คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระจิต ไชยาคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ในฐานะส่วนตัว vs. แทนบริษัท, ผลต่อการฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ส.ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ...ฯลฯ...เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเอง เมื่อคำร้องทุกข์ของ ส.ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตาม ป.อ.มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องอาญา: การร้องทุกข์ไม่ชัดเจนถึงความเสียหายของโจทก์ ทำให้ฟ้องขาดอายุความ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามสามยอดตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมายเลข 9 ท้ายฟ้อง ซึ่งมีข้อความสำคัญว่าส. ผู้แจ้งได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งว่าผู้แจ้งประกอบอาชีพค้าขาย ฯลฯ และมาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 โดยกล่าวหาว่า ฯลฯ เป็นเหตุให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย ผู้แจ้งจึงได้มาร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 2 เมื่อข้อความในบันทึกคำร้องทุกข์ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ส. โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยดังนี้ต้องถือว่า ส. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ได้ร้องทุกข์ในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้เสียหายในนามตนเองเมื่อคำร้องทุกข์ของ ส. ไม่ได้ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยและ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการนิติบุคคลโจทก์ได้มาร้องทุกข์แทนโจทก์ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่า ส.ได้กระทำแทนโจทก์และเมื่อคดีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้โจทก์ผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยมิได้ร้องทุกข์ไว้โดยชอบภายในกำหนดเวลา 3 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าเกินเกณฑ์ ศาลอนุญาตฎีกาได้ และการผิดสัญญาเช่าอันเป็นเหตุบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ 500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลย ได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญา จองเช่าอาคารจำนวน 1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนาน เป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมี สิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่า รายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงิน ค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวมซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาทจึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าล่วงหน้าและการคำนวณค่าเช่าเพื่อข้อยกเว้นการฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหา-ริมทรัพย์นั้น และขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลยได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาจองเช่าอาคารจำนวน1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนานเป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่ารายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงินค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวม ซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสองเดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมแปลงตรา – ครอบคลุมทั้งรอยตราของทบวงการเมืองและเจ้าพนักงาน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่สามารถที่จะปรับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 251 ได้เพราะโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกได้ทำปลอมขึ้นซึ่งรอยตราประเภทนักท่องเที่ยว และรอยตราครุฑ ไม่ใช่ดวงตราอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 251 นั้น แม้ฎีกาของจำเลยจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะการทำปลอมรอยตราของทบวงการเมืองหรือของเจ้าพนักงานก็เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ และตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน: การพิพากษาปรับบทลงโทษกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง,89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันให้ลงโทษฐานขายเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620วรรคหนึ่งและมาตรา1629เมื่อจำเลยที่1ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไปทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใดเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาทการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา1300มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027เพียง2แปลงโดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดจำเลยที่1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่10มกราคม2527โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่1จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่2027เมื่อวันที่2มีนาคม2530นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอมดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2มีนาคม2530ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยที่3ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่2ในเวลาต่อมาจึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่2อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่19กรกฎาคม2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่2ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่1และที่2จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่3ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่าจำเลยที่1และที่2ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การเสนอสัญญา, คำสนอง, และผลของการไม่ตกลงกัน
ประกาศประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือของจำเลยที่1เป็นเพียงคำเชิญให้ทำคำเสนอโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่1มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้จำเลยที่1ทำสัญญาเช่าหนังสือดังกล่าวเป็นคำเสนอของโจทก์แต่จำเลยที่1ขอเลื่อนการทำสัญญาออกไปหนังสือของจำเลยที่1จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา359วรรคสองต่อมาโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่1ให้ทำสัญญาเช่าภายใน7วันหากทำสัญญาเช่าไม่ได้ให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาทันทีนับแต่วันครบกำหนดและต้องคืนเงินค่าประจำซองในการประมูลพร้อมค่าเสียหายให้โจทก์จำเลยที่1มีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปทำสัญญากับจำเลยที่1ภายใน15วันซึ่งโจทก์ยืนยันไม่ประสงค์จะเข้าทำสัญญากับจำเลยที่1อีกต่อไปเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาระหว่างโจทก์กับจำเลยที1จะต้องบังคับให้เป็นไปตามเจตนาทำนิติกรรมสองฝ่ายเมื่อสัญญาเกิดขึ้นไม่ได้เพราะขาดความตกลงกันความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดลงจำเลยที่1ต้องคืนเงินประจำซองให้โจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประมูลราคาจึงไม่ต้องมีส่วนร่วมในการคืนเงินด้วยและเมื่อยังไม่มีสัญญาเช่าต่อกันจำเลยที่1ก็ยังไม่มีความผูกพันตามสัญญาเช่าให้โจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ใช้ค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการกำหนดภูมิลำเนาของจำเลยที่ถูกจำคุก
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 22 วรรคหนึ่ง คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึง เจ้าพนักงานจับจำเลยตามข้อหาที่ถูกกล่าวหาในคดีที่จะนำมาฟ้องเท่านั้น แต่ตามบันทึกการจับกุมจำเลยกับคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยถูกจับในความผิดฐานพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่และความผิดฐานอื่น ๆ นอกเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งมิใช่ความผิดตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ แต่เจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้และโจทก์ขอยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีดังนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในท้องที่ซึ่งอยู่เขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว บทบัญญัติดังกล่าวได้แยกผู้ที่ถูกจำคุกออกเป็น 2 กรณีต่างหากจากกัน กล่าวคือ ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลเป็นกรณีหนึ่ง และถูกจำคุกตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นอีกกรณีหนึ่ง หาใช่เป็นกรณีเดียวกันไม่ เมื่อปรากฏว่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จำเลยถูกจำคุกตามคำพิพากษาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี ดังนี้ จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีตาม ป.พ.พ.มาตรา 47 ไม่ได้
of 40