คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทวีชัย เจริญบัณฑิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 689 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปล้นทรัพย์กระทบภาพลักษณ์ประเทศ: ศาลฎีกายืนโทษ จำเลยไม่มีเหตุลดโทษ
ความผิดฐานปล้นทรัพย์ที่จำเลยที่ 3 ร่วมกระทำผิดคดีนี้เกี่ยวโยงกับความปลอดภัยของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและชื่อเสียงของประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ภาพพจน์ของประเทศชาติเสียหายโดยตรงถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง แม้จำเลยที่ 3 ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาและน้องก็ตาม ก็ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลดโทษให้เบาลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าห้ามเช่าช่วงและเจตนาของคู่สัญญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ล.บิดาโจทก์ ต่อมา ล.ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้าคงใช้เพื่อประกอบกิจการโรงงานและอาศัยได้เพียงอย่างเดียวและจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,760 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 6,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000บาท คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ายอมสัญญาว่าจะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไปและจะไม่ยอมให้ผู้ใดอาศัย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยเช่าที่ดินพิพาทแล้ว ได้มีการปรับปรุงที่ดินปลูกบ้านพักสองหลังและก่อสร้างอาคารโรงงานจนเต็มเนื้อที่ที่เช่า ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาให้บริษัท ท.เช่าอาคารโรงงานดังกล่าวเช่นนี้ การตีความแสดงเจตนาในข้อสัญญานั้นจะต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ซึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา 368 แห่ง ป.พ.พ.ก็ได้ให้ตีความตามสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อตีความสัญญาดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตซึ่งปกติทั่วไปของการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์ให้มีการเช่าช่วงต่อไป เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญแห่งข้อสัญญา คือให้จำเลยเช่าเฉพาะตัวและคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่าไม่ต้องการให้ผู้อื่นเช่าช่วง ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 544 ก็ให้ความคุ้มครองมิให้เช่าช่วงด้วยเว้นแต่จะตกลงกันในสัญญาเช่าดังนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือยอมให้ผู้อื่นเข้าอาศัยในที่ดินที่ตนเช่าการแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยนำเอาอาคารโรงงานซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งเช่ามาจากบิดาโจทก์ให้บริษัท ท.เช่าไปเช่นนี้ เท่ากับจำเลยให้ผู้อื่นใช้ที่ดินพิพาทหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทแทนจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทเองตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว อันมิใช่จุดประสงค์ของผู้ให้เช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่ามีเจตนาห้ามมิให้ผู้เช่าที่ดินพิพาทนำที่ดินซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรืออยู่อาศัยด้วย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าผิดสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาเช่ากรณีให้เช่าช่วงอาคารโรงงานที่สร้างบนที่ดินเช่า แม้สัญญาห้ามเฉพาะการเช่าที่ดิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ล. บิดาโจทก์ ต่อมา ล. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ เห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้าคงใช้เพื่อ ประกอบกิจการโรงงานและอาศัยได้เพียงอย่างเดียวและจำเลย ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,760 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ6,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ายอมสัญญาว่าจะไม่เอาที่ดิน ที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไปและจะไม่ยอมให้ผู้ใดอาศัย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยเช่าที่ดินพิพาทแล้ว ได้มีการปรับปรุงที่ดินปลูกบ้านพักสองหลังและก่อสร้างอาคารโรงงานจนเต็มเนื้อที่ที่เช่าต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาให้บริษัท ท. เช่าอาคารโรงงานดังกล่าวเช่นนี้ การตีความแสดงเจตนาในข้อสัญญานั้นจะต้องเพ่งเล็ง ถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรซึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา 368 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้ให้ตีความตามสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อตีความสัญญา ดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตซึ่งปกติทั่วไป ของการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์ ให้มีการเช่าช่วงต่อไป เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญแห่งข้อสัญญา คือให้จำเลยเช่าเฉพาะตัวและคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่า ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเช่าช่วง ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544 ก็ให้ความคุ้มครองมิให้เช่าช่วงด้วยเว้นแต่จะตกลงกันในสัญญาเช่า ดังนั้นผู้เช่าก็มีหน้าที่ต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือยอมให้ผู้อื่นเข้าอาศัยในที่ดินที่ตนเช่าการแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยนำเอาอาคารโรงงานซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งเช่ามาจากบิดาโจทก์ให้บริษัท ท. เช่าไปเช่นนี้เท่ากับจำเลยให้ผู้อื่นใช้ที่ดินพิพาทหรือให้ผู้อื่น อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทแทนจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาท เองตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว อันมิใช่จุดประสงค์ของผู้ให้เช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่ามีเจตนาห้ามมิให้ผู้เช่าที่ดินพิพาทนำที่ดินซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรืออยู่อาศัยด้วย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าผิดสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6669/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินติดจำนองไม่ตัดสิทธิการเป็นบุคคลล้มละลาย หากยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้เพียงพอ
แม้ทรัพย์สินของจำเลยจะติดจำนองธนาคารก็ถือว่าทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นทรัพย์สินของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าธนาคารอื่น ๆ ที่รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยไว้มีการบังคับจำนองบ้างแล้วหรือไม่ หรือมีจำนวนหนี้จำนองท่วมราคาทรัพย์หรือไม่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏ ประกอบกับจำเลยได้พยายามติดต่อโจทก์เพื่อขอชำระหนี้มิได้หลบหนี ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อจัดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งการฟ้องคดีล้มละลายที่จะขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยตรง แต่เป็นเพียงวิธีการจัดการทรัพย์ของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้แก่บรรดาเจ้าหนี้ของลูกหนี้ด้วยแล้ว เมื่อจำเลยยังมีทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์และจำเลยยังมีอาชีพประกอบกิจการค้าขายยังพอมีรายได้จึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6615/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินกว่าที่จำเป็นเพื่อบังคับคดี การพิสูจน์ภาระหน้าที่ของจำเลยในการเปิดเผยทรัพย์สิน และค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงิน 1,935,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย โดยประเมินราคาไว้ 13,046,000 บาท ซึ่งเมื่อขายทอดตลาดจะได้ราคาตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้หรือไม่ก็ไม่เป็นการแน่นอน แม้ภายหลังที่โจทก์นำยึดที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยได้นำเงิน 858,500 บาท มาวางศาลให้โจทก์รับไป ก็เป็นเพียงการชำระหนี้บางส่วน จำเลยยังคงค้างชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมอีก 1,076,500 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีบ้าน 1 หลัง ปลูกอยู่บนที่ดินที่โจทก์นำยึดมีราคาอย่างต่ำ 2,000,000 บาท เพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ โจทก์ควรยึดบ้านของจำเลยนั้น แต่ปรากฏว่าในวันที่โจทก์นำยึดที่ดินดังกล่าวจำเลยก็อยู่ด้วย จำเลยมิได้คัดค้านว่าการยึดที่ดินของจำเลยเป็นการเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีทั้งมิได้ชี้แจงให้โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าจำเลยมีบ้านหรือทรัพย์สินอื่นใดซึ่งมีราคาพอแก่จำนวนหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม กลับได้ความจากจำเลยตอบคำถามค้านว่าในวันดังกล่าวจำเลยบอกแก่ทนายความโจทก์ว่า จำเลยไม่มีเงินมีแต่ที่ดินที่โจทก์นำยึดเพียงแปลงเดียว การที่จำเลยกลับมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยมีบ้านราคาอย่างต่ำ 2,000,000 บาทนั้น ทำให้ข้ออ้าง ของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ยึด ทรัพย์สินของจำเลยเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคสอง จำเลย จะขอให้ถอนการยึดทรัพย์สินรายนี้โดยให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ ทั้งการยึดที่ดินของจำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยต้องรับภาระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงาน บังคับคดีสูงขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังกล่าวคิดจากราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ จะต้องรับผิดในการบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ แกล้งนำยึดที่ดินของจำเลยโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6603/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันวิ่งราวทรัพย์: เจตนาในการกระทำผิดร่วมกันตั้งแต่ก่อนลงมือ
ขณะเกิดเหตุมีคนร้ายลักเงินสดจำนวน 1,400 บาทของผู้เสียหายไปโดยสุจริต และโดยฉกฉวยไปซึ่งหน้าผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองได้วิ่งไปพร้อมกับม. คนร้ายอีกคนหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่คนร้ายได้หยิบเงินของผู้เสียหายโดยฉกฉวยไป แม้ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นคนที่หยิบเงินของผู้เสียหายไปก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองหรือม. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้หยิบเงินของผู้เสียหายไป โดยก่อนการกระทำผิด จำเลยทั้งสองกับม. ได้เดินผ่านหน้าร้านของผู้เสียหายหลายรอบ แล้วแยกกัน อยู่ด้านหน้าและด้านหลังของผู้เสียหาย จากนั้นจึงลงมือ กระทำผิดแล้วพากันวิ่งหนีพร้อมกันไปเช่นนี้ แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกับ ม. มีเจตนาร่วมกันกระทำผิดมาตั้งแต่เริ่มก่อนการกระทำผิดแล้ว จำเลยทั้งสอง จึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336ประกอบมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6603/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเข้าร่วมกระทำความผิดลักทรัพย์: การกระทำร่วมกันเป็นตัวการ
ขณะเกิดเหตุมีคนร้ายลักเงินสดจำนวน 1,400 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต และโดยฉกฉวยไปซึ่งหน้าผู้เสียหาย การที่จำเลยทั้งสองได้วิ่งไปพร้อมกับม.คนร้ายอีกคนหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่คนร้ายได้หยิบเงินของผู้เสียหายโดยฉกฉวยไปแม้ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นคนที่หยิบเงินของผู้เสียหายไปก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองหรือม.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้หยิบเงินของผู้เสียหายไป โดยก่อนการกระทำผิด จำเลยทั้งสองกับม.ได้เดินผ่านหน้าร้านของผู้เสียหายหลายรอบ แล้วแยกกันอยู่ด้านหน้าและด้านหลังของผู้เสียหาย จากนั้นจึงลงมือกระทำผิดแล้วพากันวิ่งหนีพร้อมกันไปเช่นนี้ แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองกับ ม.มีเจตนาร่วมกันกระทำผิดมาตั้งแต่เริ่มก่อนการกระทำผิดแล้วจำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ประกอบมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6520/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนาจำหน่ายยาเสพติด: จำนวนยาเสพติดและพฤติการณ์ประกอบสำคัญกว่าปริมาณ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 19 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำพยานเข้าเบิกความต่อศาลเพื่อให้เห็นสมจริงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ เพื่อจำหน่าย การที่ของกลางที่ยึดได้มีเป็นจำนวนมากจะสันนิษฐานว่าจำเลยมีของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดจะมีจำนวน 19 เม็ด แต่ก็มีน้ำหนักรวมเพียง 1.854 กรัม โจทก์ไม่มีพยานที่รู้เห็น ว่าจำเลยจำหน่าย จ่าย แจก หรือมีไว้ซึ่งของกลางเพื่อจำหน่าย ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่แสดงว่า จำเลยมี เมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงยกประโยชน์ แห่งความสงสัยในส่วนนี้ให้จำเลย ข้อเท็จจริงจึงรับฟัง ได้เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืน กฎหมายอันเป็นความผิดซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจที่จะ ลงโทษในความผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและสอบสวนความผิดซึ่งหน้า การใช้สายลับล่อซื้อ และการรับคำสารภาพโดยสมัครใจ
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐานในคดีอาญา
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลยจะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 78
การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานก็ได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ
คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริง จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
of 69