คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ สิทธิลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้างในการซ่อมแซมอาคาร: ระยะเวลา 1 ปี vs. 5 ปี
ตามสัญญาจ้างปรับปรุงพื้นดาดฟ้า หลังคา ซ่อมแซมห้องน้ำห้องส้วมของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ก่อนแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รับมอบงานเมื่อมีรอยแตกร้าวบนพื้นดาดฟ้าเกิดขึ้นภายใน 1 ปี จำเลยได้ซ่อมแซมและโจทก์รับมอบงานซ่อมแซมแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในรอยแตกร้าวเดิมที่เกิดขึ้นอีกเมื่อพ้น 1 ปีแล้ว และความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการปรับปรุงพื้นดาดฟ้าหลังคาเช่นนี้ก็ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินซึ่งผู้รับจ้างต้องรับผิดภายใน 5 ปี นับแต่วันส่งมอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600 วรรคแรก ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นเจ้าหนี้ที่แท้จริง เน้นประเด็นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์-จำเลย
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทจากโจทก์และประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาเช่าระหว่างบริษัทอ.กับส.สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่และผู้ใดเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวมาก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นการมิชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตประเด็นข้อพิพาท: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปแล้ว
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าพื้นที่พิพาทจากโจทก์และประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาเช่าระหว่างบริษัท อ.กับ ส.สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ และผู้ใดเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงของจำเลยอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวมาก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเช่า: เงื่อนไขการต่อสัญญาและการทำสัญญาใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 4.1 ระบุว่า ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่ 1) ต้องสร้างอาคาร 3 หลัง แล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์) และผู้รับสัญญา (โจทก์) ตกลงให้ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะตอบแทนกันเพียง 3 ปี และจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญา ข้อ 4.3 ดังนั้น แม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอม-ยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง 3 ปี ส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
สัญญาเช่ารายพิพาท ข้อ 9 ระบุว่า ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) ภายใน 60 วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไป ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่ 1 ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์ จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้น แต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาต ซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่า ...ฯ ผู้ให้สัญญา (จำเลยที่ 1) จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา (โจทก์) เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญา แล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญา ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและประนีประนอมยอมความ: การต่อสัญญาเช่าต้องมีข้อตกลงใหม่ การไม่ต่อสัญญาไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ4.1ระบุว่าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ต้องสร้างอาคาร3หลังแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับสัญญา(โจทก์)และผู้รับสัญญา(โจทก์)ตกลงให้ผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการในอาคารและที่ดินบริเวณข้างเคียงมีกำหนดระยะเวลา3ปีแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ตกลงจะตอบแทนกันเพียง3ปีและจำเลยที่1มีสิทธิที่จะขอต่ออายุสัญญาเป็นรายปีตามสัญญาข้อ4.3ดังนั้นแม้จะฟังว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาก็มีกำหนดระยะเวลาเพียง3ปีส่วนสัญญาเช่ารายพิพาทมีผลบังคับตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาแยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว สัญญาเช่ารายพิพาทข้อ9ระบุว่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญาถ้าผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปให้ผู้ให้สัญญายื่นความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)ภายใน60วันก่อนครบกำหนดสัญญานี้เพื่อขออนุญาตใช้ประโยชน์ในอาคารและที่ดินต่อไปข้อสัญญาดังกล่าวนี้ระบุให้จำเลยที่1ยื่นความจำนงเพื่อขออนุญาตจากโจทก์จึงเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้โจทก์จำเลยที่1ที่จะทำการต่อสัญญาได้เท่านั้นแต่การที่จะอนุญาตตามคำขอหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะพิจารณาอนุญาตซึ่งเมื่อพิจารณาตามข้อสัญญาที่ระบุว่าฯผู้ให้สัญญา(จำเลยที่1)จะต้องยื่นหนังสือแสดงความจำนงต่อผู้รับสัญญา(โจทก์)เพื่อขออนุญาตใช้อาคารและที่ดินออกไปอีกเป็นรายปีไปในการนี้ผู้ให้สัญญาและผู้รับสัญญาจะต้องทำสัญญากันใหม่อีกครั้งหนึ่งตามแบบฟอร์มและข้อกำหนดของผู้รับสัญญาแล้วแสดงว่าการที่จะต่อสัญญาออกไปเป็นรายปีนั้นโจทก์กับจำเลยที่1จะต้องทำสัญญากันใหม่ตามแบบฟอร์มและตามข้อกำหนดของโจทก์ข้อกำหนดนี้จึงเป็นเงื่อนไขที่จะต้องตกลงกันใหม่แล้วจึงจะทำสัญญาดังนั้นข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำมั่นหรือเงื่อนไขของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิการครอบครอง
ทั้งโจทก์และจำเลยต่างได้ครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปรากฏในแผนที่พิพาทส่วนฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่เท่าใดและฝ่ายใดครอบครองมาก่อนกันอันจะทำให้ฟังได้ว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทนั้นปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีบ้านอยู่ในที่พิพาทอีกทั้งพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจรับฟังได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียวและฟังไม่ได้ว่ามีการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนในส่วนไหนเท่าใดจึงควรฟังว่าโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมาด้วยกันและต่างมีส่วนในที่พิพาทเท่าๆกันแม้ในวันที่16กรกฎาคม2533จำเลยได้นำรถตักดินเข้าไปตักดินในที่พิพาทกั้นคันดินเพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งอันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทก็ตามแต่โจทก์ก็ได้คัดค้านทันที่ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25มีนาคม2534เพื่อเรียกคืนการครอบครองภายใน1ปีสิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ยังไม่ขาดไปและได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่ไม่ได้โต้แย้งกันซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่พิพาทจึงเห็นควรให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งในที่พิพาททางด้านทิศตะวันออกโดยแบ่งเนื้อที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วนเท่าๆกันและให้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาททางด้านตะวันออกห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกัน และสิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ทั้งโจทก์และจำเลยต่างได้ครอบครองที่ดินในบริเวณที่ปรากฏในแผนที่พิพาท ส่วนฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่เท่าใด และฝ่ายใดครอบครองมาก่อนกันอันจะทำให้ฟังได้ว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทนั้นปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีบ้านอยู่ในที่พิพาท อีกทั้งพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายไม่อาจรับฟังได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว และฟังไม่ได้ว่ามีการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนในส่วนไหนเท่าใด จึงควรฟังว่าโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทมาด้วยกันและต่างมีส่วนในที่พิพาทเท่า ๆ กัน แม้ในวันที่16 กรกฎาคม 2533 จำเลยได้นำรถตักดินเข้าไปตักดินในที่พิพาทกั้นคันดินเพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง อันเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้คัดค้านทันทีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2534เพื่อเรียกคืนการครอบครองภายใน 1 ปี สิทธิการฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ยังไม่ขาดไป และได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินในส่วนที่ไม่ได้โต้แย้งกันซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่พิพาท จึงเห็นควรให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งในที่พิพาททางด้านทิศตะวันออก โดยแบ่งเนื้อที่ดินพิพาทออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน และให้โจทก์มีสิทธิในที่พิพาททางด้านตะวันออก ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องชำระค่าซ่อมตามสัญญาซื้อขายและข้อตกลงพิเศษรับประกันคุณภาพ
สัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้ระบุในหมายเหตุท้ายสัญญาว่าผู้ขายรับประกันสินค้าตามสัญญานี้เป็นเวลา3ปีหลังจากส่งของข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ขายได้รับรองคุณภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขายให้แก่โจทก์ไว้เป็นพิเศษว่าหากหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อไปเกิดขัดข้องใช้การไม่ได้ภายในเวลา3ปีหลังจากส่งของจำเลยที่1ยินยอมรับผิดเมื่อปรากฏว่าหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่1บางส่วนจำนวน276เครื่องชำรุดระหว่างรับประกันคุณภาพโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1จัดการซ่อมแต่จำเลยที่1เพิกเฉยโจทก์จึงจัดการซ่อมเองเสียค่าซ่อม2,436,726บาทจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันชำระค่าซ่อม221เครื่องเป็นเงิน1,946,500บาทคงค้างค่าซ่อมอีกจำนวน55เครื่องเป็นเงิน490,226บาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าวกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขายหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ซึ่งมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ไม่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ให้จำเลยที่1รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันคุณภาพสินค้าพิเศษนอกเหนือจากอายุความชำรุดบกพร่องตามกฎหมาย ผู้ขายต้องรับผิดตามสัญญา
สัญญาซื้อขายหม้อแปลงไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ได้ระบุในหมายเหตุท้ายสัญญาว่า ผู้ขายรับประกันสินค้าตามสัญญานี้เป็นเวลา 3 ปีหลังจากส่งของ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายได้รับรองคุณภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขายให้แก่โจทก์ไว้เป็นพิเศษว่า หากหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อไปเกิดขัดข้องใช้การไม่ได้ภายในเวลา 3 ปี หลังจากส่งของ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดเมื่อปรากฏว่าหม้อแปลงไฟฟ้าที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 บางส่วนจำนวน 276 เครื่องชำรุดระหว่างรับประกันคุณภาพ โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 จัดการซ่อมแต่จำเลยที่ 1เพิกเฉยโจทก์จึงจัดการซ่อมเอง เสียค่าซ่อม 2,436,726 บาท จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำ-ประกันชำระค่าซ่อมให้ 221 เครื่อง เป็นเงิน 1,946,500 บาท คงค้างค่าซ่อมอีกจำนวน 55 เครื่อง เป็นเงิน 490,226 บาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าซ่อมหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขายหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 ไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
of 33