พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ ผวจ. และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 71 ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่ 1 ได้ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์ คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลย หรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาเทศบาลไม่รับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณ ผู้ว่าฯ มีอำนาจพิจารณาและสั่งให้ร่างตกได้
เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมต้องปฏิบัติตามนั้นจะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาลพ.ศ.2496ข้อ49ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่วๆไปมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ที่1เป็นนายกเทศมนตรีโจทก์ที่2เป็นเทศมนตรีในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่1ครั้งแรกสภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ.2526แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดกลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว(ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน)เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่1ครั้งที่2เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรกอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาลฯมาตรา62ทวิดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่2จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตามมาตรา71ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้นร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่มาตรา62ทวิบัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่งและจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ตามมาตรา45การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาร่างเทศบัญญัติงบประมาณที่สภาไม่รับหลักการ ผู้ว่าฯ มีอำนาจสั่งให้ร่างนั้นตกไปได้
เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ได้บัญญัติถึงกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมต้องปฏิบัติตามนั้น จะนำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ 49 ซึ่งใช้แก่ญัตติร่างเทศบัญญัติทั่ว ๆ ไปมาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี โจทก์ที่ 2 เป็นเทศมนตรี ในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่ 1 ครั้งแรก สภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว (ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน) เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรก อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2 จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตาม มาตรา 71 ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่ มาตรา 62 ทวิ บัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง และจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ ตาม มาตรา 45 การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ที่ 1 เป็นนายกเทศมนตรี โจทก์ที่ 2 เป็นเทศมนตรี ในการประชุมสภาเทศบาลสมัยที่ 1 ครั้งแรก สภาเทศบาลได้มีมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2526 แต่ประธานสภาเทศบาลมิได้ส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด กลับอนุญาตให้นำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งมีข้อความเหมือนกับร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาลงมติไม่รับหลักการดังกล่าว (ยกเว้นข้อความในรายละเอียดบางประการที่ไม่เหมือนกัน) เข้าพิจารณาในการประชุมสมัยที่ 1 ครั้งที่ 2 เพื่อจะเอามติในการประชุมครั้งหลังนี้ไปลบล้างมติครั้งแรก อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเทศบาล ฯ มาตรา 62 ทวิ ดังนั้นแม้สภาเทศบาลจะลงมติรับหลักการร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 2 จำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายตาม มาตรา 71 ย่อมมีอำนาจเรียกรายงานการประชุมสภาเทศบาลและร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการจากประธานสภาเทศบาลได้และเมื่อจำเลยได้พิจารณาร่างเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไปตามที่ มาตรา 62 ทวิ บัญญัติไว้เทศมนตรีทั้งคณะต้องออกจากตำแหน่ง และจำเลยในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะเทศมนตรีชั่วคราวได้ ตาม มาตรา 45 การที่จำเลยมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสมาชิกภาพสภาเทศบาลจากคำพิพากษาจำคุกและการมีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 19(4) บัญญัติว่าสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล มาตรา 21(9) บัญญัติว่าผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้คัดค้านถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ผู้คัดค้านจึงขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลตามนัยกฎหมายดังกล่าว
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 71 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น เมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลได้
พระราชบัญญัติเทศบาล มาตรา 71 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น เมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลถูกจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เทศบาลในการรับถนนและระวังแนวเขตที่ดิน: นายกเทศมนตรีไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่บำรุงรักษาทาง ไม่มีหน้าที่รับถนนยกให้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าฯ และไม่ลงชื่อรับรองแนวเขต ไม่เป็นความผิดอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้ และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157