พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อใช้เอง ไม่ถือเป็นความผิดฐานผลิต หากไม่มีเจตนาจำหน่าย
แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา4จะบัญญัติว่าการผลิตให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วยก็ตามแต่โทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1นั้นมาตรา65วรรคหนึ่งกำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท1มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา66วรรคหนึ่งกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับจึงย่อมเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1ไม่ว่าด้วยการเพาะปลูกทำผสมปรุงแปรสภาพเปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่หลายง่ายขึ้นกฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูงเมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้คำว่า"การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ"ในมาตรา4จึงต้องหมายถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูกทำผสมปรุงแปรสภาพเปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลโดยทั่วไปเป็นต้นสำหรับคดีนี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลก็ยังต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176เมื่อข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานโจทก์ในคดีนี้ไม่ได้ความว่าจำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลางเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกแก่บุคคลทั่วไปนอกจากนั้นยังปรากฏว่าจำเลยต่างติดยาเสพติดให้โทษจึงอาจเป็นดังที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยแบ่งบรรจุเฮโรอีนเพื่อความสะดวกในการใช้ของตนเองการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1จำเลยคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท1เท่านั้นซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท1ที่โจทก์ฟ้องนั่นเองศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อใช้เอง ไม่ถือเป็นผลิตยาเสพติด หากไม่มีเจตนาจำหน่าย
การผลิตโดยการแบ่งบรรจุตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมาตรา4ต้องเป็นการแบ่งบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูกทำผสมปรุงแปรสภาพเปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นการบรรจุเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลโดยทั่วไปการที่จำเลยแบ่งบรรจุเพื่อความสะดวกในการใช้เสพของตนเองไม่เป็นการผลิตตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ผลิตยาเสพติด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองศาลย่อมลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้ายเพราะความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในความครอบครองเป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการบริหารงานกิจการร่วมค้า ถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ช. เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ช. จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม. มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้าซ. แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการพนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ. มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ.และกิจการร่วมค้าซ. มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้าซ. โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ. จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ก)และ(ฉ) การรับจ้างทำของด้วยดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้าซ. จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้า ซ. เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะ ถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ. จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ. เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1(ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการบริหารกิจการร่วมค้าเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ซ.เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ซ.จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม.มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้า ซ.แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการ พนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ. และกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1ชนิด 1 (ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ก) และ (ฉ)การรับจ้างทำของด้วย ดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้าซ.เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9355/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่หลังคดีแพ่งถึงที่สุด ศาลรับฟังสำนวนคดีเดิมเป็นพยานได้ แม้ไม่ได้ยื่นต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่าที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่4015เป็นของโจทก์จำเลยที่2ขายให้โจทก์แล้วผิดสัญญาไม่โอนให้โจทก์แต่ได้โอนให้จำเลยที่1โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้โอนที่ดินดังกล่าวซึ่งศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทจึงฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้นดังนั้นเมื่อศาลได้สอบถามและคู่ความได้แถลงยอมรับว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่786/2530ของศาลชั้นต้นและคดีถึงที่สุดแล้วศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองได้และมีอำนาจรับฟังสำนวนคดีดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นต่อศาลและให้คู่ความตรวจพิจารณาก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยการเชิดและการรับผิดในหนี้สัญญา: ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534 จำเลยที่ 2ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตร ตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี ในต้นเงิน 26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น หาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 ไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น หาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8191/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการเมื่อตัวแทนทำสัญญาเช่าพื้นที่แสดงสินค้า โดยมีการเชิดให้เป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2534จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือกระทำการในฐานะส่วนตัวได้ทำหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าต้องการใช้พื้นที่ในการจัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องสัญญาณป้องกันขโมยประมาณ 9 ตารางเมตรตกลงราคาค่าเข้าร่วมแสดง 26,000 บาท กำหนดชำระเงินภายในวันที่ 12 เมษายน 2535 โจทก์ได้ดำเนินการตกแต่งอาคารแสดงสินค้าติดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และป้ายชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินค่าเข้าร่วมแสดงสินค้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 34,665บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในต้นเงิน26,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือในฐานะส่วนตัวได้ทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์นั้นก็ไม่ขัดกันแต่อย่างใดเป็นการบรรยายตามข้อเท็จจริงซึ่งปรากฎตามหนังสือสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้าตามที่โจทก์ได้แนบมาท้ายคำฟ้องแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีว่า ไม่เคยทำสัญญาเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 2 เอง ขอให้ยกฟ้อง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ค่าเข้าร่วมแสดงสินค้ากับโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาไว้กับโจทก์แทนจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ศาลก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง การตั้งตัวแทนต้องทำหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้นหาได้หมายความรวมถึงการเป็นตัวแทนโดยการเชิดบุคคลใดว่าเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้บุคคลใดแสดงตนเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า ความเสียหายจากเหตุสุดวิสัย และประเด็นการกำหนดหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
จำเลยที่2ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่1แล่นมาตามถนนพอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขาถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขารถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวนจำเลยที่2จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตนแต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไปดังนี้เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหายจึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยที่1ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616 จำเลยที่1ฎีกาว่าต้นทุนของสินค้าที่ราคาเพียงกล่องละ444.88บาทราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไรค่าขนส่งและค่าภาษีอากรเมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ516บาทโจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่1ปัญหาข้อนี้จำเลยที่1มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยแม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่1ฎีกาว่าตามแบบพิมพ์ยพ.6ก.เลขที่465217ลงวันที่4ธันวาคม2529ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ไว้ไม่เกิน100,000บาทจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่1ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่าหากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริงค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัทอ.ก็ไม่ควรเกินกว่า100,000บาทส่วนจำเลยที่2ให้การต่อสู้ว่าตามข้อตกลงของจำเลยที่1ในการรับส่งสินค้าจำเลยที่1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน300,000บาทหากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่1ทราบแต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวคือไม่แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า300,000บาทหากฟังว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน300,000บาทดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลยผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อนการที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรกจึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลังไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเองศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา27วรรคสองดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า8วันนับแต่วันทราบคำสั่งศาลจึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า, ข้อจำกัดความรับผิด, และหน้าที่นำสืบของจำเลย
จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ลากจูงและรถพ่วงของจำเลยที่ 1 แล่นมาตามถนน พอแล่นเข้าโค้งซึ่งอยู่เชิงเขา ถนนเป็นทางโค้งลาดลงเขา รถแล่นเข้ามาในช่องขวาซึ่งเป็นช่องเดินรถสวน จำเลยที่ 2 จึงห้ามล้อครั้งแรกและหักรถเข้ามาในช่องเดินรถของตน แต่ไม่สามารถลดความเร็วของรถลงได้ จึงได้ห้ามล้ออย่างแรงรถแล่นเข้ามาในช่องเดินรถของตนด้านซ้ายและเสียหลักเพราะรถยาวและมีน้ำหนักมากจึงพุ่งเข้าชนราวเหล็กกั้นขอบถนนด้านซ้ายจนพลิกคว่ำหงายท้องไป ดังนี้ เหตุที่รถพลิกคว่ำสินค้าที่บรรทุกมาเสียหาย จึงมิได้เกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งตามป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ต้นทุนของสินค้ามีราคาเพียงกล่องละ444.88 บาท ราคาที่เกินจากนี้เป็นกำไร ค่าขนส่ง และค่าภาษีอากร เมื่อรวมกันแล้วทำให้สินค้ามีราคากล่องละ 516 บาท โจทก์มีสิทธิรับประกันภัยเพียงราคาต้นทุนของสินค้าเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคาส่วนที่เกินจากจำเลยที่ 1 ปัญหาข้อนี้จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นมิได้ยกขึ้นวินิจฉัย แม้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ตามแบบพิมพ์ ยพ.6 ก.เลขที่ 465217ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2529 ในสำนวนการสอบสวนได้จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ไม่เกิน 100,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าเงินจำนวนดังกล่าวในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้เพียงว่า หากโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจริง ค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้แก่บริษัท อ.ก็ไม่ควรเกินกว่า 100,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ตามข้อตกลงของจำเลยที่ 1 ในการรับส่งสินค้า จำเลยที่ 1จะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ขนส่งไม่เกิน 300,000 บาท หากสินค้ามีราคาเกินกว่านี้ ผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ แต่ในการรับจ้างขนส่งสินค้าในครั้งนี้ ผู้ว่าจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว คือไม่แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าสินค้าที่ขนส่งมีราคาเกินกว่า 300,000 บาท หากฟังว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดก็ไม่ควรเกิน 300,000 บาท ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ในเรื่องมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงว่าไม่ต้องรับผิดตกแก่จำเลย ผู้ขนส่งจะต้องนำสืบก่อน การที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบให้โจทก์นำสืบก่อนในครั้งแรก จึงเป็นกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ซึ่งหากศาลที่พิจารณาคดีทราบในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นโจทก์แถลงให้ศาลทราบหรือศาลทราบเอง ศาลก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนหรือสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อใดก็ได้ โดยไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งศาล จึงหาลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยนำสืบก่อนในครั้งหลังจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดิน, สิทธิการเช่าซื้อ, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทนับแต่วันฟ้องโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายในอนาคตนับแต่วันฟ้องอีกด้วยส่วนค่าเสียหายก่อนฟ้องนั้นโจทก์ไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระแต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบขอค่าเสียหายเดือนละ2,500บาทจนกว่าจำเลยทั้งสองจะออกไปจากที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้เบิกความขอดอกเบี้ยในค่าเสียหายจึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะเอาดอกเบี้ยในค่าเสียหายเป็นเดือนๆอีกที่ศาลอุทธรณ์กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์ได้รับอีกนั้นจึงไม่ชอบ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน200บาทแต่ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลอนาคต100บาทจึงให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจำนวน100บาทให้โจทก์