พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขาย: ศาลยืนตามสัญญาแม้ไม่พิสูจน์ความเสียหายจริง ลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
จำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจาก บ. แล้วทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกนั้นให้แก่โจทก์ ในวันโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทนั้น โจทก์เตรียมแคชเชียร์เช็ค จำนวนเงิน530,000 บาท พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ณ เวลาที่กำหนดกล่าวคือ แคชเชียร์เช็คได้ระบุวันสั่งจ่ายก่อนถึงกำหนดการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาท 2 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่อจำเลยครบถ้วนแล้วแต่เหตุที่ไม่ได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทต่อกันเนื่องจากจำเลยขอให้เพิ่มเติมข้อความลงในสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับ บ. ว่า เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าแล้วหากสัญญาเช่าสิ้นสุดผู้เช่าต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ถ้าไม่ออกจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระและความรับผิดแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ตกลงกำหนดกันไว้ในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขาย - ไม่ต้องพิสูจน์ความเสียหายจริง - ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
จำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจาก บ. แล้วทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกนั้นให้แก่โจทก์ ในวันโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทนั้น โจทก์เตรียมแคชเชียร์เช็ค จำนวนเงิน530,000 บาท พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ณ เวลาที่กำหนดกล่าวคือ แคชเชียร์เช็คได้ระบุวันสั่งจ่ายก่อนถึงกำหนดการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาท 2 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่อจำเลยครบถ้วนแล้วแต่เหตุที่ไม่ได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทต่อกันเนื่องจากจำเลยขอให้เพิ่มเติมข้อความลงในสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับ บ. ว่า เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าแล้วหากสัญญาเช่าสิ้นสุดผู้เช่าต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ถ้าไม่ออกจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระและความรับผิดแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ตกลงกำหนดกันไว้ในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้น เนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ. แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่า โจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ. แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่า ถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 380 และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเกิดขึ้นบนที่ดินของผู้อื่น มิใช่ที่ดินของตนเอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปก่อสร้างรั้วกำแพงคอนกรีต สิ่งปลูกสร้างและปลูกต้นไม้ในที่ดินโจทก์ ขอให้รื้อถอนออกไป จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยกระทำลงบนที่ดินของจำเลยที่ซื้อมา หลังจากซื้อมาแล้วจำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้วดังนั้น รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2540)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: การรุกล้ำที่ดิน vs. การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย การวินิจฉัยประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปก่อสร้างรั้วกำแพงคอนกรีต สิ่งปลูกสร้างและปลูกต้นไม้ในที่ดินโจทก์ ขอให้รื้อถอนออกไป จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยกระทำลงบนที่ดินของจำเลยที่ซื้อมา เมื่อซื้อมาแล้วจำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว เห็นได้ว่ารูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การนั้นไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งทรัพย์สินมรดก, การครอบครองเป็นส่วนสัด, นิติกรรมซื้อขายคืน (ไม่มีผลผูกพัน)
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาจำเลยทั้งสี่ในที่ดินมีโฉนด โจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ได้แยกกันครอบครองที่ดินตามส่วนของตนเป็นส่วนสัด เมื่อบิดาจำเลยทั้งสี่ตาย จำเลยทั้งสี่ได้รับมรดกที่ดินส่วนของบิดา โจทก์ทั้งสองต้องการจะขอแบ่งแยกที่ดินตามส่วน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม จำเลยทั้งสี่ให้การยอมรับว่าโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยจริง แต่เป็นเรื่องบิดาจำเลยทั้งสี่กู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสองไปจำนวน 40,000 บาทแล้วมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ได้ยอมให้ครอบครองเป็นส่วนสัด กับฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืนเป็นเงิน50,000 บาท จำเลยทั้งสี่จะขอซื้อที่ดินคืนโจทก์ทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์ทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีข้อตกลงกับบิดาจำเลยทั้งสี่ดังที่จำเลยทั้งสี่อ้าง ดังนี้ ตามฟ้องโจทก์และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งแยกที่ดินที่โจทก์ทั้งสองมีกรรมสิทธิ์ร่วม จำเลยทั้งสี่มิได้ให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นของจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อจำเลยทั้งสี่แพ้คดีในศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งโดยอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ ให้บิดาจำเลยทั้งสี่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคา 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่กับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่ามีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ทั้งสองในราคา 50,000 บาท หรือไม่ ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์และต้องถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์ตามราคาในข้อตกลงที่ให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาทคืน เมื่อได้ประเมินราคาที่ดินพิพาทเป็นเงิน1,000,000 บาท คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาจำนวน 1,000,000 บาท แม้คำฟ้องของโจทก์จะบรรยายว่าที่ดินส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองไม่ตรงกับส่วนที่โจทก์ทั้งสองครอบครองตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แต่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ได้แสดงโดยชัดแจ้งพอเข้าใจแล้วว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่โดยเป็นส่วนของโจทก์ทั้งสองคนละ 4,000 ส่วน ในจำนวนทั้งหมด 14,300 ส่วน และโจทก์อ้างว่าได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดในที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองแล้ว หากเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งรับมรดกของบิดาแบ่งที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามสิทธิของโจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 ส่วนโจทก์ทั้งสองจะได้รับส่วนแบ่งตามส่วนที่ได้ครอบครองหรือแบ่งตามส่วนในกรรมสิทธิ์ก็แล้วแต่ทางพิจารณาจะได้ความ ซึ่งมาตรา 1364ได้กำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมไว้โดยชัดแจ้งแล้ว อีกทั้งตามคำให้การจำเลยทั้งสี่ก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ให้การว่าบิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยตกลงให้โจทก์ทั้งสองครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง แสดงว่าจำเลยทั้งสี่เข้าใจข้อหาตามฟ้องของโจทก์ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่คนละประมาณ 10 ไร่ ส่วนของโจทก์ที่ 1อยู่ทางทิศตะวันตก ส่วนของโจทก์ที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเอกสารหมาย จ.1 บิดาจำเลยทั้งสี่ไม่มีเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนแบ่งแยก จึงจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเอกสารหมาย ล.2 โดยไม่มีข้อตกลงให้บิดาจำเลยทั้งสี่ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายในคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่ดินมีโฉนดของบิดาจำเลยทั้งสี่ คงบรรยายฟ้องเพียงว่าโจทก์ทั้งสองกับบิดาจำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินดังกล่าวก็ตาม แต่การนำสืบของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเป็นการนำสืบถึงที่มาของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสองในที่ดินของบิดาจำเลยทั้งสี่ จึงเป็นข้อนำสืบเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รวมตามคำฟ้องของโจทก์หาใช่ข้อนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมมีข้อความว่า ก.ตกลงยินยอมให้โจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมคนละ 4,000 ส่วนใน 14,300 ส่วน โดยโจทก์ทั้งสองตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ ก.เป็นเงิน 40,000 บาท ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน โดยเจ้าพนักงานที่ดินได้ลงชื่อแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว และได้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองถือกรรมสิทธิ์รวมกับ ก. ตามส่วนที่ตกลงกันไว้ในสารบัญแก้ทะเบียนหลังโฉนดที่ดิน จึงต้องถือว่านิติกรรมการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมีโฉนดของ ก. บิดาจำเลยทั้งสี่โดยบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมจึงมีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ตาม มาตรา 1363 การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมตามกฎหมายนั้น ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเองอาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามที่ได้ตกลงต่อกันได้ ซึ่งเป็นเรื่องเกิดจากความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้น ขณะที่ ก. เจ้าของรวมคนหนึ่งยังไม่ตายก. กับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วยกันได้ตกลงแบ่งที่ดินกันเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364โดยให้โจทก์ทั้งสองครอบครองเนื้อที่ประมาณคนละ 10 ไร่และให้ส่วนของโจทก์ทั้งสองอยู่ด้านใต้ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของก. ให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเนื้อที่ประมาณคนละ10 ไร่ ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องดังกล่าว จ.1 ตามที่บิดาจำเลยทั้งสี่และโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของรวมด้วยกันตกลงกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โดยศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
คดีนี้มีการร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคท้าย ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิเคราะห์พฤติการณ์และความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้ร้องได้แก้ฎีกาว่าตามพฤติการณ์แล้วสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกคนเดียว ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับมรดกของ ช. ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกสืบทอดจากจ.ซึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง แต่เป็นหลานโดยเป็นบุตรของพี่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นถัดลงมาตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติบกพร่องในการจัดการมรดก ประกอบกับเจตนาของ ช. เจ้ามรดกผู้เป็นต้นตระกูลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมว่า "ขอให้บรรดาทายาทของข้าพเจ้าจงมีความสมานสามัคคี ช่วยกันผดุงส่งเสริมตระกูลของเราให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป" แล้ว ดังนี้ ตามพฤติการณ์และความเหมาะสมจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินโดยผิดพลาดและการส่งมอบโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากบริษัท ท. จำนวน 2,132,770 บาท เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท.แต่พนักงานของโจทก์ร่วมป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเป็นเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม สำนักงานใหญ่ ต่อมาเมื่อจำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีในวันดังกล่าวจึงทราบว่ามีเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยโดยการผิดพลาด จากนั้นจำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ โดยการปิดบัญชี การที่จำเลยได้ถอนเงินที่เข้าบัญชีผิดพลาดนั้นออกไปตั้งแต่ในขณะที่โจทก์ร่วมก็ยังไม่ทราบว่าเงินจำนวนนั้นไม่ใช่เป็นเงินของจำเลยก็ตามแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยโจทก์ร่วมยังไม่ทราบว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นเข้าบัญชีของจำเลยผิดพลาดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตถอนเงินดังกล่าวไป และโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้แก่จำเลยไปแล้วเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเงินผิดพลาดและการส่งมอบโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากสาขาของบริษัท ท. เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท. สำนักงานใหญ่แต่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม จำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าเงินนั้นเข้าบัญชีผิดพลาด แต่จำเลยมีเจตนาทุจริตถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4442/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเงินที่เข้าบัญชีผิดพลาดโดยมีเจตนาทุจริต ถือเป็นการกระทำโดยสำคัญผิดและเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352
พนักงานของธนาคารโจทก์ร่วมรับฝากเงินจากบริษัทท.จำนวน 2,132,770 บาท เพื่อโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของบริษัท ท. แต่พนักงานของโจทก์ร่วมป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดไปเป็นเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของจำเลยที่ธนาคารโจทก์ร่วม สำนักงานใหญ่ ต่อมาเมื่อจำเลยนำเงินฝากเข้าบัญชีในวันดังกล่าวจึงทราบว่ามีเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยโดยการผิดพลาด จากนั้นจำเลยได้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวในบัญชีของจำเลยไปจากธนาคารของโจทก์ร่วม สำนักงานใหญ่ โดยการปิดบัญชี การที่จำเลยได้ถอนเงินที่เข้าบัญชีผิดพลาดนั้นออกไปตั้งแต่ในขณะที่โจทก์ร่วมเองก็ยังไม่ทราบว่าเงินจำนวนนั้นไม่ใช่เป็นเงินของจำเลยก็ตาม แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายทราบแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยโจทก์ร่วมยังไม่ทราบว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาท นั้นเข้าบัญชีของจำเลยผิดพลาดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตถอนเงินดังกล่าวไป และโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้แก่จำเลยไปแล้วเช่นนี้ กรณีถือได้ว่าเงินจำนวน 2,132,770 บาทนั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพราะโจทก์ร่วมได้ส่งมอบให้โดยสำคัญผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกจำเลย 2 เดือน และปรับ 24,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย คดีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4