คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังสัญญาจะซื้อจะขาย สิทธิการครอบครองยังคงเป็นของผู้ขายเดิมจนกว่าจะมีการโอนสิทธิอย่างถูกต้อง
ที่ดินตาม น.ส.3 ก.ที่พิพาทเดิมเป็นของ ร.มารดาจำเลยที่ 1เมื่อปี 2526 ร.จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ต่อมาปี 2527ร.ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนเพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ ศาลพิพากษาให้ถอนคืนการให้ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ ร.ยังมิได้ไปจดทะเบียนการได้มาและได้ถึงแก่ความตายในปี 2531 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้นำ น.ส.3 ก.ของที่ดินพิพาทซึ่งยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองไปทำการจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ยึดถือครองทำนาและปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทตลอดมา เป็นการยึดถือครอบครองแทน ร. โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครอง คดีนี้โจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ร.ให้โอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่ ร.ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ โดยระบุว่าผู้ขายและให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งสิ้น และในระหว่าง ร.ยังมีชีวิตโจทก์เคยไปติดต่อขอต้นฉบับ น.ส.3 ก. คืนจากจำเลยที่ 1 และเคยไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน แต่พนักงานเจ้าหน้าที่อ้างว่าไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ เพราะไม่มีต้นฉบับที่ดินพิพาท ทั้งตอนซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทราบว่า ร.ยังไม่ได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนโอนมาเป็นของ ร. แสดงว่าโจทก์และ ร.มีเจตนาที่จะโอนสิทธิการครอบครองที่ดินพิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อ ร.มิได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ยึดถือครอบครองทำนาและปลูกยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท จึงเป็นการยึดถือครอบครองแทน ร.ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ก่อน หากไม่สามารถทำได้จึงชดใช้ราคาได้ ศาลเพิกถอนคำสั่งเดิมชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา พิพากษายืนตาม พิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน2 แปลงที่พิพาทกันให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หรือให้จำเลยใช้เงินค่าที่ดินแก่โจทก์ในส่วนที่จำเลยไม่สามารถโอนคืนแก่โจทก์ได้นั้น เป็นเรื่องที่กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับในคำพิพากษา จำเลยไม่มีสิทธิเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามอำเภอใจ เมื่อข้ออ้างที่จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ไม่ใช่เหตุพ้นวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธิชดใช้ราคาที่ดินพิพาทแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยชดใช้เงินค่าที่ดินแทนการที่จำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ก่อน โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยจนทำให้จำเลยไม่สามารถโอนได้นั้น คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีที่สั่งไปโดยผิดหลง เป็นคำสั่งไม่ชอบและเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียทั้งหมดหรือบางส่วนได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวโดยไม่ได้ ส่งสำเนาคำร้องของ โจทก์ให้จำเลยทราบ จึงชอบด้วย กระบวนพิจารณาแล้วไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินทอดตลาด: การกลฉ้อฉลต้องระบุรายละเอียดชัดเจน และการขัดขวางการใช้ประโยชน์เป็นเหตุให้เกิดค่าเสียหาย
ในคำให้การของจำเลยบรรยายเพียงว่า ที่ดินพิพาทยังเป็น ของจำเลยซึ่งถูกโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.ทำกลฉ้อฉลเท่านั้นมิได้บรรยายว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก.กระทำการอย่างใดอันเป็นเหตุแห่งกลฉ้อฉลไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้นำสืบข้ออ้างดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะให้จำเลยนำสืบถึงรายละเอียดเหล่านี้ ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมกับธนาคาร ก. ทำกลฉ้อฉลจำเลยเมื่อโจทก์มีหลักฐานเอกสารมาแสดงว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากธนาคาร ก. โจทก์จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ที่ดินพิพาทสามารถนำไปใช้เพาะปลูกหรือทำประโยชน์ใด แต่การที่จำเลยเข้าขัดขวาง มิให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย อยู่ในตัว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามความเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลมีสิทธิไม่คืนค่าธรรมเนียม
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้ เมื่อ ป.วิ.พ.มาตรา 132 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้นตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนดให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่ง ป.วิ.พ. แม้ตามมาตรา 132 จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง และวรรคสองเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดระเบียบให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมเหมือนอย่างการคืนค่าธรรมเนียมตามมาตรา 151 ที่กล่าวข้างต้น ส่วนการที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความโดยไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ กรณีเช่นว่านี้เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นและให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรนั้น ตามบทบัญญัติของมาตรานี้ไม่ได้กำหนด ให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมเหมือนอย่างบทบัญญัติตามมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้ตามมาตรา 132จะมีข้อความว่าให้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่ มิใช่บังคับให้ศาลต้องสั่ง การที่โจทก์อ้างว่าศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมให้แก่โจทก์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการนั้นระเบียบดังกล่าวเป็นแต่เพียงการแนะนำแนวทางปฏิบัติให้คืนค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคสอง เฉพาะกรณีเมื่อได้มีการถอนคำฟ้องหรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความเท่านั้น ดังนั้นจึงชอบที่ศาลจะไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด: เงินที่ได้จากการขายยาเสพติด
จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขายอีกจำนวน 150 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย น้ำหนักรวมกันทั้งหมด 15.25 กรัม เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย และยึดได้ธนบัตรจำนวน 44,000 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นไป เมื่อ ป.อ.มาตรา 33 (2) บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย ดังนี้ เมื่อธนบัตรจำนวน 44,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยถูกจับในคดีนี้ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบเงินของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด: เงินจากการขายยาเสพติดเข้าข่ายริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ดให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขายอีกจำนวน 150 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย น้ำหนักรวมกันทั้งหมด 15.25 กรัม เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย และยึดได้ธนบัตรจำนวน 44,000 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นไป เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย ดังนี้ เมื่อธนบัตรจำนวน 44,000 บาทเป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยถูกจับในคดีนี้ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบเงินของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองฝิ่นเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับสถานที่และเจตนา
จำเลยเป็นผู้เช่าแพปลาอันเป็นสถานที่ค้นพบฝิ่นของกลางโดยลักษณะแพปลาที่เกิดเหตุนั้นสภาพภายนอกก่อสร้างด้วยอิฐบล็อกและอีกส่วนหนึ่งเป็นกำแพง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ มีประตูเข้าออกได้สองทาง ประตูหน้าเป็นประตูเหล็กปิดไว้อย่างแน่นหนาและใส่กุญแจไว้ ส่วนประตูอีกด้านหนึ่งปิดตายไว้ซึ่งจะเปิดจากด้านนอกไม่ได้ต้องเปิดจากด้านในเท่านั้น ในวันที่ตรวจค้นนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้งัดกุญแจก่อนแล้วจึงเข้าไปได้ แสดงให้เห็นว่าแพปลาที่เกิดเหตุนี้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปได้โดยลำพังเพราะสถานที่มิดชิดแน่นหนากับใส่กุญแจที่ประตูเหล็กด้านหน้าด้วย ดังนั้น จึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าฝิ่นดิบของกลางที่ค้นพบในแพปลา เป็นของจำเลยโดยจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนมากเพื่อนำไปจำหน่ายจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การแต่งตั้งทนายความ และการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
จำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วม ที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมี สิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่งแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส. ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส. แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ การกระทำของ ส. เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีกจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามมาตรา 243(2) ประกอบ มาตรา 247 แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น. ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกแสดงว่า จำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการซื้อที่ดินโดยสุจริต
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้หมายเรียก จำเลยร่วมที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลย เพราะบุคคลทั้งสี่อ้างว่าเป็นญาติและบริวารของจำเลยได้บุกรุกเข้าไปปลูกบ้านเรือนในที่ดินพิพาทคนละหลัง ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้หมายเรียกบุคคลทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยกำหนดให้ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนด 15 วัน ในการส่งหมายเรียกดังกล่าวเจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไปส่งให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 โดยจำเลยร่วมที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไว้แทนจำเลยร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แต่จำเลยร่วมที่ 4 มีบ้านอยู่ต่างหากจากบ้านของจำเลยร่วมที่ 1 ดังนี้เมื่อจำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ดังนั้น จำเลยร่วมที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมีสิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส.ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส.ได้แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยานจึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ และเมื่อการกระทำของ ส.ดังกล่าวเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส.มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีก กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์และจำเลยร่วมที่ 4 โดยให้จำเลยร่วมที่ 4 ยื่นคำให้การใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามมาตรา 243 (2)ประกอบมาตรา 247
แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น.กับพวกขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น.ไปแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินแปลงพิพาทของ น.อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทของ น.ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในกรณีเช่นว่านี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330
of 40