คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ สิทธิลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินส่วนรวม จำเลยมีหน้าที่ชี้แนวเขตเพื่อรังวัดแบ่งแยกตามสัญญา
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นรวม 7 คน ในที่ดินมีโฉนดโดยมิได้ระบุส่วนสัดของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนไว้ในโฉนดเมื่อจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยในที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่โจทก์ และข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า โจทก์ได้ทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินทั้งโฉนดและมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใดแน่นอนแล้ว จึงเป็นหน้าที่จำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม-การแบ่งแยกที่ดิน-หน้าที่ผู้ขาย
จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้อื่นรวม 7 คน ในที่ดินมีโฉนดโดยมิได้ระบุส่วนสัดของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแต่ละคนไว้ในโฉนด เมื่อจำเลยตกลงขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยในที่ดินแปลงใหญ่ให้แก่โจทก์ และข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า โจทก์ได้ทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหนของที่ดินทั้งโฉนดและมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใดแน่นอนแล้ว จึงเป็นหน้าที่จำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5459/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: ผู้ขายมีหน้าที่ชี้แนวเขตและแบ่งแยกที่ดินให้ชัดเจนก่อนโอน
ตามกฎหมายเจ้ากรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทุกคนต่างเป็นเจ้าของร่วมกันทุกตอนในที่ดินทั้งแปลงนั้น แต่ในระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยกันเอง อาจอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัดตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการครอบครองต่อกันได้ โดยตกลงแบ่งที่ดินกันเองแล้วลงชื่อรับรองหลักเขตที่เจ้าพนักงานที่ดินปัก เพื่อรังวัดแบ่งแยกซึ่งเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์กันเองอันมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 โดยถือว่าเป็นเรื่องของความยินยอมของเจ้าของรวมทุกฝ่ายพร้อมใจกันให้เป็นเช่นนั้นแต่การครอบครองเป็นส่วนสัดดังกล่าวนี้มิได้เป็นผลถึงกับจะทำให้ที่ดินเป็นอีกแปลงหนึ่งต่างหากจากที่ดินแปลงใหญ่ในโฉนดเดิมนั้นไปได้ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกจากกันก็ต้องถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวโฉนดเดียวกันอยู่ จำเลยอ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดทั้งแปลงคิดเป็นเนื้อที่ 35 ไร่ ได้ตกลงขายให้โจทก์ทั้งหมด แต่จำเลยยังมิได้ขอให้เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 35 ไร่ของจำเลยออกเป็นส่วนสัดมีเขตกว้างยาวแน่นอน โดยได้รับความยินยอมของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่นแล้ว จำเลยเพียงแต่เข้าใจเอาเองว่าที่ดินส่วนของจำเลยอยู่ตรงไหนและไม่แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับทราบว่าที่ดินของจำเลยอยู่ตรงส่วนไหน และมีแนวเขตกว้างยาวเท่าใด แน่นอนแล้ว ดังนั้นเมื่อจำเลยตกลงจะขายที่ดินส่วนของจำเลยเนื้อที่ 35 ไร่ แก่โจทก์โดยยังมีผู้อื่นอีกหลายรายถือกรรมสิทธิ์ปะปนกันอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะไปชี้แนวเขตที่ดินเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะเพียงแต่จดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกับผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น ๆ ในโฉนดโดยอ้างว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าวในสัญญาหาได้ไม่เมื่อจำเลยไม่ยอมยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกและนำชี้เขตที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิที่จะขอแบ่งกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีสิทธิไม่ยอมจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจำเลยได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้ในสัญญาจะซื้อขายมีข้อกำหนดว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญายอมใช้ค่าเสียหายแก่ผู้จะซื้อเป็นจำนวนสองเท่าของราคาขายอันเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้ากรณีที่ผู้จะขายผิดสัญญา แต่โจทก์นำสืบไม่พอฟังได้ว่าโจทก์ได้เสียหายไปอย่างไร เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และประเด็นอายุความที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งห้าฎีกาว่า สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม พยานจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องโดยมี น.เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยทั้งห้าฎีกาอีกว่าโจทก์ฟ้องคดีหลังจากที่ น.ถึงแก่กรรมเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยทั้งห้ามิได้ตั้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ จึงเท่ากับเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา24 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 และ 249 กรณีข้อเท็จจริงและอายุความมิได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจำเลยทั้งห้าฎีกาว่า สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันตามฟ้องเป็นเอกสารปลอม พยานจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องโดยมี น. เป็นผู้ค้ำประกันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยทั้งห้าฎีกาอีกว่าโจทก์ฟ้องคดีหลังจากที่ น. ถึงแก่กรรมเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าว เมื่อโจทก์อุทธรณ์จำเลยทั้งห้ามิได้ตั้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ จึงเท่ากับเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต้องเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การเสียค่าตอบแทน
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 ต้องได้ใช้ทางโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอม การใช้ทางโดยเสียเงินค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางนั้น โดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินแม้จะใช้ทางมาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความต้องเป็นการใช้ทางโดยปรปักษ์ การเสียค่าตอบแทนไม่ใช่การใช้โดยปรปักษ์
การได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จะต้องเป็นกรณีที่ได้ใช้ทางดังกล่าว โดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภารจำยอม การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเสียเงินค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินเดิม จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทในที่ดินโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินแม้จะเป็นเวลาเกินกว่า10 ปี ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเอกสารการรับเงินมัดจำ และความรับผิดของจำเลยในการส่งคืนเงินเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลย โดยโจทก์วางมัดจำให้จำเลยและจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินไว้ให้ส่วนราคาที่เหลือโจทก์จะชำระให้จำเลยในวันที่จำเลยจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์จัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ต่อมาจำเลยไม่สามารถนำเจ้าของที่ดินและตึกแถวมาทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงให้จำเลยคืนเงินมัดจำ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำหรือให้สัญญาแก่โจทก์ว่าจะจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและที่ดินแก่โจทก์ส่วนใบเสร็จรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกเพื่อรับเงินไว้แทน ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยว. รับเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ว.ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ในการตีความตามเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นแล้วมอบไว้ต่อโจทก์นั้น เมื่อไม่มีข้อความว่ารับเงินไว้แทนใครการที่จำเลยให้การว่ารับเงินไว้แทน ว. ลูกจ้างของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้สั่งให้จำเลยรับเงินไว้เพื่อให้จำเลยมอบต่อไปให้ผู้ใด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผู้ต้องเสียหายในมูลหนี้ในเงินมัดจำที่มอบไว้ตามหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนมติคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ จำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในฐานะถูกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งได้ให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เช่าทำนา ต่อมาโจทก์เรียกค่าเช่านาเพิ่ม โดยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล แต่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด จำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 มีมติยืนตาม จึงขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ 1 และบังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่านาที่เพิ่ม ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 บัญญัติแต่เพียงว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) ก็ดี คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด(คชก. จังหวัด) ก็ดี ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง แต่หาได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดาแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และการที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่าที่นาเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อมีการเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดก่อน เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ชำระค่าเช่านาที่เพิ่มได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลา แม้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองเหตุฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2535 จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาเมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2535 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา จึงไม่รับ วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาโดยจำเลยมิได้ยื่นคำฟ้องฎีกามาด้วย ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 ว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาโดยไม่แนบคำฟ้องฎีกาที่จะให้รับรองมาด้วยจึงให้ยกคำร้อง วันที่ 28 กรกฎาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาพร้อมกับยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกา และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 33