พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ พยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้ตามกฎหมาย
การรับสภาพหนี้นั้น ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปเพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)บัญญัติว่า ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพให้ก็ตาม หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็ใช้ได้ ดังนั้นการรับสภาพหนี้จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการค้ำประกันเงินกู้ที่สมบูรณ์ และสิทธิของโจทก์ในการบังคับคดีผู้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่ มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.นั้น ถ้า ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดีหรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ไม่ได้ โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้วข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้ยืมคือจำเลยที่ 1เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการค้ำประกัน การลงลายมือชื่อในเอกสารประกอบสัญญา
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่...มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง...ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่...เดือน...พ.ศ... นั้น ถ้า...ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดี หรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่...ไม่ได้โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่...ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้ว ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมคือจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถระงับหนี้ได้หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้มีการเปลี่ยนเช็ค และการแก้ไขวันที่สั่งจ่ายไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ
จำเลยชำระหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ค่าซื้อขายผ้าด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงินแต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอดธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายประกอบการที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิมจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ ศ. แก้ไขวันที่สั่งจ่ายซึ่งเป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่ได้ยินยอมด้วย จำเลยกับ ศ.ได้ร่วมกันซื้อสินค้าจากโจทก์และจำเลยกับ ศ. มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท จำเลยและศ.มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีที่เปิดร่วมกันได้จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ศ. เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทยังคงใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง และแม้จะมีการบังคับคดีแพ่งโดยมีการยึดทรัพย์ของจำเลยกับ ศ. สามีจำเลย แต่โจทก์ก็ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ ยังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงยังไม่เกินกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เช็คชำระหนี้ซื้อขายสินค้า การแก้ไขเช็ค และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงิน
เดิมจำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าผ้าแก่โจทก์ด้วยเช็คหลายฉบับและหลายครั้ง แต่เช็คส่วนใหญ่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงเปลี่ยนเช็คเป็นเช็คพิพาทและเช็คอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ฉบับ ให้แก่โจทก์แทน ซึ่งเช็คพิพาทธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์มีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อสินค้าผ้ายืดของโจทก์ การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกัน แม้หนี้เป็นรายเดียวกัน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกันแม้หนี้รายเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การรับซื้อสุราที่ได้จากการลักทรัพย์จากญาติ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยผิด
เด็กหญิง อ. มีนิสัยชอบลักขโมยซึ่งจำเลยก็ทราบดี บ้านผู้เสียหายก็อยู่ใกล้บ้านจำเลย เด็กหญิง อ. ไปมาหาสู่บ้านจำเลยบ่อย ๆ จำเลยจึงน่าจะทราบความเป็นไปในบ้านผู้เสียหายจากเด็กหญิง อ. เมื่อเด็กหญิง อ. ลักสุราต่างประเทศจากบ้านผู้เสียหายได้ก็น่าจะนำไปขายให้คนบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งล้วนแต่เป็นญาติกัน จำเลยควรจะทราบดีว่าสุราต่างประเทศไม่ใช่ของเด็กหญิง อ. แน่นอน การที่เด็กหญิง อ. เบิกความว่าได้ลักสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปขายแก่จำเลย 5 ขวด แม้จะเป็นการซัดทอด แต่ก็มีพยานอื่นและเหตุผลประกอบจึงรับฟังได้ เชื่อได้ว่าจำเลยได้รับซื้อสุราต่างประเทศที่เด็กหญิง อ. ลักมาจากบ้านผู้เสียหายโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าที่เด็กหญิง อ. เบิกความว่าได้ลักสุราต่างประเทศของผู้เสียหายมาขายแก่จำเลยตามที่จำเลยบอก จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับเด็กหญิง อ. ต้องถือว่าจำเลยรับสุราต่างประเทศจากเด็กหญิง อ. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการลักทรัพย์ที่จำเลยเป็นผู้ใช้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้ความว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบรับฟังลงโทษในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องได้แล้ว ศาลก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานอื่นซึ่งโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้ลงโทษอีกหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยได้ร่วมกระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้หรือเป็นตัวการร่วมกันลักทรัพย์กับเด็กหญิง อ. หรือไม่
จำเลยเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จำเลยรับซื้อสุราต่างประเทศเพื่อต้องการจะมีไว้บริโภคในราคาถูกเท่านั้น อีกทั้งเป็นการกระทำผิดในระหว่างวงศ์ญาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สู้ร้ายแรงนัก จึงสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
จำเลยเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จำเลยรับซื้อสุราต่างประเทศเพื่อต้องการจะมีไว้บริโภคในราคาถูกเท่านั้น อีกทั้งเป็นการกระทำผิดในระหว่างวงศ์ญาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่สู้ร้ายแรงนัก จึงสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6986/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลต่อการลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เดิมทุกฉบับและให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่มีระบุว่า เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป แต่ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีน เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การขายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดซึ่งให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ป.อ.มาตรา 3วรรคหนึ่ง คือ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาค้ำประกัน – การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อน เพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 91 ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 91 ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว