คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โกษา ปิยสิรานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้ตั๋วเครื่องบินปลอมและฉ้อโกงสายการบิน
ตั๋วเครื่องบินที่มีมูลค่าหรือราคาใช้ตามที่ปรากฏในตั๋วเป็นตั๋วที่ผู้มีชื่อในตั๋วมีสิทธิที่จะใช้โดยสารเครื่องบินของสายการบินที่ปรากฏในตั๋ว ตั๋วเครื่องบินจึงเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อซึ่งสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) เป็นเอกสารสิทธิ
จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบินจำนวน 30 ฉบับ ตั๋วเครื่องบินปลอมทั้ง 30 ฉบับนี้ ผู้มีชื่อในตั๋วได้นำไปใช้แล้ว แสดงว่าจำเลยได้มอบตั๋วเครื่องบินทั้งหมดให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋ว หรือมอบให้แก่ผู้อื่นซึ่งจะนำไปมอบให้แก่ผู้มีชื่อในตั๋ว การมอบตั๋วเครื่องบินปลอมให้แก่บุคคลดังกล่าว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้มีชื่อในตั๋วต้องนำตั๋วไปใช้ในการเดินทาง และปรากฏว่าตั๋วเครื่องบินปลอมทั้งหมดได้ถูกนำไปใช้ในการเดินทางแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นตัวการใช้ตั๋วเครื่องบินปลอม
การที่จำเลยปลอมตั๋วเครื่องบิน จำเลยมีเจตนาที่จะให้ผู้มีชื่อในตั๋วได้เดินทางโดยสายการบินที่ปรากฏในตั๋วหรือสายการบินอื่น โดยจำเลยหรือผู้ที่มีชื่อในตั๋วไม่ต้องจ่ายเงินแก่สายการบินนั้น เป็นเจตนาทุจริตหลอกลวงว่าตั๋วนั้นชำระราคาแล้ว อันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงมิได้ชำระ ทำให้สายการบินเสียหายจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาซื้อขายรถยนต์, การจดทะเบียนรถยนต์, และผลกระทบจากความล่าช้าในการส่งมอบ
โจทก์รับมอบรถยนต์คันที่สองไว้จากจำเลยโดยไม่ได้สงวนสิทธิจะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยอีกตามสัญญา แม้จำเลยจะส่งมอบรถยนต์ล่าช้าโจทก์ก็เรียกเบี้ยปรับเพระเหตุนี้อีกไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและการจดทะเบียนต้องรอกำหนดที่กรมการขนส่งทางบกนัดให้นำรถยนต์ไปตรวจสภาพ ความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์จึงไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบรถยนต์ล่าช้า
โจทก์ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัย ก.จึงได้มีข้อตกลงในสัญญาให้จำเลยมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงมีหน้าที่กระทำการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้ได้มีการจดทะเบียนตามสัญญา โจทก์ย่อมขอบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวได้ แต่เมื่อโจทก์ต้องจัดส่งเอกสารที่จำเป็นในการจดทะเบียนให้จำเลยครบถ้วนด้วย ศาลย่อมพิพากษาโดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ส่งเอกสารให้จำเลยครบถ้วนสมบูรณ์ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยส่งมอบรถยนต์คันที่สองโดยรถยนต์ชำรุดบกพร่อง ช้ากว่ากำหนดในสัญญา ไม่จดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์โจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์คันที่สอง ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ เรื่องสถานที่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองจึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่สอง หากเจ้าของแท้จริงของรถยนต์คันที่สองไม่ยินยอมจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล และจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว การจะบังคับให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองย่อมทำไม่ได้ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองให้โจทก์ การบังคับคดีทำได้เพียงให้โจทก์คืนรถยนต์คันที่สองให้จำเลยและให้จำเลยคืนราคารถยนต์ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์, หน้าที่ในการจดทะเบียน, สภาพแห่งหนี้, การบังคับคดี, และข้อยกเว้นในการบังคับคดี
โจทก์รับมอบรถยนต์คันที่สองไว้จากจำเลยโดยไม่ได้สงวนสิทธิจะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยอีกตามสัญญาแม้จำเลยจะส่งมอบรถยนต์ล่าช้าโจทก์ก็เรียกเบี้ยปรับเพราะเหตุนี้อีกไม่ได้เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและการจดทะเบียนต้องรอกำหนดที่กรมการขนส่งทางบกนัดให้นำรถยนต์ไปตรวจสภาพความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์จึงไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบรถยนต์ล่าช้า โจทก์ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัย ก.จึงได้มีข้อตกลงในสัญญาให้จำเลยมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่กระทำการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้ได้มีการจดทะเบียนตามสัญญาโจทก์ย่อมขอบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวได้แต่เมื่อโจทก์ต้องจัดส่งเอกสารที่จำเป็นในการจดทะเบียนให้จำเลยครบถ้วนด้วยศาลย่อมพิพากษาโดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ส่งเอกสารให้จำเลยครบถ้วนสมบูรณ์ได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยส่งมอบรถยนต์คันที่สองโดยรถยนต์ชำรุดบกพร่องช้ากว่ากำหนดในสัญญาไม่จดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์โจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองณภูมิลำเนาของโจทก์เรื่องสถานที่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองจึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่สองหากเจ้าของแท้จริงของรถยนต์คันที่สองไม่ยินยอมจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้วการจะบังคับให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองย่อมทำไม่ได้สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองให้โจทก์การบังคับคดีทำได้เพียงให้โจทก์คืนรถยนต์คันที่สองให้จำเลยและให้จำเลยคืนราคารถยนต์ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง: ผลผูกพันของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเมื่อคดีอาญาถึงที่สุด
พนักงานอัยการเคยฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทและคดีดังกล่าวศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียวโจทก์มิได้ขับรถประมาทแต่เมื่อยังไม่ถึงที่สุดศาลอุทธรณ์ในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจึงไม่จำต้องถือตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์โดยโจทก์ได้ฎีกาในปัญหานี้ขึ้นมาแม้คดีนี้ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็ต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างคำพิพากษาคดีอาญาและคดีแพ่ง: การถือข้อเท็จจริงเมื่อคดีอาญาถึงที่สุด
ในการพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46ขณะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในคดีแพ่งว่า เหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดนั้น คดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคดีส่วนอาญามาถึงที่สุดในชั้นนี้ โดยที่โจทก์ได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา แม้คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่า เหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์: การใช้ทางร่วมต่อเนื่องโดยได้รับอนุญาตและพฤติการณ์ที่บ่งชี้ถึงสิทธิ
จำเลยตกลงให้ ป.และโจทก์ทั้งสิบห้าใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดไปจึงไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้โจทก์ทั้งสิบห้าใช้ทางพิพาทได้ถือว่า ป.และโจทก์ทั้งสิบห้าต่างได้ใช้ทางพิพาทเสมือนว่าตนมีสิทธิที่จะใช้โดยมิได้อาศัยสิทธิของจำเลยเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทเมื่อเป็นเวลาเกินกว่า10ปีทางพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวกรณีถูกละเมิดด้วยการปิดกั้นทางเข้าออก การก่อสร้างทางเท้าแม้เสร็จแล้วก็ยังถือเป็นการกระทำซ้ำ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาละเมิดอ้างว่าจำเลยทั้งสี่ก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียวทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอนดังนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะได้ร่วมกันสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกโรงสีของโจทก์จนแล้วเสร็จไปแล้วก็ตามแต่ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องเมื่อโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียวการก่อสร้างทางเดินเท้าย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติกรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีคุ้มครองชั่วคราว การละเมิด และการรื้อถอนทางกีดขวางทางเข้าออก
วิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) โจทก์จะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตวรรคหนึ่ง (1) (2) และโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า จำเลยทั้งสี่ตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 ้รรคสาม (ก) อีกด้วย แม้ตามคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันก่อสร้างทางเดินเท้าปิดทางเข้าออกสู่ถนนหลวงจนแล้วเสร็จไปก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดอ้างว่า จำเลยก่อสร้างทางเดินเท้าปิดกั้นทางเข้าออกโรงสีข้าวของโจทก์สู่ถนนหลวงซึ่งเป็นทางเข้าออกมีอยู่ทางเดียว ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ทางเข้าออกได้ตามปกติขอให้รื้อถอน ดังนี้ ตราบใดที่ทางเดินเท้านั้นยังคงมีอยู่ ก็ถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีทางเข้าออกโรงสีอยู่ทางเดียว การก่อสร้างทางเดินเท้าตามฟ้องย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกโรงสีของโจทก์ได้ตามปกติ ส่วนปัญหาว่าที่ดินของโจทก์จะต้องด้วยข้อกำหนดเงื่อนไขให้เปิดทางได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณากรณีมีเหตุสมควรและเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การผิดสัญญาชำระมัดจำและการบอกเลิกสัญญา
ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายกำหนดว่าโจทก์วางมัดจำไว้เป็นเงิน500,000 บาท แต่ในวันทำสัญญานั้นมีการวางมัดจำเพียง 150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาเนื่องจากเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นค่ามัดจำอีก 350,000 บาท ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้การวางมัดจำแต่เพียงอย่างเดียวจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้แล้วก็ตาม แต่เมื่อคู่สัญญามีเอกสารที่เป็นหนังสือจึงต้องผูกพันกันตามข้อความที่ทำเป็นหนังสือนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าต้องวางมัดจำเป็นเงิน 500,000 บาทก็จะต้องผูกพันกันตามนั้น เมื่อโจทก์วางมัดจำเพียง 150,000 บาท ไม่ครบตามสัญญาจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
ก่อนที่โจทก์และฝ่ายจำเลยจะทำสัญญาจะซื้อขาย โจทก์และฝ่ายจำเลยได้เคยทำสัญญาซื้อขายกันมา 2 ฉบับแล้ว การที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นฉบับใหม่ขึ้นอีกก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ผู้จะซื้อไม่ชำระเงินตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับก่อน ฉะนั้น การทำสัญญาจะซื้อขายโดยฝ่ายโจทก์สั่งจ่ายเช็คเป็นการชำระเงินมัดจำตามสัญญาส่วนหนึ่งนั้น ย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นแล้วว่าคู่สัญญามีเจตนาจะให้การชำระเงินมัดจำตามจำนวนเงินและตามวันที่ลงในเช็คเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉบับใหม่นั้น ทั้งยังมีบันทึกไว้ที่ด้านบนด้วยข้อความว่า ต่อเนื่องจากสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิม แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าเจตนาจะให้ถือเอาเรื่องการใช้เงินมัดจำตามเช็คดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของสัญญา และแม้ว่าสัญญาจะซื้อขายฉบับเดิมจะไม่ปรากฏข้อความว่าให้ผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ดังกล่าวย่อมเห็นถึงวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากโจทก์ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินมัดจำ หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายจำเลยผู้จะขายย่อมมีสิทธิบอกเลิกและริบมัดจำได้ทันที เมื่อปรากฏว่าเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายชำระเงินมัดจำส่วนหนึ่งใช้เงินไม่ได้ ซึ่งถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำเสียได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 โดยจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 387แต่อย่างใด และเมื่อการเลิกสัญญาเป็นเพราะความผิดของฝ่ายโจทก์เอง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากไม่ชำระเงินมัดจำครบตามกำหนด ทำให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำได้
ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย กำหนด ว่า โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 500,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา เนื่องจาก เช็ค ที่ โจทก์ เป็น ค่า มัดจำ อีก 350,000 บาท ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน แม้ การ วาง มัดจำ แต่เพียง อย่างเดียว จะ สามารถ ฟ้องร้อง บังคับ คดี กัน ได้ แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญา มี เอกสาร ที่ เป็น หนังสือ จึง ต้อง ผูกพัน กัน ตาม ข้อความ ที่ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เมื่อ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ว่า ต้อง วาง มัดจำ เป็น เงิน 500,000 บาท ก็ จะ ต้อง ผูกพัน กัน ตาม นั้น เมื่อ โจทก์ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ก่อน ที่ โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย จะ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ได้ เคย ทำ สัญญาซื้อขาย กัน มา 2 ฉบับ แล้ว การ ที่ ได้ ทำ สัญญา เกี่ยวกับ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน แปลง เดียว กัน เป็น ฉบับ ใหม่ ขึ้น อีก ก็ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ไม่ชำระ เงิน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ฉบับ ก่อน ฉะนั้น การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โดย ฝ่าย โจทก์ สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ส่วน หนึ่ง นั้น ย่อม เห็น ได้ ใน เบื้องต้น แล้ว ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ให้การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม จำนวนเงิน และ ตาม วันที่ ลง ใน เช็ค เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา ฉบับ ใหม่ นั้น ทั้ง ยัง มี บันทึก ไว้ ที่ ด้าน บน ด้วย ข้อความ ว่า ต่อเนื่อง จาก สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม แสดง ให้ เห็น วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า เจตนา จะ ให้ ถือเอา เรื่อง การ ใช้ เงินมัดจำ ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา และ แม้ ว่า สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม จะ ไม่ ปรากฎ ข้อความ ว่า ให้ ผู้ขาย บอกเลิก สัญญา ได้ ก็ ตาม แต่ โดย สภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา ได้ แสดง ไว้ ดังกล่าว ย่อม เห็น ถึง วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงินมัดจำ หรือ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ฝ่าย จำเลย ผู้จะขาย ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก และ ริบ มัดจำ ได้ ทันที เมื่อ ปรากฎ ว่า เช็ค ซึ่ง โจทก์ สั่งจ่าย ชำระ เงินมัดจำ ส่วน หนึ่ง ใช้ เงิน ไม่ได้ ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา ฝ่าย จำเลย ย่อม บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ เสีย ได้ ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดย จำเลย ไม่ต้อง บอกกล่าว ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ตาม มาตรา 387 แต่อย่างใด และ เมื่อ การ เลิกสัญญา เป็น เพราะ ความผิด ของ ฝ่าย โจทก์ เอง โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก ฝ่าย จำเลย
of 10