแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่ 1 ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคาร นอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์และการรับประกันความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟ มิใช่ความเสียหายจากอุบัติเหตุ
บัตรรับประกันในการซื้อขายรถมีข้อยกเว้นความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุเมื่อสาเหตุไฟลุกไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องของระบบไฟเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ของรถยนต์คันพิพาทได้รับความเสียหายมิได้เกิดจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนกับรถคันอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่นในถนนแม้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายของโจทก์และจำเลยแต่มิใช่เกิดจากอุบัติเหตุจำเลยจึงต้องรับผิด แม้ในบัตรรับประกันจะระบุว่าโจทก์จะต้องนำรถมาซ่อมที่ห้างจำเลยเท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำรถยนต์คันพิพาทไปจอดไว้ที่ห้างจำเลยเพื่อซ่อมจำเลยปฏิเสธไม่ยอมรับผิดอ้างว่าเป็นอุบัติเหตุโจทก์จึงต้องนำรถยนต์คันพิพาทไปจ้างบริษัทอื่นซ่อมดังนี้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าซ่อมแก่โจทก์ ค่ายกเครื่องค่าเปลี่ยนฝากระโปรงหน้าค่าเคาะพ่นสีค่ายกรถและชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีการซ่อมและเปลี่ยนใหม่เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องยนต์และเป็นส่วนประกอบเพื่อให้รถอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆดังกล่าวไม่ถือว่าอยู่นอกเหนือเงื่อนไขของการรับประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทที่เป็นสินสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนโอน
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี 2525เป็นทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 99 เดิม เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งมาตรา 7 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯ และไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ดังนั้น สามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 มาตรา 1468 การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1469 ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อน หากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล โจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตาม ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 1475
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56 วรรคสอง ก่อน แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จ จึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นข้อบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้อง
โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน