พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง และการรับฟังพยานหลักฐานในสัญญาค้ำประกันที่มีการเสียค่าอ้าง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนเพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 91 ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 91 ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาค้ำประกัน – การโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อน เพราะสัญญากู้ยืมเงิน 80,000 บาท มิได้มีการกู้ยืมเงินกันจริงมูลหนี้เดิมเป็นการซื้อขายทองรูปพรรณ หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินไม่นั้น เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 91 ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ยอมรับไว้ว่าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 อีกทั้งจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าอ้างเอกสารตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย ล.4 แล้ว ซึ่งเป็นเอกสารเรื่องเดียวกันและคู่ความทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานร่วมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 91 ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6579/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน: ผู้รับผิดคือผู้ควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่ผู้ค้าน้ำมัน
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาสำหรับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน เป็นการเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 110 และมาตรา 122 ซึ่งมาตรา 110 ได้ระบุตัวผู้รับผิดไว้คือ นายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ แม้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติความรับผิดทางอาญาแต่ก็เนื่องมาจากความรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาอันเป็นความรับผิดทางแพ่งการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยานเป็นการกระทำการงานอย่างหนึ่งอย่างใดแก่อากาศยาน ซึ่งนายเรือหรือผู้ควบคุมอากาศยานเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบิน เพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยานแม้จะเป็นผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อพนักงานศุลกากรแต่จำเลยก็ไม่ใช่นายเรือและไม่ได้ความว่าเป็นตัวแทนนายเรือและไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อพนักงานศุลกากรเป็นผู้รับผิด จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายเช่าซื้อ และเขตอำนาจศาล กรณีข้อตกลงทำสัญญาที่สำนักงานใหญ่
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่รถยนต์ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมราคานอกเหนือจากการที่จำเลยใช้รถยนต์นั้นโดยชอบ ป.พ.พ.บรรพ 3. ลักษณะ 5ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยตรง แต่การที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นแต่เพียงเช่าทรัพย์นั้นไป โดยมีคำมั่นของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่าจะขายทรัพย์นั้นให้เท่านั้น จึงต้องนำมาตรา 562 ในลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนได้วันที่ 23 มีนาคม 2537กรณีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 7 กันยายน 2537ยังไม่เกินกำหนด 6 เดือน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย
ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4 (1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้ง ป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7 (4) เดิม ว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตามสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย
ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4 (1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้ง ป.วิ.พ.ที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7 (4) เดิม ว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเสียหายรถยนต์เช่าซื้อ, การฟ้องนอกคำขอ, เขตอำนาจศาล: ประเด็นสำคัญในคดีเช่าซื้อรถยนต์
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่รถยนต์ชำรุดทรุดโทรมเสื่อมราคานอกเหนือจากการที่จำเลยใช้รถยนต์นั้นโดยชอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3, ลักษณะ 5 ว่าด้วยเช่าซื้อ มิได้บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องไว้โดยตรงแต่การที่จำเลยในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นแต่เพียงเช่าทรัพย์นั้นไปโดยมีคำมั่นของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่าจะขายทรัพย์นั้นให้เท่านั้น จึงต้องนำมาตรา 562 ในลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนได้วันที่ 23 มีนาคม 2537 กรณีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่7 กันยายน 2537 ยังไม่เกินกำหนด 6 เดือน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะเรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ไม่ได้เรียกร้องเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญาต่อโจทก์ก็ตาม แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์กล่าวว่าโจทก์ได้ทวงถามค่าเช่าซื้อจากจำเลยผู้เช่าซื้อแล้วจำเลยผิดนัดโจทก์ได้รับความเสียหาย กรณีถือได้ว่า โจทก์ได้เรียกค่าเสียหายฐานจำเลยใช้รถยนต์อันเป็นทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลย ยังคงครอบครองรถยนต์ของโจทก์อยู่ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เขตอำนาจศาลว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง ย่อมเป็นไปตาม สภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลว่าศาลนั้นมีอำนาจฟ้องที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและต้องปรากฏว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้องและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขตศาล ตามมาตรา 2 ด้วย ขณะโจทก์จำเลยทำข้อตกลงกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535ที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร ว่าตกลงให้ฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง ขณะนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขแล้ว มาตรา 4(1) ซึ่งใช้บังคับอยู่ได้บัญญัติให้ฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลได้ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ และมาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดีถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้เช่นนี้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลขึ้นไปคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขแล้วก็ได้ยกเลิกบทบัญญัติตาม มาตรา 7(4) เดิมว่าด้วยข้อตกลงที่คู่สัญญาตกลงที่คู่สัญญาตกลงกันล่วงหน้าให้ฟ้องคดีที่ศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีขึ้นและอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาข้างต้นจึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6322/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าต้องพิสูจน์ได้ การยิงขณะหลบหนีไม่ถึงขั้นพยายามฆ่า
ขณะที่จำเลยวิ่งหลบหนีสิบตำรวจตรี ส. และพลตำรวจ ส. จำเลยหันมายิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสอง1 นัด เพื่อให้พ้นจากการจับกุม จากนั้นหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้โดยมิได้ยิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอีกเช่นนี้ จะฟังว่าการยิงปืนของจำเลยดังกล่าวเป็นการจ้องเล็งปืนยิงตรงไปยังเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองโดยมีเจตนาฆ่าหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ: แสงสว่างไม่เพียงพอและไม่เคยรู้จักจำเลย
ผู้เสียหายเห็นคนร้ายโดยอาศัยแสงเทียนเล่มเล็ก ๆ เล่มเดียวซึ่งไม่น่าจะมีแสงสว่างเพียงพอในที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายไม่เคยเห็นหน้าและไม่รู้จักจำเลยมาก่อนไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้าย ดังนั้น การเห็นภาพถ่ายจำเลยและชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้ายจึงไม่อาจรับฟังสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายได้กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม – การพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้บริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่ครอบคลุมความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากทรัพย์สินถูกโจรกรรม ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิรับช่วง
ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณเอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2 เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท. ผู้ซื้อบริการ แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท. คู่สัญญาเพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วน ของธนาคาร ท. ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท. สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท. เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญา ที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท. ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ธนาคาร ท.จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท. มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้