คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ สิทธิลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองกำลังฟ้องบังคับจำนองที่ดินเอาแก่จำเลยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินจะโอนกรรมสิทธิ์ไปยังโจทก์ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงมีอยู่ตามเดิมส่วนวิธีการที่จะบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินแปลงนี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ร้องรอการส่งมอบโฉนดที่ดินต่อศาลเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5802/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยไม่มีหมายจับและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: จำเลยไม่รู้ตัวว่าผู้จับกุมเป็นเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 ห้ามมิให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับเว้นแต่กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทมาตราดังกล่าว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าวันที่ไปจับกุมจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายในคดีที่ถูกทำร้ายร่างกายร่วมไปกับจ่าสิบตำรวจส.และพลตำรวจท.ด้วย และเป็นผู้ชี้แจ้งให้เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยทั้งสองกรณีจึงต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4) เจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับกุมจำเลยที่ 1 ไม่มีผู้ใดแต่งเครื่องแบบตำรวจหรือแสดงหลักฐานให้เห็นได้ว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทำการตามหน้าที่การที่เจ้าพนักงานตำรวจสวมกางเกงสีกากีเสื้อคอกลม บางคนก็สวมกางเกงยีนจะให้จำเลยทั้งสองเข้าใจเอาเองว่าบุคคลที่เข้ามาจับกุมนั้นเป็นเจ้าพนักงานตำรวจย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่พลตำรวจ ท. เบิกความว่าขณะวิ่งไล่ตามจำเลยที่ 1ได้ร้องบอกว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอจับกุม แต่ลักษณะการเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 มีพวกญาติของผู้เสียหายหลายคนวิ่งกรูเข้าไปร่วมจับกุมด้วย จึงอาจทำให้จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าจะเข้ามาทำร้ายเมื่อจำเลยทั้งสองไม่เคยรู้จักหรือเคยเห็นหน้าจ่าสิบตำรวจ ส.และพลตำรวจ ท. กับพวกมาก่อน แม้จะได้ต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยทั้งสองก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และต่อเนื่องระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การครอบครองระหว่างคดีความไม่อาจนำมาอ้างเป็นสิทธิได้
โจทก์จำเลยมีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกันเรื่อยมา โดยมีการยื่นอุทธรณ์ฎีกาต่อศาลจนถึงปี 2523 ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับสามีออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่คดีฟ้องร้องอยู่กับโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อนับระยะแล้วที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธั์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นเวลายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าว และพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248-249 เหตุจากข้อเท็จจริงเดิม และฟ้องไม่เคลือบคลุม
อาคารพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่แม้โจทก์จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าแม้อาคารพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าแต่ก็เป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 10,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท สูงเกินไปเพราะเป็นตึกเก่าอย่างมากคิดได้เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปรากฎจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราชแขวงสัมพันธวงศ์เขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปี โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงใหม่ & ประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อาคารพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่แม้โจทก์จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าแม้อาคารพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าแต่ก็เป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 10,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคสอง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท สูงเกินไปเพราะเป็นตึกเก่าอย่างมากคิดได้เดือนละ5,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ-มหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปีโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาในการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งคดีอาญาโจทก์เป็นผู้เสียหาย และจำเลยเป็นจำเลย ในการพิจารณาคดีแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ว่า จำเลยขับรถโดยประมาททำให้โจทก์ได้รับอันตรายจำเลยจะโต้เถียงว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่ออีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์และกรอบเวลาพิจารณาใหม่ แม้มีเหตุสุดวิสัย เหตุเกิดก่อนกำหนดเวลาจึงไม่อาจอ้างได้
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แม้ฎีกาของจำเลยในปัญหาที่ว่ามีเหตุให้พิจารณาใหม่หรือไม่ จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่ไม่ใช่ปัญหาในประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตามก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีเป็นหลักในการพิจารณาว่าฎีกาของจำเลยเป็นคดีที่ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง – ที่ดินใช้ประโยชน์ร่วมกัน – การยึดขายทอดตลาด
โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย เนื่องจากจำเลยนำยึดที่ดินออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แต่ที่ดินเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาแต่เดิม ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนน โจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติ ยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเพิกถอนการยึดทรัพย์โดยผู้ไม่มีสิทธิในที่ดิน ศาลเห็นว่าโจทก์ยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย เนื่องจากจำเลยนำยึดที่ดินออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช.ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แต่ที่ดินเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาแต่เดิม ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนน โจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติ ยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเมื่อสิทธิยังไม่ถูกโต้แย้ง: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่ได้ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่ากรมสรรพากรจำเลยนำยึดที่ดินประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แม้ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ก็ตาม แต่ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนโจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
of 33