พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีฉ้อโกงประชาชน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากขัดต่อหลักการพิจารณาคดีที่จำกัดเฉพาะประเด็นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามจำเลยอุทธรณ์ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ฉะนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดฐานฉ้อโกงและยักยอก: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากวินิจฉัยเกินกรอบอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงผิดคำมั่นว่าจะทำอะไรแล้วไม่ทำจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงแต่การที่จำเลยรับเงินของผู้เสียหายทั้งสามสิบสี่รายไว้ในครอบครองแล้วไม่นำไปดำเนินการตามที่มอบหมายและไม่คืนเงินให้เป็นความผิดฐานยักยอกพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา352วรรคหนึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลยเพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา343วรรคแรกจึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกงโดยไม่ชอบตามกฎหมาย และการพิจารณาประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์
โจทก์ บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสามพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคหนึ่งจำคุก3ปีโจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกดังนี้ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลยเพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา343วรรคแรกให้จำคุก3ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดีคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค3พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243และ247ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดจากยักยอกเป็นฉ้อโกงประชาชน เกินกรอบการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 343 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้เสียหายโดยมีเจตนาทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกศาลลงโทษฐานยักยอกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี โจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายและประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาในชั้นอุทธรณ์จึงมีตามอุทธรณ์ของจำเลย เพียงว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานยักยอกหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นการ-หลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนและการหลอกลวงดังกล่าวทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามฟ้องและพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก ให้จำคุก 3 ปีตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการวินิจฉัยและฟังข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์และจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและปรับบทลงโทษจำเลยว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี คดีนี้จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 และ 247ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายหลังใช้สิทธิปรับ ค่าปรับรายวันและค่าเสียหายที่พอสมควร
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายกัน แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว จำเลยมิได้ส่งมอบ โจทก์ก็มิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบสิ่งของ กับจำเลยมีหนังสือตอบแจ้งเหตุขัดข้องในการส่งมอบสิ่งของ แสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจำเลยยอมปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องค่าปรับ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามที่สัญญาซื้อขายระบุไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยตามสัญญาได้
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
ค่าปรับรายวันที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ค่าเสียหายเพื่อการไม่ชำระหนี้ของจำเลยได้อีก และโจทก์ได้ริบเงินประกันคิดเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดจากจำเลยไปแล้ว ถือเป็นค่าเสียหายพอสมควรแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าปรับรายวันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทเกิน 10 ปี ไม่ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอม หากขาดเจตนาและลักษณะตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของเจ้าของทางพิพาทเดิม แม้จะใช้ทางพิพาทตลอดมาเกิน 10 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอม ทางพิพาทจึงไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางพิพาทเกิน 10 ปี ไม่เป็นภารจำยอม หากใช้โดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของเจ้าของทางพิพาทเดิมแม้จะใช้ทางพิพาทตลอดมาเกิน10ปีก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภารจำยอมทางพิพาทจึงไม่ตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกประเด็นข้อพิพาทเดิม และข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่าโจทก์คิด ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศไว้มิได้ให้การถึงการคิดดอกเบี้ยทบต้นและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเบิกกันเมื่อใดศาลชั้นต้นจึงมิได้กำหนดให้เป็น ประเด็นข้อพิพาทและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยดอกเบี้ยทบต้นก็เกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้นดังนั้นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้ให้การไว้และศาลอุทธรณ์ภาค1ยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19-20/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่อง แต่เป็นการผิดสัญญา จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ผู้ว่าจ้างฟ้องให้จำเลยที่1ผู้รับจ้างซึ่งฝ่าฝืนข้อสัญญาให้ชำระค่าจ้างเพราะความผิดของจำเลยที่1ที่โจทก์ได้ให้บุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดีและเป็นไปตามสัญญาแทนจำเลยที่1ซึ่งโจทก์ได้จ่ายเงินให้บุคคลภายนอกไปแล้วโดยสิ้นเชิงซึ่งจำเลยที่1ต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นด้วยจึงไม่เป็นการฟ้องจำเลยที่1ผู้รับจ้างเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องได้ปรากฎขึ้นในตัวทรัพย์ที่ส่งให้โจทก์อันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ตามที่โจทก์ฟ้องให้ผู้รับจ้างรับผิดในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์เพื่อได้กรรมสิทธิ์
บิดาจำเลยยกที่ดินพิพาทให้ก็เพื่อให้บิดาโจทก์ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามอันเป็นการยกให้ตามหลักศาสนาอิสลามมิได้มีความประสงค์ที่จะยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์เป็นสิทธิส่วนตัวซึ่งบิดาโจทก์ทราบถึงเจตนาของบิดาจำเลยและข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามเพราะเป็นครูสอนศาสนาอิสลามแม้โจทก์เองซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามต่อจากบิดาก็ทราบดีว่าที่ดินที่บิดาจำเลยยกให้นั้นมิได้ยกให้เป็นสิทธิส่วนตัวของบิดาโจทก์แต่ยกให้แก่โรงเรียนสอนศาสนาการที่บิดาโจทก์ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับยกให้จากบิดาจำเลยจึงเป็นการครอบครองดูแลรักษาตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามบิดาโจทก์มิได้มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดบิดาโจทก์หรือโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382