คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ สิทธิลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 330 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับรองเหตุฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 248 วรรคสี่ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาและผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาและการรับรองฎีกาของผู้พิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 248 วรรคสี่ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาและผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4879/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง ต้องพิสูจน์ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ตามหลักละเมิด
ความรับผิดในทางแพ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาอันเนื่องมาจากการทุจริตของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชานั้นหาใช่เพราะเหตุของการเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ หากแต่จะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท หากส่งมอบไม่ได้ให้ชำระราคา 120,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกร้องทรัพย์สินมาเป็นของโจทก์ หรือให้ชดใช้ราคาแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท หากส่งมอบไม่ได้ให้ชำระราคา120,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกร้องทรัพย์สินมาเป็นของโจทก์ หรือให้ชดใช้ราคาแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้อง-ทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินเดิม vs. การได้มาโดยครอบครองปรปักษ์ & การโอนสิทธิที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แม้จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลก็ได้มีคำสั่งตามคำร้องนั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิที่ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 3ที่ 4 จะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4ไม่สุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 ผู้โอน ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ โจทก์ผู้ที่มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงเป็นบุคคลภายนอก มีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสี่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอำพรางเพื่อกู้ยืมเงิน เมื่อชำระหนี้แล้ว สัญญาซื้อขายไม่มีผลบังคับใช้
จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งโดยมีบ้านของจำเลยเป็นหลักประกัน แต่ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านอำพรางไว้ต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาซื้อขายบ้าน จึงใช้บังคับแก่คู่กรณีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอำพรางกับการชำระหนี้: ผลกระทบต่อสัญญา
จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งโดยมีบ้านของจำเลยเป็นหลักประกัน แต่ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านอำพรางไว้ ต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาซื้อขายบ้าน จึงใช้บังคับแก่คู่กรณีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในคดียาเสพติด: การพิสูจน์ความผิดจากพฤติการณ์ร่วมเดินทางและครอบครองกระเป๋า
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2277/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการครอบครองยาเสพติด แม้ไม่ได้ถูกจับพร้อมกัน
จำเลยที่ 3 ร่วมเดินทางมากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จากจังหวัดภูเก็ต มาจังหวัดสงขลาด้วยรถยนต์กระบะแล้วเข้าพักในโรงแรมเดียวกันจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกระเป๋าสีดำเข้าไปในโรงแรม ต่อมาจำเลยที่ 1 หิ้วกระเป๋าออกจากโรงแรมขับรถออกไปพร้อมกับจำเลยที่ 2 และถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในที่เกิดเหตุพร้อมเฮโรอีนที่บรรจุในกระเป๋าสีดำ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์ เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง
of 33