พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7688/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คดี และหน้าที่การปฏิบัติตามมาตรา 234 ว.พ.พ. แม้ยังไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษา
แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาก็ตาม หากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมจะถูกยกไปในตัว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำขอให้พิจารณาคดีใหม่หากจำเลยยังประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234โดยต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง หาใช่ไม่ต้องนำเงินมาชำระหรือประกันให้ไว้ต่อศาลไม่แต่เมื่อจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า "รับอุทธรณ์คำสั่ง สำเนาให้โจทก์แก้" โดยที่มิได้สั่งเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยไม่วางเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงมีเหตุน่าเชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อนยังไม่ควรด่วนยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ต้นยูคาลิปตัสเป็นส่วนควบของที่ดิน แม้จะปลูกเพื่อการค้า การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขาย เป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปี จึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปี ก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่า โจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไป หาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ฉะนั้น ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ฉะนั้น หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอระหว่างพิจารณาได้ หากเห็นว่าการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี กฎหมายหาได้บัญญัติว่าหากผู้ขอเป็นฝ่ายจำเลยจะต้องฟ้องแย้งดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ฉะนั้น หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรที่จะสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
การขอคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอระหว่างพิจารณาได้ หากเห็นว่าการกระทำของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะทำให้ตนได้รับความเสียหายหากภายหลังตนชนะคดี กฎหมายหาได้บัญญัติว่าหากผู้ขอเป็นฝ่ายจำเลยจะต้องฟ้องแย้งดังที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7340/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท: ส่วนควบของที่ดินหรือทรัพย์สินชั่วคราว
ต้นยูคาลิปตัสเป็นต้นไม้ที่มีอายุหลายปี โดยสภาพถือว่าเป็นไม้ยืนต้น แม้โจทก์จะอ้างว่าปลูกไว้เพื่อตัดขายเป็นการปลูกลงในพื้นดินเป็นการชั่วคราว แต่ก็จะต้องใช้เวลาปลูกนานประมาณ 3 ถึง 5 ปีจึงจะตัดฟันนำไปใช้ประโยชน์ได้ และหลังจากตัดฟันแล้วตอที่เหลือก็จะแตกยอดเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำต้นใหม่ หลังจากนั้นประมาณ 3 ปีก็จะเจริญงอกงามเหมือนเดิม แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อใช้ประโยชน์เป็นช่วงระยะเวลานานตลอดไปหาใช่ปลูกแล้วตัดฟันใช้ครั้งเดียวก็สิ้นสุด ต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้ไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะเข้าปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยสุจริต ก็หาอาจใช้ยันจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐได้ไม่ และต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทที่โจทก์ปลูกย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 หากให้โจทก์ตัดต้นยูคาลิปตัสไปในระหว่างพิจารณา ภายหลังจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ จึงสมควรสั่งห้ามไม่ให้โจทก์เข้าตัดฟันต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีขับไล่และการใช้คำพิพากษาแทนเจตนาในคดีละเมิด
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) หาเกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นใช้เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลย ผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ร้องสอดในคดีครอบครองปรปักษ์ คำสั่งขับไล่ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ไม่ได้ฟ้องโดยตรง
คำร้องของผู้ร้องสอดเป็นการเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) อันทำให้มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58(1) และ (3)การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ฟ้องผู้ร้องสอดก็ตาม คำสั่งให้ขับไล่ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)หาใช่เกินคำขอไม่
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและผู้ร้องสอดนั้นก็เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นจึงไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและผู้ร้องสอดนั้นก็เฉพาะกรณีการทำนิติกรรมสัญญาเท่านั้น ศาลไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในคดีละเมิดได้ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยผู้ร้องสอดและบริวารออกจากที่พิพาทและทำที่พิพาทให้อยู่ในสภาพเดิม หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยโดยปริยาย เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และการไม่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้สัญญาสิ้นผล
หนังสือข้อตกลงระบุถึงการเลิกสัญญาว่า "ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้ข้อหนึ่งข้อใด ภายในกำหนด 90 วันถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป" ดังนี้ แม้ ก. และ ห. พยานโจทก์จะเบิกความเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือข้อตกลงยังไม่มีการยกเลิกก็ตาม แต่พยานเหล่านี้เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เมื่อโครงการประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ผู้อื่นเข้าดำเนินการ ส่วนจำเลยที่ 1 นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อ "หมู่บ้านเดชา" ดำเนินการต่อมา โจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเป็นเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยายโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
เมื่อหนังสือข้อตกลงดังกล่าวได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีผลบังคับ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่าหนังสือข้อตกลงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนธรรมดา เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
เมื่อหนังสือข้อตกลงดังกล่าวได้ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีผลบังคับ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ว่าหนังสือข้อตกลงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ มิใช่สัญญาต่างตอบแทนธรรมดา เพราะไม่เป็นสาระแก่คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาโดยปริยายจากพฤติการณ์ของคู่สัญญาและการขาดการติดต่อ
ตามหนังสือข้อตกลงดังกล่าวข้อ 17 ระบุถึงการเลิกข้อตกลงว่า ถ้าผู้รับโครงการไม่ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อผูกพันในข้อตกลงแม้แต่ข้อหนึ่งข้อใดภายในกำหนด 90 วัน ถือว่าข้อตกลงนี้สิ้นสุดลง โดยมิต้องบอกกล่าวให้ผู้รับโครงการทราบ คุรุสภาจะสรรหาผู้จะรับเป็นผู้รับโครงการอื่นต่อไป หลังจากจำเลยไม่ยอมโอนบ้านตัวอย่างพร้อมที่ดินให้โจทก์แล้ว ต่อมาโครงการเคหะสงเคราะห์ดังกล่าวประสบความล้มเหลว โจทก์ได้จัดให้ ผู้อื่นเข้าดำเนินโครงการ ส่วนจำเลยได้นำป้ายโครงการออกแล้วใช้ชื่อหมู่บ้านเดชาดำเนินการต่อมา และตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2530 ถึงเดือนมกราคม 2535 โจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ติดต่อกันทางเอกสารเลย รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ติดใจที่จะปฏิบัติตามหนังสือข้อตกลงต่อไป หนังสือข้อตกลงดังกล่าวย่อมยกเลิกกันโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือข้อตกลงที่เลิกกันไปแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของทายาทผู้จัดการมรดกในการไล่ที่บุกรุกหลังการซื้อขายแต่ยังไม่ได้จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นของ อ. จำเลยไม่ได้ฝากให้ อ. ดูแลที่ดินพิพาทแทน และ ด. ได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก อ. แล้ว แต่ ด. ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโอนชื่อเป็นของ ด. เมื่อ อ. ตายเสียก่อน โจทก์เป็นทายาทผู้รับมรดกและในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้ตาย สิทธิในทางทรัพย์สินรวมทั้งหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของ อ. ก็ตกทอดแก่โจทก์ทันทีรวมทั้งหน้าที่ในการโอนที่ดินพิพาทที่ขายด้วย เมื่อจำเลยเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินทับซ้อนกับผู้ครอบครองเดิม ศาลยืนตามสิทธิผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ครอบครองแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาไว้เป็นสาระสำคัญต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วจึงจะโอนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ซื้อที่ดินของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เมื่อตามสัญญาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ระบุข้อความไว้เองว่า ซื้อที่นา ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทด้วย เนื่องจากที่ดินพิพาทมีสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อก็ได้ไปดูที่ดินแล้วก็เห็นว่าโจทก์ปลูกบ้านอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยสุจริต เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองและร้องขอต่อศาลให้ปลดเปลื้องการรบกวนของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญาหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ป.วิ.อ.มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว