พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากสามี หากไม่ได้รับความยินยอมถือว่าขาดความสามารถในการฟ้อง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขถูกบอกเลิกได้เมื่อเกิดข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ไม่สามารถโอนได้ ผู้ขายต้องคืนเงิน
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังมา แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังมายังไม่ชัดเจนพอ ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันจนกว่าจะมีการจดทะเบียน หากมีข้อห้ามตามกฎหมาย คู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมาแต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมายังไม่ชัดเจนพอศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้ ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสานโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่าหากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ1ปีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน65,000บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเป็นแทนเจ้าของ และการสละเจตนาครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีน.ส.3ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้วแต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน5ปีการซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของแม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา1377,1379 การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทนจึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1374 ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไรเป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินช่วงติดเงื่อนไขห้ามโอน และผลของการครอบครองที่ดินหลังสัญญาเป็นโมฆะ
ที่ดินพิพาทมี น.ส.3 ก.ที่ทางราชการออกให้แก่มารดาโจทก์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 ก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวมารดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและมอบการครอบครองให้แล้ว แต่การซื้อขายมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นที่ดินที่ทางราชการห้ามโอนภายใน 5 ปี การซื้อขายจึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม
ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของ แม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา 1377, 1379
การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอน ผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทน จึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้อง ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ส่วนการครอบครองที่ดินพิพาทของผู้รับโอนดังกล่าวต้องถือว่าเป็นการครอบครองไว้แทนเจ้าของ แม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังคงถือว่าการครอบครองไว้แทนตลอดมาจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา 1377, 1379
การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอน ผลก็เท่ากับการสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามโอนตกเป็นโมฆะเช่นกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นการครอบครองแทน จึงไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้โอนที่ดินไม่ถูกต้อง ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องผิดพลาดอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3372/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเป็นแทนเจ้าของเดิม แม้พ้นกำหนดห้ามโอน สิทธิครอบครองไม่เกิด
มารดาโจทก์ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งยังอยู่ภายในข้อกำหนดห้ามโอนให้จำเลยโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งตกเป็น โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม การครอบครองของผู้รับโอนจึงต้องถือว่าเป็นการ ครอบครองแทนเจ้าของที่ดินพิพาทแม้พ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ยังคงถือว่าครอบครองไว้แทนจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา1381หรือจนกว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะ แสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตามมาตรา1377,1379การที่โจทก์รื้อบ้านไปในระยะเวลาห้ามโอนเท่ากับสละเจตนาครอบครองเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามโอนตกเป็น โมฆะเช่นกันคดีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องฟ้องเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนภายใน1ปีตามมาตรา1374
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอนาถา: ศาลจำกัดเฉพาะทุนทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หากไม่ชำระส่วนที่เหลือ ถือไม่ติดใจอุทธรณ์
โจทก์ขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ 100,000 บาทหากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีในทุนทรัพย์ที่มากกว่านี้ก็ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลภายใน 10 วัน โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถามาชำระ แต่ได้มีการขอให้พิจารณาใหม่เพื่อให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบว่า โจทก์เป็นคนยากจนในจำนวนทุนทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอีก จำนวน 300,000 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระตามที่ศาลมีคำสั่งภายใน 15 วัน หากเพิกเฉยถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ต่อไป เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามที่ศาลสั่งมาชำระ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์นั้นจึงหมายถึงค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: ศาลรับอุทธรณ์ในส่วนที่ได้รับอนุญาตค่าธรรมเนียม
โจทก์ขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์100,000บาทหากโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีในทุนทรัพย์ที่มากกว่านี้ก็ให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลภายใน10วันโจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถามาชำระแต่ได้มีการขอให้พิจารณาใหม่เพื่อให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบว่าโจทก์เป็นคนยากจนในจำนวนทุนทรัพย์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอีกจำนวน300,000บาทศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระตามที่ศาลมีคำสั่งภายใน15วันหากเพิกเฉยถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ต่อไปเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามที่ศาลสั่งมาชำระการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลได้ไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์นั้นจึงหมายถึงค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะจากการถูกทำร้ายก่อน ศาลพิจารณาเหตุป้องกันตัวเองและข่มเหงอย่างร้ายแรง
สาเหตุฆ่ากันเกิดจากจำเลยและผู้ตายขับรถส่วนกันต่างไม่ยอมหลีกทางให้แก่กัน ผู้ตายโกรธจำเลยจึงใช้มีดดาบฟันจำเลยก่อน ถูกร่างกายมีบาดแผลสองแห่ง จำเลยเจ็บปวดจึงเกิดโทสะอย่างแรงกล้า เมื่อจำเลยแย่งมีดดาบจากผู้ตายได้ จึงฟันผู้ตาย 3 แผล ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเข้าอยู่ในลักษณะบันดานโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและไม่กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากถูกข่มเหง: การโต้เถียงนำไปสู่การทำร้ายร่างกายและเสียชีวิต
สาเหตุฆ่ากันเกิดจากจำเลยและผู้ตายขับรถสวนกันต่างไม่ยอมหลีกทางให้แก่กัน ผู้ตายโกรธจำเลยจึงใช้มีดดาบฟันจำเลยก่อน ถูกร่างกายมีบาดแผลสองแห่ง จำเลยเจ็บปวดจึงเกิดโทสะอย่างแรงกล้า เมื่อจำเลยแย่งมีดดาบจากผู้ตายได้ จึงฟันผู้ตาย 3 แผล ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยจึงเข้าอยู่ในลักษณะบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ตาม ป.อ. มาตรา 288ประกอบมาตรา 72