พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน ทางออกสู่ถนนสาธารณะสำคัญ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดได้หากรู้เห็น
ข้อตกลงรับรองว่าที่ดินที่ซื้อขายมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ สามารถแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินได้ และไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะใช้บังคับกันได้ ดังนั้นแม้ ในสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุข้อตกลง เรื่องทางออกสู่ถนนสาธารณะไว้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจาก ความรับผิดตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อปรากฏภายหลังว่า ที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะตามข้อตกลงเป็นผลให้ ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำลง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่จำเลยที่ 2 ก็รับว่าที่ดินพิพาทได้มาหลังจากจำเลยทั้งสองแต่งงานกัน อันถือได้ว่าเป็นสินสมรส ซึ่งในวันทำสัญญาจะซื้อขายและวันจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2ได้ร่วมไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นให้ความยินยอมในการ ที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินเท่าใดแน่แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอย่างที่ดินที่มีทางออกสู่ ถนนสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ย่อมทำให้คุณค่าหรือราคาที่ดินพิพาทตกต่ำลง ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหาย ในส่วนนี้ให้ตามความเหมาะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาในที่ดินของตนเอง และการสันนิษฐานความรู้เห็นในการปลูก
แม้โจทก์ไม่มีพยานเห็นจำเลยปลูกกัญชา แต่ต้นกัญชาปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองเป็นสัดส่วน แยกต่างหากจากที่ดินของผู้อื่นโดยปลูกแซม กับต้นกาแฟ และมีความสูงเฉลี่ย 2 เมตร แสดงว่าต้องใช้ระยะเวลานาน พอสมควร จำเลยน่าจะรู้เห็นจึงไม่มีเหตุให้สงสัยว่า ต้นกัญชามิใช่ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ ผู้กู้ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวน 360,000 บาท ระบุว่าเพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่ง ข้าพเจ้าได้กู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับแนบคู่สัญญาให้ท่านยึดไว้เป็นประกันด้วย ข้อความที่ระบุดังกล่าวมีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปมิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าในจำนวนเงินซึ่งข้าพเจ้าได้กู้ไปนี้ ข้าพเจ้าจะนำมาใช้ให้ท่านเสร็จภายในวันที่ 2กรกฎาคม 2539 ซึ่งเป็นวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้เพราะมีความหมายเพียงว่า จำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ภายในวันที่ที่ระบุไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้ต่อมา จำเลยจะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์ อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ ไม่ผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 360,000 บาทและมีข้อความระบุไว้ในสัญญาว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับ ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันด้วยย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าเช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่า ในจำนวนเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยจะนำมาใช้ให้โจทก์เสร็จภายในวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 แม้ต่อมาจำเลยจะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่หาให้จำเลยกลับมีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเป็นหลักประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นเช็คชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์ และมีข้อความระบุไว้ในสัญญาว่า เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้จำเลยได้นำเช็คจำนวน 1 ฉบับ ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันด้วยย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า เช็คฉบับดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์เป็นหลักประกันในการที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป มิใช่เช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ แม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าในจำนวนเงินซึ่งจำเลยได้กู้ไปนี้ จำเลยจำนำมาใช้ให้โจทก์เสร็จภายในวันที่ลงไว้ในเช็คก็ตาม ก็จะตีความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อ เป็นหลักประกันการชำระหนี้ มิได้ออกเพื่อชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แม้ต่อมาจำเลย จะได้ขอผัดผ่อนชำระเงินต้นคืนแก่โจทก์ และขอให้โจทก์ อย่านำเช็คไปเรียกเก็บเงินก็ไม่ทำให้จำเลยกลับมีความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กและการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185, 215, 225
ป.อ.มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็กจะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม
ป.อ.มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็กจะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากเด็กและการสมรสหลังเกิดเหตุการณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก แต่ต่อมาระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและ ผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต จำเลยจึง ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็น ความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การที่ เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของ บุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุ อันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้ว ส่วนการที่ จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาการกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก เหตุอันสมควร และข้อยกเว้นความผิด
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317เพื่อเอาโทษแก่ผู้ที่พรากเด็ก แม้เด็กเต็มใจไปด้วยการพรากเด็กตามมาตรานี้มิได้จำกัดว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใด ถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีแล้วย่อมเป็นความผิดแม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต มีความรู้สึกผิดชอบเกินกว่า ปกติก็ตาม และการพรากก็มิได้จำกัดว่าพรากไปเพื่อประสงค์ใด หรือประโยชน์อย่างใดเพียงแต่มีเจตนาพรากเด็กไปเสียจาก บิดามารดาก็เป็นความผิดแล้ว แต่ถ้าจำเลยพรากเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ปรากฏว่าผู้เสียหายกำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพราก ผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาขณะที่บิดามารดาจำต้อง อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง ที่เป็นผู้เยาว์และมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรอันเป็นสิทธิ และหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การกระทำของจำเลยจึงปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจ ต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้สมรสและมีบุตรด้วยกัน การกระทำของจำเลย ขาดเจตนากระทำเพื่อการอนาจาร จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและการสมรสภายหลัง – ผลต่อการดำเนินคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลย และผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเอง ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิดและต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาและ บิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมี เจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลย ขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การครอบครองที่ดินหลังสัญญา และการไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอน
ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร. มารดาจำเลยที่ 1 เมื่อปี 2526 ร. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527 ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิ ของจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร. ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่ ร. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร. ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร.แสดงว่าโจทก์และ ร. มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร. มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัส ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง