พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ในเขตป่าสงวนฯ สิทธิระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมบังคับใช้ได้
จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเช่าจากโจทก์จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่จำเลยเปลี่ยนเจตนาในการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทจากจำเลย พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา14บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออาศัยอยู่ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติและมาตรา12บัญญัติให้บุคคลผู้อ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับยื่นคำร้องภายในกำหนด90วันมิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิหรือประโยชน์นั้นเป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรซึ่งเป็นผลให้ราษฎรไม่อาจอ้างสิทธิใดๆยันต่อรัฐได้แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันเมื่อจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์แม้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การฟ้องคืนสิทธิระหว่างราษฎร แม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเช่าจากโจทก์ จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยเปลี่ยนเจตนาในการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทจากจำเลย
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออาศัยอยู่ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และมาตรา 12 บัญญัติให้บุคคลผู้อ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ยื่นคำร้องภายในกำหนด90 วัน มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิหรือประโยชน์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ยันต่อรัฐได้ แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยได้
โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยเปลี่ยนเจตนาในการครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทจากจำเลย
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองหรืออาศัยอยู่ในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ และมาตรา 12 บัญญัติให้บุคคลผู้อ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในป่าสงวนแห่งชาติอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ยื่นคำร้องภายในกำหนด90 วัน มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิหรือประโยชน์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ยันต่อรัฐได้ แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน เมื่อจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: ศาลต้องให้สืบพยานหากจำเลยยกอายุความเป็นข้อต่อสู้
แม้ตาม คำฟ้องของโจทก์จะมิได้บรรยายให้เห็นว่าเหตุใดโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกินระยะเวลาตามอายุความแต่หากจำเลยไม่ได้ให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้อง ไม่ได้ อายุความจึงไม่ใช่ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วยังไม่ปรากฏชัดในคำฟ้องจึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความการที่ศาลชั้นต้นเพียง ตรวจคำฟ้องและ คำให้การที่จำเลยอ้างว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วสั่ง งดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งแปดแล้วพิพากษา ยกฟ้องและศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนตามจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: การชำระหนี้ด้วยการส่งมอบเครนไม่ใช่การมัดจำ, เลิกสัญญากันโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อรถยนต์บรรทุกจากจำเลยโดยโจทก์ต้องจัดหาเครนและปั๊มฉีดน้ำมันไฮดรอลิกมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเครนและปั๊มฉีดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นมัดจำหรือเป็นการชำระหนี้บางส่วนแล้วเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาได้ สัญญาซื้อขายรถยนต์บรรทุกอีกคันหนึ่งระบุให้โจทก์นำเครนมามอบให้จำเลยเพื่อนำไปติดตั้งบนรถยนต์บรรทุกเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำการอย่างหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้นำเครนมามอบให้แม้จำเลยมิได้ส่งมอบรถยนต์บรรทุกตามกำหนดถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและหลังจากนั้นโจทก์ก็มิได้นำเครนไปมอบแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ให้แล้วมีหนังสือเลิกสัญญาไปยังจำเลยในเวลาต่อมาถือว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้มีหน้าที่ชำระคือผู้ควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่ผู้จำหน่ายน้ำมัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาพร้อมดอกเบี้ยจำนวน13,136,836.25บาทให้แก่โจทก์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าธรรมเนียมล่วงเวลาจำนวน8,880,000บาทในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาศุลกากร: ผู้ค้าน้ำมันไม่ใช่ผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย
จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบินเพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยานในท่าอากาศยานมิใช่นายเรือและไม่ได้เป็นตัวแทนนายเรือตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2569 มาตรา 110จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาให้แก่กรมศุลกากรโจทก์ในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้าน้ำมันไม่ต้องรับผิดค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน หากมิใช่ 'นายเรือ' ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากรบัญญัติให้นายเรือ ซึ่งหมายถึงผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมเรือ หรืออากาศยาน หรือตัวแทน หรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน ไม่มีบทกฎหมายกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อโจทก์เป็นผู้รับผิด
จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบินเพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยาน มิใช่เป็นนายเรือหรือตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติข้างต้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาแก่โจทก์
แม้ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 4 ประเด็นและให้คู่ความนำสืบครบทุกประเด็นแล้ว แต่เมื่อเห็นสมควร ศาลก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อใดขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้อใดแล้ว ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดไป ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบินเพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยาน มิใช่เป็นนายเรือหรือตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติข้างต้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาแก่โจทก์
แม้ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 4 ประเด็นและให้คู่ความนำสืบครบทุกประเด็นแล้ว แต่เมื่อเห็นสมควร ศาลก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อใดขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้อใดแล้ว ทำให้คดีเสร็จเด็ดขาดไป ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหมายถึงนายอำเภอการมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้ บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ประกอบมาตรา850แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับนายอำเภอ การมอบแก่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายถึงนายอำเภอ การมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกทำได้โดยหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ
การ สละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ต้องทำ เป็นหนังสือมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่คือ นายอำเภอตาม กฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2481และ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หรือทำเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา850ดังนั้นแม้ เจ้าพนักงานที่ดินมิใช่ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจดังกล่าวแต่เมื่อข้อความในเอกสารเป็นการ ประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ผู้รับผิดในฐานะ ผู้สละมรดกและจำเลยในฐานะ ผู้รับมรดกได้ลงชื่อไว้จึงเป็นการ สละมรดกโดยชอบ